พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม พ.ศ. 2568
ออกประกาศวันจันทร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2568 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 36/2568 การคาดหมายลักษณะอากาศในช่วงวันที่ 24-28 มี.ค. 68 ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้/ ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันและมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง ในขณะที่ในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. 68 มีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังอ่อนจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที
สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 24-29 มี.ค. 68 ลมตะวันออกยังคงพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร หลังจากนั้น ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่าง ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนอ่าวไทยตอนบน ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร คำเตือนในช่วงวันที่ 24 - 28 มี.ค. 68 เกษตรกร บริเวณประเทศไทยตอนบนควรหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นระยะเวลานาน เพราะอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพได้ ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 ขอให้ระวังอันตรายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 24-28 มี.ค. 68 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 19-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง โดยมีอากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวันทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 24-28 มี.ค. 68 จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันโรคลมแดด สำหรับชาวสวนไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผลควรให้น้ำเพิ่มเติมอย่างเหมาะสม เพราะหากได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้การติดผลออกผลลดลง ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกได้บางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 24-28 มี.ค. 68 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ เฉียงเหนือ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 16-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 50-60 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในสภาพอากาศที่ร้อนในตอนกลางวัน ทำให้ปริมาณการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินมีมาก เกษตรกรควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืช เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รวมทั้งให้น้ำเพิ่มแก่พืช โดยเฉพาะพืชที่อยู่ในระยะเจริญเติบโต ถ้าพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้การติดดอกออกผลลดลง นอกจากนี้ในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย โดยเฉพาะสัตว์เลี้ยงไม่ควรปล่อยให้อยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าได้ กลาง ในช่วงวันที่ 24-28 มี.ค. 68 อากาศร้อนถึงร้อนจัดกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยในช่วงวันที่ 25-26 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - ในช่วงวันที่ 24-28 มี.ค. 68 จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าให้มิดชิดและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันโรคลมแดด ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก หรือติดตั้งพัดลมระบายอากาศในโรงเรือน เพื่อช่วยลดอุณหภูมิและเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวไว้ด้วย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 24-28 มี.ค. 68 อากาศร้อนกับมีฟ้าหลัวในตอนกลางวัน โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. - มีอากาศร้อนในตอนกลางวัน กับมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางพื้นที่ โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 จะมีพายุฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสวนไม้ผลควรดูแลการผูกยึดและค้ำยันของกิ่งไม้ผลให้มีความมั่นคงแข็งแรง เพื่อลดผลกระทบจากลมกระโชกแรง สำหรับเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำ หลังจากฝนตกเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 24-29 มี.ค. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร หลังจากนั้น มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ตั้งแต่ จ. ชุมพร ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ตั้งแต่ จ. สุราษฎร์ธานี ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ตลอดช่วง ในช่วงวันที่ 24-25 และ 30 มี.ค. 68 ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร และบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-29 มี.ค. 68 ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนบางพื้นที่ เกษตรกรควรใช้น้ำที่กักเก็บไว้อย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางการเกษตรในช่วงมีฝนน้อย สำหรับในสภาวะอากาศที่ร้อนและมีฝนน้อย เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะสัตว์ปีกควรดูแลสภาพแวดล้อมภายในโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก หากเป็นไปได้ควรติดตั้งพัดลมระบายอากาศในโรงเรือน เพื่อช่วยลดอุณหภูมิและเพิ่มการไหลเวียนของอากาศ สำหรับคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีคลื่นสูงประมาณ 1เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง คลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 17 - 23 กุมภาพันธ์ 2568 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในวันแรกของสัปดาห์ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในช่วงกลางสัปดาห์ จากนั้นได้อ่อนกำลังลง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิลดลงจากช่วงที่ผ่านมา แต่ยังคงมีอากาศร้อนในระยะต้นและปลายสัปดาห์ส่วนมากบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง กับมีฝนในบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะกลางสัปดาห์ เนื่องจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังค่อนข้างแรงในช่วงดังกล่าว
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-20 ของพื้นที่ ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 18 มี.ค. 68 นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเชียงรายในวันที่ 18 มี.ค. 68 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปในระยะต้นและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 10 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ทางตอนบนของภาคในระยะต้นและปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-25 ของพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ และมีฝนหนักบางแห่งในวันแรกของสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ เว้นแต่ในช่วงวันที่ 19 - 20 และ 22 มี.ค. 68 มีฝนร้อยละ 45-60 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะต้นสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 25-40 ของพื้นที่ เว้นแต่ในช่วงวันที่ 19 - 20 มี.ค. 68 มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง
สัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักบริเวณจังหวัดเชียงราย ระยอง ตราด สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ปัตตานี และตรัง
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา