พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568

ข่าวทั่วไป Friday February 7, 2025 15:42 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 7 - 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2568 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 17/2568 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางถึงค่อนข้างแรงระลอกใหม่จากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมประเทศไทยตอนบน และทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอุณหภูมิลดลง กับมีลมแรง โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีอุณหภูมิลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส ส่วนภาคเหนือ ภาคกลาง รวมทั้งกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ภาคตะวันออก และภาคใต้ตอนบนอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันออกมีฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร และทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.พ. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมประเทศไทยและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะ

เช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนจะมีอุณหภูมิสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ แต่ยังคงมีอากาศเย็นถึงหนาวในภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้มีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือกำลังปานกลางที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนและทะเลอันดามันมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนและภาคใต้ตอนบน อุณหภูมิจะลดลง 2-5 องศาเซลเซียส เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพ สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย ส่วนบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีคลื่นลมแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.พ. บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระมัดระวังระวังอันตรายในการสัญจรไว้ด้วย

คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 33 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 6 - 11 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 15 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดดอยอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 8 - 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม. - ระยะนี้อุณหภูมิตอนกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับสภาพอากาศที่แห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร สำหรับในบางพื้นที่อาจมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา โดยเฉพาะโรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก รวมทั้งไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ และเกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา อนึ่ง ระยะนี้และระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด และวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อยตะวันออก ในช่วงวันที่ 7 - 9 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาวกับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 3 - 5 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 11 - 18 เฉียงเหนือ องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 31 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด อุณหภูมิต่ำสุด 7 - 13 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 10 - 13 ก.พ. อากาศเย็นถึงหนาว กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ โดยอุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 3 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 14 - 21 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส บริเวณยอดภูอากาศหนาว อุณหภูมิต่ำสุด 10 - 15 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม.

  • ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับปริมาณฝนที่มีน้อยประกอบกับการระเหยของน้ำมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยงและดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ระยะนี้และระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง เกษตรกรควรใช้น้ำที่เก็บกักไว้อย่างประหยัด โดยอาจให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ และวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย กลาง ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 16 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.พ. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 24 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในบางช่วงอาจมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก โรคราดำในมะม่วง หากพบการระบาดของโรคดังกล่าวควรฉีดพ่นด้วยน้ำก็จะทำให้ลดการระบาดลงแต่ไม่ควรฉีดน้ำแรงจนเกินไป เพราะจะทำให้ช่อดอกช้ำการติดผลลดลง และไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งเกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา สำหรับปริมาณฝนที่มีน้อยประกอบกับการระเหยของน้ำมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน อนึ่ง ระยะนี้และระยะต่อไปจะเป็นช่วงแล้ง พื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรเลือกปลูกพืชที่ระยะการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำของพืช รวมทั้งควรวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ตะวันออก

ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.พ. อากาศเย็นในตอนเช้า กับมีลมแรง และอุณหภูมิจะลดลง 2 - 4 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 17 - 23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 34 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.พ. อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ อุณหภูมิจะสูงขึ้น 1 - 2 องศาเซลเซียส อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้อากาศเปลี่ยนแปลง เกษตรกรควรรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับในบางช่วงอาจมีหมอกในตอนเช้า เกษตรกรควรระวังและป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราน้ำค้างในพืชไร่และพืชผัก และโรคราดำในมะม่วง หากพบการระบาดของโรคดังกล่าวควรฉีดพ่นด้วยน้ำก็จะทำให้ลดการระบาดลงได้แต่ไม่ควรฉีดน้ำแรงจนเกินไป เพราะจะทำให้ช่อดอกช้ำการติดผลลดลง และไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้งข้ามคืน เพราะจะทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งเกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวังโดยเฉพาะขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา สำหรับปริมาณฝนที่มีน้อยประกอบกับการระเหยของน้ำมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดิน และรักษาอุณหภูมิดิน อนึ่ง ระยะนี้สภาพอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ใต้ ฝั่งตะวันออก อากาศเย็น กับมีหมอกในตอนเช้า ทางตอนบนของภาค ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 8 - 10 ก.พ. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 20 - 40 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 2 - 3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 11 - 13 ก.พ. มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ขึ้นมา ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ตั้งแต่ จ.

นครศรีธรรมราช ลงไป ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนเล็กน้อยบางแห่ง ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 7 - 8 และ 11 - 12 ก.พ. ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 9 - 10 ก.พ. ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ระยะนี้มีอากาศเย็นในตอนเช้า สำหรับทางตอนบนของภาคอากาศแห้ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะดูดกินน้ำเลี้ยงทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะบริเวณสวนยางพารา เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟ หากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนระยะนี้ปริมาณและการกระจายของฝนมีน้อย เกษตรกรควรให้น้ำแก่พืชอย่างเพียงพอโดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้น เช่น พืชไร่และพืชผัก เป็นต้น และวางแผนการใช้น้ำที่เก็บกักไว้ให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง อนึ่ง ในช่วงวันที่ 8-10 ก.พ. คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง โดยมีคลื่นสูง 2-3 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 3 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง และเรือเล็กบริเวณอ่าวไทยควรงดออกจากฝั่ง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น สำหรับเกษตรกรที่อาศัยอยู่บริเวณชายฝั่งควรระวังและป้องกันความเสียหายที่เกิดจากคลื่นลมแรงพัดเข้าหาฝั่ง AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 31 มกราคม - 6 กุมภาพันธ์ 2568 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังอ่อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางระลอกใหม่จากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ แล้วอ่อนกำลังลง ลักษณะดังกล่าว ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวในหลายพื้นที่ในบริเวณภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนภาคกลางและภาคตะวันออกมีอากาศเย็นเกือบทั่วไปส่วนมากในระยะครึ่งแรกของช่วง สำหรับภาคใต้มีอากาศเย็นตลอดช่วงส่วนมากทางฝั่งตะวันออกของภาค โดยมีฝนบางพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง จากอิทธิพลของมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือที่พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดช่วง กับมีลมตะวันออกพัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่าง

และภาคใต้ในตอนปลายช่วง

ภาคเหนือ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศหนาวในบางพื้นที่ สำหรับบริเวณเทือกเขาและยอดดอยมีอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศหนาวเกือบทั่วไปในระยะต้นช่วงและในวันที่ 5 ก.พ. 68 ส่วนวันอื่นๆ มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวหลายพื้นที่ ส่วนบริเวณเทือกเขาและยอดภูอากาศหนาวถึงหนาวจัด ภาคกลาง มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป ภาคตะวันออก มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป สำหรับบริเวณเทือกเขามีอากาศหนาว โดยมีฝนร้อยละ 5 - 20 ของพื้นที่บริเวณชายฝั่งในวันที่ 4 - 5 ก.พ. 68 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศเย็นทั่วไปกับมีอากาศหนาวบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นแต่ยังคงมีอากาศเย็นเกือบทั่วไป โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันที่ 4 และ 6 ก.พ. 68 ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศเย็นหลายพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง

ช่วงที่ผ่านมาบริเวณประเทศไทยไม่มีรายงานฝนตกหนัก

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ