พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ในช่วงวันที่ 4-9 ก.พ. 68 มรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ทะเลอันดามัน และภาคใต้ มีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังปานกลาง ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร
บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศเย็นถึงหนาว เกษตรกรควรรักษาสุขภาพเพื่อป้องกันการเจ็บป่วย รวมทั้งควรระวังการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า สำหรับในช่วงวันที่ 6-8 ก.พ. 68 ควรระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 4 และ 7-8 ก.พ. 68 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 13-21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 5-13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 และ 9 ก.พ. 68 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 12-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-34 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 4-12 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้างในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ เป็นต้น รวมทั้งควรเพิ่มความอบอุ่นภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์ นอกจากนี้ควรระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ตะวันออก ในช่วงวันที่ 4-5 และ 8-9 ก.พ. 68 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2-4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด เฉียงเหนือ 12-18 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6-14 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 6-7 ก.พ. 68 อากาศเย็นถึงหนาวกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศเย็นถึงหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 9-16 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม. - ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง เกษตรกรควรทำแผงกำบังลมให้แก่สัตว์เลี้ยง รวมทั้งควรให้ปริมาณอาหารแก่สัตว์น้ำอย่างเหมาะสม เนื่องจากในช่วงที่มีอากาศเย็นสัตว์น้ำจะกินอาหารได้น้อย จึงควรให้อาหารในช่วงเวลาที่มีอุณหภูมิอุ่นขึ้น นอกจากนี้ควรระวังการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า กลาง ในช่วงวันที่ 4 และ 7-8 ก.พ. 68 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 และ 9 ก.พ. 68 อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16-20 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกบางในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ สำหรับในพื้นที่การเกษตรซึ่งอยู่นอกเขตชลประทาน หากเกษตรกรต้องการปลูกพืชรอบใหม่ควรเลือกพันธุ์ที่มีอายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ และควรระวังอันตรายจากการสัญจรผ่านบริเวณที่มีหมอก ตะวันออก ในช่วงวันที่ 4 และ 7-8 ก.พ. 68 อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1-2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5-6 และ 9 ก.พ. 68 อากาศเย็นกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 1-3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17-22 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-33 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีอากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรชนิดต่างๆ ซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช และควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 4-9 ก.พ. 68 อากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราชขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ตั้งแต่ จ.สงขลาลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 18-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28-33 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 4-6 และ 9 ก.พ. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม.ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 5-7 ก.พ. 68 มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-34 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศเย็นในตอนเช้าทางตอนบนของภาค และฝนฟ้าคะนองบางแห่งทางตอนล่างของภาค โดยในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนบริเวณที่มีฝนตกต่อเนื่อง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 27 มกราคม - 2 กุมภาพันธ์ 2568 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีกำลังอ่อนลง ประกอบกับลมตะวันตกในระดับบนพัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงวันที่ 29 - 30 ม.ค. 68 ลักษณะดังกล่าวทำให้ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศหนาวเย็นทั่วไป ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีอากาศเย็นส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ กับมีฝนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังค่อนข้างแรงที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้
ภาคเหนือ ตอนบนของภาคมีอากาศหนาวเกือบทั่วไป ส่วนทางตอนล่างมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 27 ม.ค. 68 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ เว้นแต่ในระยะปลายสัปดาห์พื้นที่ส่วนใหญ่มีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศหนาวในหลายพื้นที่ ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด โดยมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 27 ม.ค. 68 ภาคกลาง มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป กับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะกลางสัปดาห์ สำหรับบริเวณเทือกเขามีอากาศหนาว ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นเกือบทั่วไปในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานดินถล่มบริเวณจังหวัดยะลา ในช่วงวันที่ 29-30 ม.ค. 68 ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 15-35 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักบริเวณภาคใต้ในจังหวัดชุมพร สำหรับปริมาณฝนมากที่สุดวัดได้ 80.0 มิลลิเมตร ที่อำเภอละแม จังหวัดชุมพร เมื่อวันที่ 28 มกราคม 2568
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา