พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 18 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday November 18, 2024 14:58 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 18 - 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 139/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอุณหภูมิลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนเริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 20 - 24 พ.ย. ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ

1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีสภาพอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนช่วงวันที่ 20 - 24 พ.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรทำทางระบายน้ำออกจากพื้นที่การเกษตรเพื่อไม่ให้น้ำท่วมขังในแปลงปลูก ส่วนชาวเรือและชาวประมงควรระมัดระวังในการเดินเรือและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 18 - 24 พ.ย. อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม.ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75 %               ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม.  - ระยะนี้มีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ สำหรับระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยจะมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน รวมทั้งควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงด้วยเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เช่น หลอดไฟกก เพื่อเพิ่มความอบอุ่นป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็น จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด         16 เฉียงเหนือ - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอก  ในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33      องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็นในตอนเช้า ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอเพื่อป้องกันการเจ็บป่วยจากอากาศที่หนาวเย็นลง อีกทั้งเกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง อีกทั้งผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวแล้ว ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งข้ามคืนเพราะอาจทำให้ผลผลิตเปียกชื้นเสียหายเนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ ส่วนในระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง
          กลาง ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบน อุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย อีกทั้งควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับจัดทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงด้วยเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเตรียมอุปกรณ์สำหรับเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรที่ปลูกมะม่วงควรระวังและป้องกันโรคราดำในมะม่วง โดยฉีดน้ำบริเวณทรงพุ่มจะทำให้ลดการระบาดลงไปได้ แต่ไม่ควรฉีดแรงจนเกินไป เพราะจะทำให้ช่อดอกช้ำ การติดผลลดลงได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง  ตะวันออก ในช่วงวันที่ 18 - 22 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้นเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 34         องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75  % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในช่วงวันที่ 23 - 24 พ.ย. อุณหภูมิจะสูงขึ้นกับมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังและควรระวังโรค   ราดำในมะม่วงไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ไว้ด้วย สำหรับระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะลดลง เกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้และวางแผนจัดการน้ำเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก  ในวันที่ 18 - 19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 35 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว               15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสงขลา      ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในวันที่ 20 - 24 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง        บริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มี           ฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสงขลา ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม.    ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 %             ความยาวนานแสงแดด 3 - 6 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 18 - 19 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 24 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และ          มีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า       2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักบางแห่ง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกตอนล่างจะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง สำหรับฝนที่ตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น สำหรับระยะนี้และในระยะที่ผ่านมา ฝนที่ตกติดต่อกันอาจทำให้ดินอ่อนตัวและมีความชื้นสูง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการนำเครื่องจักรเข้าไปในพื้นที่การเกษตรเพื่อป้องกันรากพืชเสียหายและดินอัดแน่น อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง    1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง

NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 11 - 17 พฤศจิกายน 2567 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ในขณะที่ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง ภาคตะวันออก ภาคกลาง และภาคใต้ตอนบนในระยะกลางและปลายสัปดาห์ ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ หลังจากนั้นพื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีฝนในระยะกลางและปลายสัปดาห์ ส่วนมากบริเวณภาคกลางและภาคตะวันออก สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากร่องมรสุมพาดที่ผ่านภาคใต้ตอนล่างและประเทศมาเลเซียในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังอ่อนพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดสัปดาห์ ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตลอดสัปดาห์

ภาคเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปทางตอนบนของภาค และมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในบริเวณจังหวัดตากเกือบตลอดสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศเย็นถึงหนาวและมีอากาศหนาวจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนร้อยละ 10-35 ของพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันสุดท้ายของสัปดาห์ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นทั่วไปและมีอากาศเย็น ในบางพื้นที่ โดยมีอากาศหนาวบางพื้นที่ของจังหวัดเลยในวันแรกของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะปลายสัปดาห์ ภาคกลางมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 30-80 ของพื้นที่ ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในระยะปลายสัปดาห์ ภาคตะวันออกมีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีอากาศเย็นบริเวณเทือกเขาตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 14 และ 17 พ.ย. มีฝนร้อยละ 75-85 ของพื้นที่ในวันที่ 14 และ 17 พ.ย. ส่วนวันอื่นๆ มีฝนร้อยละ 20-25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14 วันที่ 15 และวันที่ 17 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีอากาศเย็นบางพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในวันที่ 11 พ.ย. มีฝนร้อยละ 70 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดยะลาและสงขลา ในวันที่ 11-12 พ.ย.ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ในระยะต้นและปลายสัปดาห์ ส่วนในระยะกลางสัปดาห์มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 25 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 12 วันที่ 14 และวันที่ 15 พ.ย.

สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณ กรุงเทพมหานคร ส่วนจังหวัดที่มีฝนหนัก ได้แก่ น่าน เลย ชัยภูมิ นครราชศรีมา นครสวรรค์ ลพบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ