พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 6 - 12 มกราคม พ.ศ. 2568

ข่าวทั่วไป Monday January 6, 2025 15:18 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 6 - 12 มกราคม พ.ศ. 2568

ออกประกาศวันจันทร์ที่ 6 มกราคม พ.ศ. 2568

กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 3/2568

การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 7 - 9 ม.ค. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และ/ ภาคใต้ตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 2 - 4 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิลดลง กับมีลมแรง โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนจะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพ สำหรับสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัย ส่วนในช่วงวันที่ 7 - 9 ม.ค. 68 จะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควร เพิ่มระมัดระวังในการสัญจร ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ส่วนบริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว และในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. เรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 7 - 10 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 3 - 11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 12 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 9 - 16 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 1 - 9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม. - ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็นทั่วไป โดยบริเวณเทือกเขาและยอดดอยจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัดกับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และระวังป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยคลุมดินด้วยวัสดุสีเข้ม เพื่อรักษาอุณหภูมิดินและความชื้นภายในดิน สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและอาคารบ้านเรือน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนโดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กซึ่งมีความต้านทานต่อสภาพอากาศหนาวเย็นน้อยกว่าสัตว์ที่โตเต็มวัย นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงและอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7 - 9 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 2 - 4 องศาเซลเซียส เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 4 - 6 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 29 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 9 องศาเซลเซียสลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม. - ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็นทั่วไป โดยบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และระวังป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับเกษตรกรที่ติดไฟเพื่อให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน เพื่อป้องกันไฟลุกลามจนเป็นอัคคีภัย ส่วนบางพื้นที่จะมีลมแรง เกษตรกรควรสำรวจแผงกำบังลมหนาวที่ทำให้กับสัตว์เลี้ยงหากชำรุดเสียหายควรซ่อมแซมให้ใช้การได้ดี เพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือน โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็กควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนโดยเพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็น อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงและอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 7 - 9 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 32 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย และผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงและอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน อนึ่ง ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชตายสูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 7 - 9 ม.ค. 68 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็น เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน ส่วนไม้ผลที่อยู่ในระยะแทงช่อดอก เกษตรกรควรกำจัดวัชพืชบริเวณโคนต้นให้โล่งเตียนและงดให้น้ำรอจนเห็นดอกชัดเจนจึงค่อยลงมือให้น้ำโดยให้ในปริมาณที่น้อยก่อนแล้วค่อยเพิ่มปริมาณขึ้น อนึ่ง ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีฝนตกน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชตายสูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง และควรใช้น้ำอย่างประหยัดรวมทั้งวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง

ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 7 - 9 ม.ค. 68 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 34 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. 68 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค และอุณหภูมิจะลดลง 1 - 3 องศาเซลเซียส มีลมแรงและมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ โดยมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 7 - 9 ม.ค. 68 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. 68 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - มีอากาศเย็นทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก รวมทั้งควรกักเก็บน้ำเอาไว้ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ส่วนทางตอนล่างของภาคฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง บริเวณอ่าวไทยตอนล่างจะมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. 68 บริเวณอ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 30 ธันวาคม 2567 - 5 มกราคม 2568 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงปกคลุมประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ หลังจากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงอีกระลอกหนึ่งจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนและทะเลจีนใต้ ลักษณะดังกล่าวทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศหนาวเย็น โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ สำหรับภาคใต้มีอากาศเย็นทางตอนบนของภาค โดยมีฝนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นอุณหภูมิลดลงจนมีอากาศหนาวเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีรายงานน้ำค้างแข็งบริเวณจังหวัดเชียงใหม่ตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวทางตอนบนของภาค ส่วนทางตอนล่างของภาคมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไป โดยมีอากาศหนาวบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปตลอดสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์กับมีฝนหนักบางแห่ง จากนั้นมีฝนร้อยละ 30-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ภาคใต้ ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ในระยะปลายสัปดาห์ สัปดาห์ที่ผ่านมาภาคใต้มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา และตรัง โดยวัดปริมาณฝนมากที่สุดได้ 96.6 มิลลิเมตร ที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2568

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ