พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม - 1 เมษายน พ.ศ. 2568

ข่าวทั่วไป Wednesday March 26, 2025 13:35 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า

ระหว่างวันที่ 26 มีนาคม - 1 เมษายน พ.ศ. 2568

ออกประกาศวันพุธที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2568

          กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 37/2568 การคาดหมายลักษณะอากาศ  ในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. ความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยมีอากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัว และมีอากาศร้อนจัดบางแห่งบริเวณภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ในขณะที่มีลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุม          ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 26 - 29 มี.ค.           ลมตะวันออกและลมตะวันตกเฉียงเหนือกำลังอ่อน พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย แต่ยังมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย. ลมตะวันออกที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน จะมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและห่างฝั่งทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงประมาณ 2 เมตร

คำเตือน ในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบนดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด ขอให้เกษตรกรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน และระบายความร้อนภายในโรงเรือนเพื่อลดอุณหภูมิให้แก่สัตว์เลี้ยง รวมทั้งเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสม ส่วนในช่วงวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. บริเวณประเทศไทยตอนบน จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจที่อยู่อาศัยและรีบทำการซ่อมแซมวัสดุที่ไม่มั่นคง ค้ำยัน

กิ่งให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหายจากลูกเห็บและลมกรรโชกแรง

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 26 - 29 มี.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัว และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ       10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางตอนล่างของภาคในวันที่ 26 และ 29 มี.ค. อุณหภูมิต่ำสุด       19 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35 - 41 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ในช่วงวันที่ 26 - 29 มี.ค. จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด สำหรับสภาพอากาศที่แห้งทำให้น้ำระเหยมีมาก เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมพร้อมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตรเพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน รวมทั้งควรระวังศัตรูพืชจำพวกเพลี้ยและไรไว้ด้วย นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังและป้องกันอัคคีภัยและไฟป่า โดยควรทำแนวกันไฟรอบพื้นที่เพาะปลูกและงดการเผาวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว ซางข้าวโพด และ หญ้าแห้ง เพื่อลดปัญหามลพิษฝุ่นขนาดเล็กทางอากาศที่มีอยู่ในขณะนี้ ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากฟ้าผ่าและลูกเห็บตก โดยควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน ซึ่งจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัว และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ      10 เฉียงเหนือ - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่       29 - 31 มี.ค. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง หลังจากนั้นใน  วันที่ 1 เม.ย. มีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 26           องศา
          เซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 25 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์              60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 8 ชม. - ในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน สำหรับช่วงนี้ความชื้นในดินมีน้อย เกษตรกรควรเพิ่มการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมรวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชเพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน ส่วนพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัดและวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม โดยให้น้ำแก่พืชแบบมีประสิทธิภาพ เช่น การใช้ระบบน้ำหยดและกักเก็บน้ำไว้เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง ส่วนในช่วงวันที่ 29 - 31 มี.ค. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายที่จะเกิดขึ้นจากฟ้าผ่าและลูกเห็บตก โดยควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้ม ส่วนผลผลิตทางการเกษตรที่แก่ดีแล้ว เกษตรกรควรรีบเก็บเกี่ยวและไม่ปล่อยทิ้งไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนไว้ด้วย กลาง ในช่วงวันที่ 26 - 29 มี.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัว และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ในช่วงวันที่ 26 - 29 มี.ค. จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัดในตอนกลางวัน ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดความร้อนภายในโรงเรือน โดยสร้างที่บังแดดเพื่อป้องกันไม่ให้สัตว์ได้รับความร้อนจากแสงแดดโดยตรง หรือ ติดตั้งพัดลมระบายอากาศในโรงเรือนเพื่อให้อากาศหมุนเวียนถ่ายเทได้สะดวก หรือ ฉีดน้ำบริเวณหลังคาเพื่อลดความร้อนในโรงเรือน เป็นต้น ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยสำรวจที่อยู่อาศัยและรีบทำการซ่อมแซมวัสดุที่ไม่มั่นคงให้มีความแข็งแรงทนทานต่อลูกเห็บตกและลมกระโชกแรง รวมทั้งควรระวังการอยู่ในบริเวณที่มีหลังคากระจกหรือหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ประตูและหน้าต่างที่เป็นกระจก ส่วนชาวสวนผลไม้ ควรค้ำยันกิ่งให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันความเสียหายจากลูกเห็บและลมกระโชกแรง  10 - 20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36 - 41   ตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. อากาศร้อนโดยทั่วไปกับมีฟ้าหลัว โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ กับมี            ลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 39 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว      15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่         29 มี.ค. - 1 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 %            ความยาวนานแสงแดด 6 - 7 ชม. - ในช่วงวันที่ 26 - 28 มี.ค. จะมีอากาศร้อนกับมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง ผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วไม่ควรตากผลผลิตไว้กลางแจ้งเพราะอาจเปียกชื้นเสียหายได้ ส่วนบางพื้นที่ซึ่งมีฝนตกและหยุดตกสลับกัน เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอน เช่น หนอนกระทู้ในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก เป็นต้น ส่วนในช่วงวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสวนทุเรียน ควรดูแลการผูกยึดและค้ำยันกิ่งของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรงเพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมกระโชกแรง สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน จนอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ  ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 26 - 29 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ โดยมีอากาศร้อน ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร          ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ตั้งแต่        จ.ชุมพร ขึ้นมา ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ตั้งแต่ จ.สุราษฎร์ธานี ลงไป ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 26 - 29 มี.ค. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ โดยมีอากาศร้อน ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30        กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า        2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65 - 75 % ความยาวนานแสงแดด 7 - 8 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนกับฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 30 มี.ค. - 1 เม.ย. จะมีฝนฟ้าคะนองเพิ่มขึ้นกับลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว อีกทั้งควรทำทางระบายน้ำออกจากแปลงปลูกเพื่อป้องกันน้ำท่วมขัง ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อเลี้ยงสัตว์น้ำโดยตรง แต่ควรเก็บน้ำไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง อีกทั้งหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำเพื่อป้องกันน้ำแยกชั้น และเป็นการเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ อนึ่ง คลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและห่างฝั่งบริเวณทะเลอันดามัน จะมีกำลังปานกลาง โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนอง

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ