พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 12 - 18 มีนาคม พ.ศ. 2568
ออกประกาศวันพุธที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2568
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 31/2567 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 12 - 13 มี.ค. แนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไป ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงและมีลูกเห็บตกบางแห่ง ในช่วงวันที่ 14 - 15 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 16 - 18 มี.ค. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีอากาศแปรปรวน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก หลังจากนั้นอากาศจะคลายความร้อนลง สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 12 - 16 มี.ค. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังอ่อนลง โดยอ่าวไทยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 17 - 18 มี.ค. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้นเป็นกำลังปานกลาง โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ระยะนี้บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพ และหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 18 มี.ค. ชาวเรือบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง สำหรับในช่วงวันที่ 12 - 13 และ 16 - 17 มี.ค. บริเวณประเทศไทยตอนบน และภาคใต้ตอนบนจะมีฝนฟ้าคะนอง กับลมกระโชกแรง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจจะเกิดขึ้นได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 12 - 13 มี.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปและมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 40 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 มี.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัวและมีอากาศร้อนจัด บางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 42 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. และในช่วงวันที่ 17 - 18 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 19 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50 - 60 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้อุณหภูมิกลางวันและกลางคืนแตกต่างกันมาก เกษตรกรควรดูแลรักษาสุขภาพให้แข็งแรง เพื่อป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน รวมทั้งควรระวังและป้องกันอัคคีภัยและไฟป่า โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้แตกต่างกันมาก เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงปรับตัวไม่ทันอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับไม้ผลที่อยู่ในระยะให้ผลผลิต เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต การติดผลลดลง ผลผลิตด้อยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืช ทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ อนึ่ง ในช่วงวันที่12-13 มี.ค.และช่วงวันที่ 17 - 18 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 12 - 13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิเฉียงเหนือ ต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม.ในช่วงวันที่ 14 - 15 มี.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัว โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. และในช่วงวันที่ 16 - 18 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง กับมีลมแรงอุณหภูมิต่ำสุด 19 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน และเพิ่มปริมาณน้ำกินสำหรับสัตว์ เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนสัตว์เลี้ยงมีความต้องการน้ำมากกว่าช่วงปกติ รวมทั้งดูแลความสะอาดของน้ำกินของสัตว์ สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโตและช่วงผลิดอกออกผล หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ถ้าขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชตายสูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง อนึ่ง ในช่วงวันที่12-13 มี.ค.และช่วงวันที่ 16 - 18 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่กลางแจ้งขณะฝนฟ้าคะนอง กลาง ในช่วงวันที่ 12 - 13 มี.ค. อากาศร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งอุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 16 มี.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัว และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม และในช่วงวันที่ 17 - 18 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง หลังจากนั้นอุณหภูมิจะลดลง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้อากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือนโดยอาจติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือน และเพิ่มปริมาณน้ำกินที่สะอาดสำหรับสัตว์ เนื่องจากในช่วงฤดูร้อนสัตว์เลี้ยงมีความต้องการน้ำมากกว่าช่วงปกติ สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำในระยะเจริญเติบโตและช่วงเจริญเติบโตทางผล ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย อนึ่ง ในช่วงวันที่12-13 มี.ค.และช่วงวันที่ 17 - 18 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการเข้าใกล้สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง ต้นไม้ใหญ่ และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนองลมกระโชกแรง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 12 - 13 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26
องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 14 - 15 มี.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัว โดยมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร และในช่วง
วันที่ 16 - 18 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 7 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน อนึ่ง ในช่วงวันที่12-13 มี.ค.และช่วงวันที่ 16 - 18 มี.ค. จะมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 12 - 16 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร และในช่วงวันที่ 17 - 18 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตั้งแต่จังหวัดสุราษฎร์ธานีขึ้นมา: ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตรตั้งแต่จังหวัดนครศรีธรรมราชลงไป: ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 36 องศาเซลเซียสความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 12 - 14 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15 - 18 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70 - 80 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - สำหรับสภาพอากาศที่แห้งในระยะนี้โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากต้นพืชทำให้ต้นพืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ รวมทั้งระวังและป้องกันการเกิดอัคคีภัย โดยทำแนวกันไฟรอบพื้นที่การเกษตร โดยเฉพาะสวนยางพาราควรหลีกเลี่ยงการจุดไฟหากมีความจำเป็นต้องติดไฟควรดับให้สนิททุกครั้งหลังเลิกใช้งาน ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในระยะนี้ควรดูแลสภาพน้ำให้เหมาะสมกับชนิดของสัตว์น้ำที่เลี้ยง และดูแลจำนวนสัตว์น้ำให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำที่มีอยู่ หากปริมาณน้ำมีน้อยจะทำให้สัตว์น้ำอยู่อย่างแออัดส่งผลให้สัตว์น้ำอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย สำหรับปริมาณน้ำที่ระเหยมากในระยะนี้ เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชและโคนต้นพืช ด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดินและรักษาอุณหภูมิดิน สำหรับพื้นที่ซึ่งฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพ ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 5 - 11 มีนาคม 2568 มีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดนครราชสีมา ฉะเชิงเทรา และตราด ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ อุดรธานี สกลนคร กาฬสินธุ์ ขอนแก่น บุรีรัมย์ กาญจนบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี สระแก้ว ชลบุรี ระยอง จันทบุรี เพชรบุรี ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา นราธิวาส และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา