พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Wednesday November 20, 2024 15:37 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 20 - 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันพุธที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 140/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้ากับมีลมแรง โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอุณหภูมิลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลาง และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย สำหรับในช่วงวันที่ 24 - 26 พ.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังแรงขึ้น ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่งในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ย. ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังปานกลาง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร

คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพไว้ด้วย สำหรับในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ย. ภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ระยะนี้ชาวเรือบริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 16 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม.  - ระยะนี้มีอากาศเย็น ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุสีเข้ม เพื่อรักษาอุณหภูมิดินและลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาอุณหภูมิดิน และรักษาความชื้นภายในดิน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาวเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม และใช้น้ำอย่างประหยัดโดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส กับมีลมแรง อุณหภูมิต่ำสุด 18 - เฉียงเหนือ 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 18 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30      กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรทำแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับเกษตรกรที่ติดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยง หากใช้งานเสร็จแล้วควรดับให้สนิททุกครั้ง เพื่อป้องกันไฟลุกลามจนเป็นอัคคีภัย นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม และใช้น้ำอย่างประหยัดโดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหารจากพืชที่ปลูกและไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและศัตรูพืช สำหรับระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม และใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำ เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ย. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค อุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย กับมีลมแรง โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 พ.ย. อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 75  % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย นอกจากนี้ควรกำจัดวัชพืชในพื้นที่การเกษตร เพื่อไม่ให้แย่งน้ำและธาตุอาหารจากพืชที่ปลูกและไม่ให้เป็นที่อาศัยหลบซ่อนของโรคและแมลงศัตรูพืช สำหรับระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้งปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม และใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง เพื่อป้องกันสัตว์น้ำปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ใต้ ฝั่งตะวันออก  มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง โดยมีฝนตกหนักมากบางแห่งบริเวณตอนกลางถึงตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัด สงขลา ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 %             ความยาวนานแสงแดด 4 - 7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 20 - 23 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 24 - 26 พ.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง โดยทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูก โดยเฉพาะพื้นที่การเกษตรที่อยู่ในที่ลุ่มอย่าให้น้ำขังในแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชนาน เพราะจะทำให้รากพืชเน่าต้นพืชตายได้ รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน และโรคใบยางร่วงในยางพารา เป็นต้น ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่ชื้นแฉะเป็นเวลานาน เพราะจะทำให้สัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ระยะนี้บริเวณทะเลอันดามันและอ่าวไทยจะมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ตลอดช่วง  ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 13 - 19 พฤศจิกายน 2567 ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณ กรุงเทพมหานคร ส่วนจังหวัดที่มีฝนหนัก ได้แก่ น่าน เลย ชัยภูมิ นครราชสีมา นครสวรรค์ ลพบุรี กาญจนบุรี ราชบุรี ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี ตราด เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร พัทลุง ปัตตานี นราธิวาส พังงา ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ