พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 31 มีนาคม - 6 เมษายน พ.ศ. 2568 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2568 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 39/2568 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 1 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนปก/ คลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน ในขณะที่บริเวณดังกล่าวมีอากาศร้อน และมีอากาศร้อนจัดในภาคเหนือ ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวยังคงมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง รวมถึงอาจมีฟ้าผ่าเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 4 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้เริ่มมีกำลังอ่อนลง ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 5 - 6 เม.ย. แนวพัดสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนเพิ่มขึ้น กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 1 - 4 เม.ย. จะมีคลื่นกระแสลมฝ่ายตะวันออกเคลื่อนผ่านอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง และมีลมกระโชกแรงบริเวณภาคใต้ ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังแรงขึ้น โดยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 6 เม.ย. ลมตะวันออก และลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันมีกำลังอ่อนลง ทำให้ภาคใต้มีฝนลดลง แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ส่วนคลื่นลมบริเวณอ่าวไทยจะมีกำลังอ่อนลง โดยมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คำเตือน ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 1 เม.ย. บริเวณภาคตะวันออก ภาคกลาง ภาคเหนือตอนล่าง และภาคใต้ตอนบน จะมีพายุฤดูร้อน เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากจากสภวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง และไม่ควรเข้าใกล้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง และป้ายโฆษณาสูงๆ ขณะฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และในช่วงวันที่ 1 - 4 เม.ย. บริเวณภาคใต้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากซึ่งอาจทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลันหรือน้ำป่าไหลหลาก เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากจากสภวะดังกล่าว ส่วนชาวเรือและชาวประมงบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามันควรเดินเรือด้วยความระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการเดินเรือในบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองไว้ด้วย
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 1 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 40 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 4 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55-65 % ความยาวนานแสงแดด 8-10 ชม. - ในช่วงวันที่ 31มี.ค.-1 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งสำรวจวัสดุอุปกรณ์ที่ผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นไม้ผล หากชำรุดเสียหายควรซ่อมแซมให้ใช้งานได้ตามปกติ แม้จะมีฝนตกแต่ปริมาณและการกระจายยังไม่เพียงพอ ไม้ผลที่อยู่ในระยะเจริญเติบโตทางผล เกษตรกรควรดูแลให้น้ำอย่างเหมาะสม หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้ผลชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ต่อจากนั้นอุณหภูมิจะสูงขึ้นจนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานานและควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่เก็บเกี่ยวมาแล้วหากเปียกฝนมาควรลดความชื้นลงก่อนนำเข้าโรงเก็บ เพื่อป้องกันผลผลิตเน่าเสียหาย ตะวันออก ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 4 เม.ย. มีฝนกับฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ ส่วนมากทางด้านตะวันตกและตอนล่างของภาค เฉียงเหนือ อุณหภูมิต่ำสุด 18 - 25 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม.ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27
องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31 - 37 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรไม่ควรตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจทำให้เปียกชื้นเสียหายได้ รวมทั้งเกษตรกรไม่ควรอยู่กลางแจ้งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฝนฟ้าคะนอง นอกจากนี้ควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เป็นต้น เพื่อลดอัตราการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินรักษาความชื้นภายในดิน สำหรับแดดที่จัดในระยะนี้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งเป็นเวลานานหากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิดเพื่อป้องกันผิวไหม้และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตวควรลดอุณหภูมิในโรงเรือน และเพิ่มปริมาณน้ำกินสำหรับสัตว์ สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรเลือกปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เพื่อลดความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำของพืช กลาง ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 1 เม.ย. มีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 36 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่งในช่วงวันที่ 5 - 6 เม.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรไม่ควรอยู่กลางแจ้งและปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล่งขณะฝนฟ้าคะนอง สำหรับอุณหภูมิที่สูงในระยะนี้ ผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน โดยติดตั้งพัดลมเป่าและดูดอากาศภายในโรงเรือน หรือฉีดน้ำบริเวณหลังคาโรงเรือน หากมีน้ำน้อยควรนำวัสดุอุ้มน้ำชุบน้ำแล้วนำไปไว้ในโรงเรือน และเพิ่มปริมาณน้ำกินสำหรับสัตว์ สำหรับแดดที่จัดในระยะนี้ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งเป็นเวลานานหากมีความจำเป็นต้องทำงานกลางแจ้งควรสวมเสื้อผ้าให้มิดชิด เพื่อป้องกันผิวไหม้และควรดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำ สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรมีน้ำสำรองให้แก่พืชในระยะเจริญเติบโต หากพืชได้รับน้ำไม่เพียงพอจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ หากขาดน้ำจะทำให้ต้นพืชตายสูญเสียผลผลิตโดยสิ้นเชิง ตะวันออก ในช่วงวันที่ 31 มี.ค. - 1 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 35 องศาเซลเซียส ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 2 - 3 เม.ย. อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 30 - 37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้ฝนฟ้าคะนอง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนผู้ที่ปลูกไม้ผล ควรผูกยึดและค้ำยันกิ่งและลำต้นของไม้ผลให้มั่นคงแข็งแรง เพื่อป้องกันกิ่งฉีกหักและต้นโค่นล้มเมื่อมีลมแรง สำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืชทำให้ต้นพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ นอกจากนี้ เกษตรกรควรใช้น้ำอย่างประหยัด โดยให้น้ำพืชแบบมีประสิทธิภาพ และวางแผนการใช้น้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงที่มีฝนตกน้อย ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 1 - 4 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง กับมีลมกระโชกแรงบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 1 - 3 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 5 - 6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 20 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 1 และ 5 - 6 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ ส่วนในช่วงวันที่ 2 - 4 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40 - 60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 28 - 35 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 70-80 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม.
- ระยะนี้จะมีฝนตกหนักถึงหนักมากบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าวสำหรับฝนที่ตกไม่สม่ำเสมอ เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผัก ซึ่งศัตรูพืชดังกล่าวจะกัดกินส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ใบอ่อนและยอดอ่อน ทำให้ต้นพืชชะงักการเจริญเติบโต ผลผลิตลดลง และด้อยคุณภาพ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงไม่ควรปล่อยให้น้ำฝนที่ตกบนดินไหลลงบ่อโดยตรง เพราะจะทำให้สภาพน้ำเปลี่ยน สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน ทำให้อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย แต่ควรเก็บน้ำไว้ในบ่อพักก่อนแล้วค่อยปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยง และหลังจากฝนตกควรเปิดเครื่องตีน้ำ เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนให้กับน้ำ อนึ่ง ระยะนี้คลื่นลมในอ่าวไทยและทะเลอันดามันจะมีกำลังแรง ชาวเรือและชาวประมงควรเดินเรือด้วยความระมัดระวัง AS ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 24 - 30 มีนาคม 2568 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นบริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ โดยมีแนวสอบของลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในวันที่ 26 มี.ค. 68 ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ และมีฝนบางพื้นที่ส่วนมากในระยะปลายสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนส่วนมากในระยะกลางและปลายสัปดาห์ เนื่องจากลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันเกือบตลอดสัปดาห์
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 5-15 ของพื้นที่ ในวันที่ 25 และ 30 มี.ค. 68 กับมีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในช่วงวันที่ 26-27 มี.ค. 68 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในช่วงวันที่ 27-29 มี.ค. 68 โดยมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ ในวันที่ 26 และช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. 68 กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะปลายสัปดาห์ ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 35 ของพื้นที่ ในวันสุดท้ายของสัปดาห์ ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 15 ของพื้นที่ เว้นแต่วันสุดท้ายของสัปดาห์ มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 26 และ 30 มี.ค. 68 ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ส่วนมากทางตอนบนของภาค โดยมีฝนร้อยละ 10-25 ของพื้นที่ ในระยะกลางและปลายสัปดาห์ และมีฝนหนักบางแห่งในช่วงวันที่ 26-29 มี.ค. 68 ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-50 ของพื้นที่ ในวันที่ 26 และช่วงวันที่ 28-30 มี.ค. 68
สัปดาห์ที่ผ่านมามีฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดชัยภูมิ และตราด ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ อุดรธานี หนองบัวลำภู มุกดาหาร ขอนแก่น นครราชสีมา บุรีรัมย์ กรุงเทพมหานคร ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช พัทลุง สงขลา ยะลา และนราธิวาส
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา