พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 29 พ.ย. ? 5 ธ.ค. 67
ฉบับที่ 144/2567
ภาคเหนือ
ภาคตะวันออก
เฉียงเหนือ
ภาคกลาง ภาคตะวันออก
ภาคใต้
ฝั่งตะวันออก ฝั่งตะวันตก
17-23 27-35 13-22 28-34 18-26 31-35 19-26 30-35 21-27 24-34 23-26 26-33
3-7 4-10 3-8 4-10 4-11 4-10
70-80 65-75 65-75 65-75 80-90 85-95
7-9 7-9 7-9 7-9 3-5 4-6
40-70%
เกษตรกร บริเวณประเทศไทยตอนบน : ดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง ส่วนภาคใต้ : ระวังอันตรายจาก
ฝนที่ตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจก่อให้เกิดน้าท่วมฉับพลัน น้าป่าไหลหลาก อ่าวไทยตอนล่าง : คลื่นลมแรง เพิ่มความ
ระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กงดออกจากฝั่ง
ความยาวนานแสงแดด
m/s
ความชื้นสัมพัทธ์
%
hr.
- ดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลง
- ร วัง ผ ล ผ ลิต ท ง ก ร เ ก ษ ต ร เ สีย ห ย
เนื่องจากหมอก-น้าค้าง
- ระวัง โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- ดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลง
- เพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์
- คลุมบริเวณดินแปลงปลูกพืช-โคนต้นพืช
- ดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลง
- คลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช-โคนต้นพืช
- เลือกปลูกพืชอายุเก็บเกี่ยวสั้น-ใช้น้าน้อย
- ดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศเปลี่ยนแปลง
- คลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืช-โคนต้นพืช
- ระวัง ศัตรูพืชจาพวกหนอน
- ระวัง น้าท่วมฉับพลัน น้าป่าไหลหลาก
- อพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูง น้าท่วมไม่ถึง
- ระวัง โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา
- อ่าวไทยตอนล่าง เรือเล็กงดออกจากฝั่ง
ภาคใต้
ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคกลาง
ภาคเหนือ
ระวัง โรคพืชจากเชื้อรา
40-80%
. กรมอุตุนิยมวิทยา
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร
http://www.arcims.tmd.go.th/
02-399-2387, 02-366-9336
ข่าวพยากรณ์อากาศ
เพื่อการเกษตร
E
คาดหมาย
อุณหภูมิต่าสุดเฉลี่ย (๐ซ.)
หนักถึงหนักมาก
คาดหมาย
ฝนสะสม 7 วัน (มม.)
อากาศเปลี่ยนแปลง ดูแลสุขภาพ ทาแผงกาบังลมหนาวให้สัตว์เลี้ยง
คลุมดินแปลงปลูก ระวัง ศัตรูพืชจาพวกหนอน
ระวัง น้าท่วมฉับพลัน
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
ฉบับที่ 144/2567
/
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 29 พฤศจิกายน ? 5 ธันวาคม พ.ศ. 2567
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2567
การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29?30 พ.ย. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนมีอุณหภูมิลดลง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคเหนือ ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรง ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งตะวันออกของประเทศมาเลเซียจะเคลื่อนผ่านประเทศมาเลเซียลงสู่ทะเลอันดามันตอนล่าง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนกลางและตอนล่างมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังค่อนข้างแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังค่อนข้างแรงที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น แต่ยังคงมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า โดยในช่วงวันที่ 4?5 ธ.ค. 67 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นจากอ่าวไทยเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออก ภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคเหนือ ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเล็กน้อยบางแห่งเกิดขึ้นได้ สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ มีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังปานกลาง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคใต้ตอนกลางและตอนล่างมีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยบริเวณอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร
คำเตือน ระยะนี้ บริเวณประเทศไทยตอนบนอากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ ส่วนภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมาก เกษตรกรที่อยู่บริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง สำหรับอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
คาแนะนาสาหรับการเกษตร
ภาค
พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์
เหนือ
ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย.67 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1?2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค.67 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 4?5 ธ.ค.67 มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 19?23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31?35 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
- ในช่วงวันที่ 1?5 ธ.ค.67 อุณหภูมิจะสูงขึ้น 2-4 องศาเซลเซียส ทำให้มีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรเพิ่มความระมัดระวังในการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอกและหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะอาจทำให้ผลผลิตเสียหาย เนื่องจากหมอกและน้ำค้างได้ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการะบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนสหรือโรคใบไหม้สีน้ำตาลในกาแฟ เป็นต้น
2
ตะวันออก เฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย.67 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค.67 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2?4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 18?22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12-17 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก เกษตรกรควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทับ ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน
กลาง
ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย. ธ.ค.67 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 18-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค.67 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้าและอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2?4 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 4-5 ธ.ค.67 มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22?26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34?35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับสภาพอากาศที่แห้งทำให้การระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินแล้วยังเป็นการรักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน ควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสมรวมทั้งควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย
ตะวันออก
ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย.67 อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลงเล็กน้อย อุณหภูมิต่ำสุด 19-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค.67 อากาศเย็น กับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2?4 องศาเซลเซียส โดยในช่วงวันที่ 4-5 ธ.ค.67 มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21?26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32?35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม.
- ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ในสภาพอากาศที่แห้ง ทำให้การระเหยของน้ำมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ
ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย.67 ตอนบนของภาค : อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง ตอนกลางและตอนล่างของภาค : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-80 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24-32 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราช ขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดสงขลา ลงไป : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20-40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1?5 ธ.ค.67 ตอนบนของภาค : เมฆบางส่วน
3
และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส ตอนกลางและตอนล่างของภาค : มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23?27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29?34 องศาเซลเซียส ตั้งแต่ จังหวัดชุมพร ขึ้นมา : ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี ลงไป : ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 3-5 ชม.
ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย.67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60-70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 20-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-5 ธ.ค.67 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 80-90 % ความยาวนานแสงแดด 4-6 ชม.
- ระยะนี้จะยังคงมีฝนตกชุก โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย.67 มีฝนตกหนักถึงหนักมากทางตอนล่างของภาค ซึ่งก่อทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่งได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรอพยพสัตว์เลี้ยงไปไว้ในที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักไว้ด้วย อนึ่ง ในช่วงวันที่ 29-30 พ.ย.67 บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่น 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ โดยเรือเล็กงดออกจากฝั่ง
ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 22 ? 28 พฤศจิกายน 2567 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะต้นและกลางช่วง โดยบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ในระยะปลายช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นในบางพื้นที่ โดยมีฝนตกบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง ส่วนภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางพัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดช่วง โดยมีกำลังค่อนข้างแรงในระยะปลายช่วง ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณชายฝั่งประเทศมาเลเซียในระยะปลายช่วง ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่นตลอดช่วง โดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของช่วงมีฝนตกหนักมากหลายพื้นที่ในบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออก และมีรายงานน้ำท่วมต่อเนื่องในหลายพื้นที่
ภาคเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในบริเวณจังหวัดตาก สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีฝนหนักบางพื้นที่ในวันที่ 27 พ.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ ในวันที่ 25 พ.ย. ภาคกลาง มีอากาศเย็นบางพื้นที่ตลอดช่วง โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ ในวันที่ 25-26 พ.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ กับมีอากาศเย็นบริเวณเทือกเขาตลอดช่วง โดยมีฝนเล็กน้อยถึงปานกลางบางพื้นที่ ในวันที่ 22 วันที่ 26 และวันที่ 27 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีฝนมากกว่าร้อยละ 80 ของพื้นที่ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป กับมีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ โดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของช่วงมีรายงานฝนตกหนักมากติดต่อกันในหลายพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดพัทลุง ในวันที่ 22-24 พ.ย. จังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 22-27 พ.ย. จังหวัดสงขลาและสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 25-27 พ.ย. จังหวัดปัตตานีและนราธิวาส ในวันที่ 26-27 พ.ย. กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช ในวันที่ 28 พ.ย. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง
4
ช่วงที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชุมพร นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ตรัง และสตูล ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนหนัก ได้แก่ เชียงราย สุราษฎร์ธานี และระนอง
สาหรับบริเวณที่มีฝนหนักและหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆและและกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
ภาคเหนือ
42.0
มม.
ที่
อ.เชียงของ
จ.เชียงราย
เมื่อวันที่
27
พ.ย.
ภาคใต้
504.6
มม.
ที่
อ.ยี่งอ
จ.นราธิวาส
เมื่อวันที่
26
พ.ย.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก และกรุงเทพมหานครไม่มีรายงานฝนตกหนัก
สาหรับบริเวณที่มีอุณหภูมิต่าที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้
ภาคเหนือ
12.9
? ซ.
ที่
อ.อุ้มผาง
จ.ตาก
เมื่อวันที่
23
พ.ย.
(7.0
? ซ.
ที่
ยอดดอยอินทนนท์ อ.จอมทอง
จ.เชียงใหม่
เมื่อวันที่
23
พ.ย.
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
16.8
? ซ.
ที่
กกษ.สกลนคร อ.เมือง
จ.สกลนคร
เมื่อวันที่
28
พ.ย.
(12.0
? ซ.
ที่
เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง อ.ภูเรือ
จ.เลย
เมื่อวันที่
22,27
พ.ย.
ภาคกลาง
20.8
? ซ.
ที่
ต.ทองผาภูมิ
จ.กาญจนบุรี
เมื่อวันที่
22,23
พ.ย.
ภาคตะวันออก
21.9
? ซ.
ที่
กกษ.ฉะเชิงเทรา อ.สนามชัยเขต
จ.ฉะเชิงเทรา
เมื่อวันที่
28
พ.ย.
ภาคใต้
22.3
? ซ.
ที่
อ.สะเดา
จ.สงขลา
เมื่อวันที่
27
พ.ย.
กรุงเทพมหานคร
24.5
? ซ.
ที่
กรมอุตุนิยมวิทยา
เขตบางนา
เมื่อวันที่
28
พ.ย.
หมายเหตุ
เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก
ปริมาณฝนที่วัดได้ (มม.) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0
เกณฑ์อากาศหนาว อากาศเย็น อากาศหนาว อากาศหนาวจัด
อุณหภูมิอากาศ(องศาเซลเซียส) 16.0-22.9 8.0-15.9 ต่ำกกว่า 8.0
สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา, กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร
ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร
กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา