พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า
ระหว่างวันที่ 28 มีนาคม - 3 เมษายน พ.ศ. 2568
ออกประกาศวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568
กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 38/2568 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นยังคงปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนคลายความร้อนลงได้
สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. 68 ลมตะวันออกกำลังอ่อนและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนน้อย แต่ยังมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันมีกำลังอ่อน โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 3 เม.ย. 68 จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนผ่านภาคตะวันออก อ่าวไทย และภาคใต้ ประกอบกับลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน จะเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นกับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรงขึ้น โดยอ่าวไทยตอนล่างมีคลื่นสูง 1-2 เมตร อ่าวไทยตอนบนมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. 68 ประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และอาจมีฟ้าผ่าได้ เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว สำหรับในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 3 เม.ย. 68 บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักบางแห่ง เกษตรกรบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยควรระวังท่วมฉับพลันและน้ำป่าไหลหลาก
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. 68 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 17-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม. - ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง รวมทั้งระวังและป้องกันการระบาดของด้วงเพลี้ยไฟฝ้ายในพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ เป็นต้น นอกจากนี้ควรวางแผนการใช้น้ำทางด้านการเกษตรให้มีประสิทธิภาพ ตะวันออก ในช่วงวันที่ 29-30 มี.ค. 68 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิเฉียงเหนือ ต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงเหนือ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 3 เม.ย. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 20-23 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรอยู่ในที่โล่งแจ้งขณะเกิดพายุฝนฟ้าคะนองเพราะอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า รวมทั้งควรทำแผงกำบังลมและฝนให้แก่สัตว์เลี้ยง
กลาง ในช่วงวันที่ 29 มี.ค. - 1 เม.ย. 68 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2-3 เม.ย. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 24-25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก นอกจากนี้ควรเก็บกักน้ำไว้ใช้น้ำทางด้านการเกษตร ตะวันออก ในช่วงวันที่ 29-31 มี.ค. 68 มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 25-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-35 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในช่วงนี้จะมีพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรผูกยึดค้ำยันกิ่งไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง และระวังโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 28-31 มี.ค. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนบน ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-70 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ และมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 28-31 มี.ค. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีอากาศร้อน ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 1-3 เม.ย. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-60 ของพื้นที่ กับมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง โดยในพื้นที่ซึ่งมีฝนตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ส่วนบริเวณที่มีฝนตกต่อเนื่องทำให้ดินและอากาศมีความชื้นสูง เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก สำหรับผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อ เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย หลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ นอกจากนี้ควรดูแลสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา RR ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 21 - 27 มีนาคม 2568 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังค่อนข้างแรงจากประเทศจีนที่ปกคลุมประเทศไทยตอนบนมีกำลังอ่อนลง โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณดังกล่าวในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีแนวลมสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในวันที่ 26 มี.ค. 68 ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยเฉพาะภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอากาศร้อนทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ และมีฝนบางพื้นที่ในบางวัน สำหรับภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะต้นและปลายช่วง เนื่องจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังปานกลางในระยะต้นช่วง กับมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยตอนล่างและภาคใต้ในระยะปลายช่วง
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง จากนั้นมีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนเล็กน้อยบางพื้นที่ ในวันที่ 25 มี.ค. 68 กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในช่วงวันที่ 26 - 27 มี.ค. 68 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปในระยะครึ่งหลังของช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันสุดท้ายของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10 ของพื้นที่ ในวันที่ 26 มี.ค. 68 ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดช่วงกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ ในช่วงวันที่ 24 - 25 และ 27 มี.ค. 68 ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 25 - 27 มี.ค. 68 กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในวันที่ 26 มี.ค.68 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ในระยะครึ่งหลังของช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-45 ของพื้นที่ ในระยะต้นและปลายช่วง และมีฝนหนักบางแห่งในระยะปลายช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะกลางและปลายช่วง โดยมีฝนร้อยละ 10-40 ของพื้นที่ ในช่วงวันที่ 22 - 23 และ 26 มี.ค. 68 ช่วงที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดตราด ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ พัทลุง และนราธิวาส
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา