พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 16 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2567

ข่าวทั่วไป Monday December 16, 2024 14:21 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 16 - 22 ธันวาคม พ.ศ. 2567 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2567 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 151/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 17 - 18 ธ.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะเริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลงเป็นกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 22 ธ.ค. 67 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางระลอกใหม่อีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอากาศเย็นลง กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบน มีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้ตอนล่างมีกำลังปานกลาง ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร

คำเตือน ในวันที่ 16 ธ.ค. บริเวณภาคใต้จะยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมาก ซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และน้ำล้นตลิ่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออกควรระมัดระวังคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่งด้วย ชาวเรือและชาวประมงควรระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 17 - 22 ธ.ค. ตอนบนของภาค อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 24 - 30 องศาเซลเซียส ตอนล่างของภาค อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด สำหรับบริเวณยอดดอยอาจเกิดน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรและควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อรักษาอุณหภูมิดิน ทั้งยังช่วยลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นภายในดินด้วย นอกจากนี้ควรระวังอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและหลีกเลี่ยงการจุดไฟในแปลงปลูกพืช หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ควรติดตั้งแผงกำบังลมหนาวให้กับสัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กอยู่ควรเพิ่มอุปกรณ์ให้ความอบอุ่นภายในโรงเรือน เช่น หลอดไฟกกเพื่อเพิ่มความอบอุ่น ป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 17 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 30 องศาเฉียงเหนือ เซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ในวันที่ 18 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 22 ธ.ค. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25 - 30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม.

          - ระยะนี้อากาศหนาวเย็น ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอและควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน ส่วนพื้นที่ซึ่งมีลมแรง เกษตรกรควรทำแผงกำบังลมหนาวป้องกันลมโกรกโรงเรือนและควรเพิ่มดวงไฟในโรงเรือนเพื่อให้ความอบอุ่นแก่สัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอโดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก ส่วนบางช่วงจะมีลมแรง เกษตรกรที่ติดไฟ เพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยง หากใช้งานเสร็จแล้วควรดับไฟให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนระยะนี้ปริมาณน้ำระเหยมีมาก เกษตรกรที่ปลูกพืชในระยะนี้ควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม และควรมีน้ำสำรองไว้ใช้เพื่อป้องกันพืชขาดน้ำ นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 16 - 17 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ในวันที่ 18 - 19 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด        29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้อากาศเย็น เกษตรกรควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย และควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนให้แก่สัตว์เลี้ยงเพื่อป้องกันความหนาวเย็น สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ ควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และควรมีแหล่งน้ำสำรองไว้ให้พืชในระยะเจริญเติบโต สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานหาก ต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกปลูกพืชที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย อีกทั้งควรวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม โดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ระบบน้ำหยด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 16 - 17 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ในช่วงวันที่ 18 - 19 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 20 - 22 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็น เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารลง เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลง อาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย รวมทั้งควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงตลอดจนดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้สมดุลกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัด ส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง นอกจากนี้ในพื้นที่ซึ่งมีลมแรง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง อีกทั้งควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 17 - 18 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ        30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป      ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 19 - 22 ธ.ค. อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะลดลง      1 - 2 องศาเซลเซียส โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า

2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 17 - 18 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรส่วนในช่วงวันที่ 19 - 22 ธ.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 4 - 6 ชม. - ระยะนี้บริเวณภาคใต้ตอนล่างยังคงมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก สำหรับบริเวณพื้นที่ซึ่งมีฝนตกติดต่อกันทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรครากเน่าโคนเน่าในไม้ผล โรคใบติดในทุเรียน โรคหน้ากรีดยางในยางพารา เป็นต้น นอกจากนี้บริเวณพื้นที่มีน้ำท่วม หากระดับน้ำลดลงแล้วเกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวนและแหล่งน้ำให้กลับมาใช้ได้ตามปกติ อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

NT ลักษณะอากาศในช่วง 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 9 - 15 ธันวาคม 2567 บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ตลอดสัปดาห์ โดยในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งได้แผ่เสริมลงมาปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นหลายพื้นที่ โดยมีรายงานฝนตกในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังค่อนข้างแรงในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ ประกอบกับหย่อมความกดอากาศต่ำที่ปกคลุมด้านตะวันออกของประเทศมาเลเซียได้เคลื่อนเข้าปกคลุมภาคใต้ตอนล่างในช่วงวันที่ 13-15 ธ.ค. ส่งผลให้ภาคใต้มีฝนตกหนาแน่น โดยเฉพาะทางฝั่งตะวันออกของภาคมีฝนตกหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมในบางพื้นที่

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณยอดดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่ ในวันที่ 12 ธ.ค. โดยมีฝนร้อยละ 15-55 ของพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 14 ธ.ค. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในวันแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศเย็นถึงหนาว โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ตอนล่างของภาคในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวในวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 25-45 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 12-14 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ทางตอนบนของภาค โดยมีฝนมากกว่าร้อยละ 70 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ โดยเฉพาะในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ อีกทั้งมีรายงานน้ำท่วมจากสัปดาห์ที่ผ่านมาบริเวณจังหวัดนครศรีธรรมราช และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดสุราษฎร์ธานี ในวันที่ 13-15 ธ.ค. และจังหวัดชุมพรและพัทลุง ในวันที่ 14-15 ธ.ค. ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในบางวัน โดยมีฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ และมีรายงานน้ำท่วมบริเวณจังหวัดระนอง ในวันที่ 14-15 ธ.ค.

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ