พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 8 - 14 มกราคม พ.ศ. 2568
ออกประกาศวันพุธที่ 8 มกราคม พ.ศ. 2568
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 4/2568 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8 - 9 ม.ค. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนมีกำลังอ่อนลง ทำให้บริเวณดังกล่าวมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า โดยภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาว ส่วนภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนมีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้มีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังแรงอีกระลอกจากประเทศจีนจะแผ่เสริมลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ภาคใต้ตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิลดลง กับมีลมแรง โดยภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิจะลดลง 5 - 7 องศาเซลเซียส ส่วนภาคกลางรวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และภาคตะวันออก อุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณตอนล่างของภาค ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร ส่วนทะเลอันดามันทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2 - 3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. 68 บริเวณประเทศไทยจะมีอากาศหนาวเย็น เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพและให้ความอบอุ่นแก่ตนเองและสัตว์เลี้ยงอย่างเพียงพอ สำหรับสภาพอากาศที่แห้งและมีลมแรง เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัยไว้ด้วย สำหรับบริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนัก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะบริเวณภาคใต้ฝั่งตะวันออกระมัดระวังอันตรายจากคลื่นซัดฝั่ง ส่วนชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง เรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 8 - 10 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียสอุณหภูมิต่ำสุด 14 - 19 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5 - 11 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 ม.ค. 68 อากาศหนาว กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 5 - 7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 9 - 15 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 23 - 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 1 - 7 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็นทั่วไป โดยบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุสีเข้มเพื่อรักษาอุณหภูมิดิน และยังช่วยลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ ควรระวังอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตรและหลีกเลี่ยงการจุดไฟในแปลงปลูกพืช หากมีความจำเป็นต้องจุดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์โดยเฉพาะสัตว์ที่ยังเล็ก ควรเพิ่มอุปกรณ์เพื่อให้ความอบอุ่นภายในโรงเรือน เช่น หลอดไฟกก ป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็นจนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้เกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรลดปริมาณอาหารเนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงและอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่ายตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 9 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 32 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 10 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาวจัด กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 5 - 7 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 17 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 25 - 30 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด และมีน้ำค้างแข็งบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 4 - 9 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 9 ชม. - ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็นทั่วไป โดยบริเวณเทือกเขาและยอดภูจะมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด กับมีน้ำค้างแข็งบางพื้นที่ เกษตรกรควรให้ความอบอุ่นแก่ตนเองอย่างเพียงพอ และระวังป้องกันความเสียหายที่จะเกิดกับพืชผลทางการเกษตร โดยคลุมดินด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน ส่วนบางพื้นที่จะมีลมแรง เกษตรกรควรสำรวจแผงกำบังลมหนาวที่ทำให้กับสัตว์เลี้ยงหากชำรุดเสียหายควรซ่อมแซมให้ใช้การได้ดีเพื่อป้องกันลมโกรกโรงเรือนและเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน นอกจากนี้ผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงและอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย อนึ่ง ระยะนี้และระยะต่อไปปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง กลาง ในช่วงวันที่ 8 - 9 ม.ค. 68 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12 - 20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 8 - 9 ชม. - ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือน เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงหนาวเย็น ปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรลดปริมาณอาหาร เนื่องจากอุณหภูมิที่ลดลงจะทำให้สัตว์น้ำกินอาหารได้น้อยลงและอาหารที่เหลือจะทำให้น้ำเน่าเสีย สัตว์น้ำที่อาศัยอยู่จะอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมโดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ระบบน้ำหยด เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 9 ม.ค. 68 อากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. 68 อากาศเย็นถึงหนาวในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 31 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตรความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศหนาวเย็นในตอนเช้า เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนในพื้นที่ซึ่งมีลมแรง เกษตรกรควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม อีกทั้งควรคลุมดินบริเวณโคนต้นพืชเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนจะมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอ หากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโตผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ และควรใช้น้ำอย่างประหยัดรวมทั้งวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสมเพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรต่อไปในช่วงแล้ง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 8 - 9 ม.ค. 68 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. 68 อากาศเย็นในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 3 องศาเซลเซียสกับมีลมแรง มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 10 - 12 ม.ค. 68 มีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณตอนล่างของภาค
ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 45 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 26 - 30 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 8 - 10 ม.ค. 68 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนเล็กน้อยบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองและห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 14 ม.ค. 68 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 2 - 3 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็นทางตอนบนของภาคกับมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรงเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนทางตอนล่างของภาคฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ในช่วงวันที่ 10 -14 ม.ค. บริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันห่างฝั่งจะมีคลื่นลมแรง โดยมีคลื่นสูง 2 - 4 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 4 เมตร เกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งภาคใต้ฝั่งตะวันออก ระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากคลื่นลมแรงที่ซัดเข้าหาฝั่ง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำบริเวณชายฝั่งควรระวังป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว หากสัตว์น้ำเจริญเติบโตได้ขนาดควรรีบจับจำหน่ายออกก่อนบางส่วน เพื่อลดความเสียหายที่จะเกิดขึ้น ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 14 ม.ค. ชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยและอันดามันควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ และเรือเล็กควรงดออกจากฝั่ง NT ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 1 - 7 มกราคม 2568 มีรายงานฝนตกหนักและหนักมากบริเวณภาคใต้ โดยมีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนราธิวาส ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช และสงขลา สำหรับปริมาณฝนมากที่สุด วัดได้ 96.6 มิลลิเมตร ที่อำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส เมื่อวันที่ 4 มกราคม 2568
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา