พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 11 – 17 เม.ย. 68

ข่าวทั่วไป Friday April 11, 2025 16:21 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 11 ? 17 เม.ย. 68 ฉบับที่ 40/2568 ภาคเหนือ ภาคตะวันออก เฉียงเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออก ภาคใต้ ฝั่งตะวันออก ฝั่งตะวันตก 20-28 27-40 18-28 27-39 22-27 31-41 22-29 29-38 21-27 29-36 22-27 29-36 5-25 10-30 10-25 15-30 15-35 15-30 60-70 60-70 60-70 65-75 75-85 75-85 6-9 6-9 6-9 6-9 5-7 5-8 40-60% ความยาวนานแสงแดด km/hr ความชื้นสัมพัทธ์ % hr. - ดูแลทางระบายน้าให้พร้อมใช้งาน - เลี้ยงสัตว์น้า เปิดเครืองตีน้าหลังฝนตก - ระวัง ศ ตรูพืชจาพวกหนอน - ระวัง อันตรายจากพายุฤดูร้อน - ระวัง สัตว์เลี้ยงได้รับอันตรายจากฟ้าผ่า - ตัดแต่งกิ่งของไม้ผล - ระวัง อันตรายจากพายุฤดูร้อน - ไม่อยู่ในที่โล่งแจ้ง ขณะมีพายุฝนฟ้าคะนอง - เลี้ยงสัตว์น้า เปิดเครื่องตีน้าหลังฝนตก - ระวัง อันตรายจากพายุฤดูร้อน - เสริมความแข็งแรงของค้ายันไม้ผล - ตัดแต่งกิ่งไม้ผลแล้วทาด้วยสารป้องกันเชื้อรา ภาคตะวันออก ภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง 40-60% . กรมอุตุนิยมวิทยา กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร http://www.arcims.tmd.go.th/ 02-399-2387, 02-366-9336 ข่าวพยากรณ์อากาศ เพื่อการเกษตร ระวัง อันตรายจากลมกระโชกแรง 20-60% 10-60% 20-60% 20-60% คาดหมาย ปริมาณฝนสะสม (มม.) ? 12 ? 14 เม.ย. 68 เกษตรกร บริเวณประเทศไทยตอนบน ระวัง อันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตก - ระวัง อันตรายจากพายุฤดูร้อน - เสริมความแข็งแรงของการผูกยึดค้ายันของไม้ผล - หลีกเลี่ยงการทางานบริเวณที่มีแดดจัด เสริมความแข็งแรงของค้ายัน ดูแล ทางระบายน้าให้พร้อมใช้งาน ระวัง อันตรายจากฟ้าผ่า ระวัง ศัตรูพืชจาพวกหนอน หนัก ภาคเหนือ E เปิดเครืองตีน้า หลังฝนตก S หนัก หนัก หนัก กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม ฉบับที่ 44/2568 / พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 11 ? 17 เมษายน พ.ศ. 2568 ออกประกาศวันศุกร์ที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2568 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางจากประเทศจีนจะแผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและทะเลจีนใต้ ส่งผลทำให้มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดนำความชื้นเข้ามาปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณดังกล่าวมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ในระยะแรก ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 เม.ย. 68 บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนในตอนกลางวัน ในขณะที่ลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้ยังคงพัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้ สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 11-13 เม.ย. 68 ลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน และภาคใต้ ทำให้ภาคใต้ฝั่งตะวันตกมีฝนตกหนักบางแห่ง คลื่นลมบริเวณทะเลอันดามันสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อ่าวไทยทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 เม.ย. 68 ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร ทะเลอันดามันมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร คาเตือน ช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. 68 ขอให้ เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบน ระวังอันตรายจากพายุฤดูร้อน โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง รวมทั้งเตรียมการป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดกับพืชผลทางการเกษตรและสัตว์เลี้ยงไว้ด้วย คาแนะนาสาหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย.68 พายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 20-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 เม.ย. 68 อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 21-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-40 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 12?14 เม.ย. 68 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกับความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะไม้ผลที่อยู่ในระยะให้ผลผลิต เกษตรกรควรเสริมความแข็งแรงของการผูกยึดค้ำยันกิ่งและลำต้น เพื่อลดความเสียหายจากลมแรง ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 เม.ย.68 อากาศจะกลับมาร้อนถึงร้อนจัดบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากอากาศที่เปลี่ยนแปลง โดยหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันโรคลมแดด ตะวันออก เฉียงเหนือ ในช่วงวันที่ 12-13 เม.ย. 68 พายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 18-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 27-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-30 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-39 องศาเซลเซียส ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. 2 - ในช่วงวันที่ 12-13 เม.ย. 68 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง ซึ่งอาจทำสร้างความเสียหายต่ออาคารบ้านเรือน สิ่งปลูกสร้างที่ไม่แข็งแรง รวมถึงพืชผลทางการเกษตร เกษตรกรควรระวังอันตรายและเตรียมการป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ไม่ควรปล่อยให้สัตว์เลี้ยงอยู่ในที่โล้งแจ้ง ขณะมีพายุฝนฟ้าคะนอง เพราะสัตว์เลี้ยงอาจได้รับอันตรายจากฟ้าผ่าได้ หลังจากนั้นเกษตรกรควรรีบสำรวจผลผลิตทางการเกษตรกรที่เก็บเกี่ยวมาแล้ว หากเปียกชื้นควรนำไปตากหรืออบให้แห้ง เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา กลาง ในช่วงวันที่ 11?12 เม.ย. 68 ฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง ในช่วงวันที่ 13-14 เม.ย. พายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 31-38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-25 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34-41 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ระยะนี้มีฝน โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 13-14 เม.ย. 68 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้ง ใต้ต้นไม้ใหญ่ สิ่งปลูกสร้างและป้ายโฆษณาที่ไม่แข็งแรง ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำ ควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก หลังจากนั้นเกษตรกรควรรีบสำรวจความเสียหายของผลผลิตและต้นพืช หากมีส่วนที่หักหรือฉีกขาด ควรรีบตัดแต่งกิ่งแล้วทาแผลด้วยสารป้องกันเชื้อรา ตะวันออก ในช่วงวันที่ 12-14 เม.ย. 68 พายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-37 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 15-17 เม.ย. 68 อากาศร้อนทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ อุณหภูมิต่ำสุด 23-29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-38 องศาเซลเซียส ลมใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในช่วงวันที่ 12?14 เม.ย. 68 จะมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง และลูกเห็บตกบางแห่ง เกษตรกรควรระวังอันตรายและป้องกันความเสียหายจากสภาวะดังกล่าว โดยเฉพาะชาวสวนผลไม้ควรเสริมความแข็งแรงของการผูกยึดและค้ำยัน เพื่อลดผลกระทบจากลมแรง หลังจากนั้นควรรีบสำรวจความเสียหายของผลผลิตและต้นพืช หากมีส่วนที่หักฉีกขาดหรือโค่นล้ม ควรรีบตัดแต่งกิ่งหรือต้นที่โค่นล้มออกแล้วทาแผลด้วยสารป้องกันเชื้อรา ใต้ ฝั่งตะวันออก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-13 เม.ย.ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 เม.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-7 ชม. ฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ ตลอดช่วง และมีฝนตกหนักบางแห่ง ในช่วงวันที่ 11-13 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงเหนือ ความเร็ว 15-35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1-2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 14-17 เม.ย. ลมตะวันออก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. 3 - ระยะนี้จะมีฝนฟ้าคะนองกระจาย กับจะมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลปรับปรุงระบบระบายน้ำให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก นอกจากนี้ควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ pk ลักษณะอากาศในรอบ 7 วันที่ผ่านมา ระหว่างวันที่ 4 ? 10 เมษายน 2568 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะต้นและปลายช่วง ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางปกคลุมภาคเหนือตอนบนและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนและทะเลจีนใต้ในระยะกลางช่วง ประกอบกับมีลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนเกือบตลอดช่วง ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในภาคเหนือและภาคกลาง โดยมีฝนตกหลายพื้นที่ส่วนมากในระยะปลายช่วง อีกทั้งมีฝนหนักถึงหนักมาก และมีรายงานลูกเห็บตกบางพื้นที่ สำหรับภาคใต้ได้รับอิทธิพลจากลมตะวันออกกับลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทยและภาคใต้เกือบตลอดช่วง ทำให้มีฝนตกหนาแน่น โดยเฉพาะในระยะปลายช่วงมีฝนหนักถึงหนักมาก ภาคเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปกับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง และมีฝนร้อยละ 5-35 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 6 เม.ย. มีฝนร้อยละ 65 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางพื้นที่ในระยะครึ่งแรกของช่วง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลำพูนในวันที่ 4 และวันที่ 6 เม.ย. จังหวัดเชียงใหม่ และน่าน ในวันที่ 5-6 เม.ย. จังหวัดพะเยา ในวันที่ 5 กับวันที่ 7 เม.ย. จังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 5 กับวันที่ 7-9 เม.ย. จังหวัดลำปาง ในวันที่ 5-7 เม.ย. จังหวัดแพร่ และสุโขทัย ในวันที่ 6 เม.ย. และมีรายงานลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 9 เม.ย. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดช่วง และมีฝนน้อยยกว่าร้อยละ 35 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 9 เม.ย. มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่ง ในระยะกลางและปลายช่วง กับฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 9 เม.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครพนม และบึงกาฬ ในวันที่ 5 เม.ย. จังหวัดเลย ในวันที่ 5-6 วันที่ 8 และวันที่ 10 เม.ย. จังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ 5-7 เม.ย. จังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 5-9 เม.ย. จังหวัดมหาสารคาม และอำนาจเจริญ ในวันที่ 7 เม.ย. จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 8 เม.ย. จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และขอนแก่น ในวันที่ 9 เม.ย. และมีรายงานลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ ในวันที่ 9 เม.ย. ภาคกลาง มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปตลอดช่วง กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 5-6 และวันที่ 8 เม.ย. โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 9 เม.ย. มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 6-7 เม.ย. กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ในวันที่ 9 เม.ย. นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลพบุรี ในวันที่ 7 เม.ย. จังหวัดนครสวรรค์ ในวันที่ 7-8 เม.ย. จังหวัดสิงห์บุรี ในวันที่ 8 เม.ย. ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคเกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-50 ของพื้นที่ และมีฝนหนักบางแห่ง ในวันที่ 7 เม.ย. กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ในระยะปลายช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่เกือบตลอดช่วง โดยมีฝนร้อยละ 5-45 ของพื้นที่ เว้นแต่วันสุดท้ายของช่วง มีฝนร้อยละ 75 ของพื้นที่ และมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่ง ในระยะปลายช่วง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ตลอดช่วง โดยฝนมากกว่าร้อยละ 65 ของพื้นที่ในระยะต้นช่วงและวันที่ 9 เม.ย. ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 50 ของพื้นที่ โดยมีฝนหนักบางแห่งในวันที่ 5 และวันที่ 8-10 เม.ย. กับฝนหนักมากบางแห่ง ในวันที่ 9 เม.ย. ในช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด อุดรธานี สิงห์บุรี สระแก้ว ตราด สุราษฎร์ธานี พัทลุง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนักได้แก่ เชียงใหม่ ลำพูน น่าน กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เลย หนองบัวลำภู สกลนคร ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ยโสธร นครสวรรค์ ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ภูเก็ต กระบี่ และตรัง 4 สาหรับบริเวณที่มีฝนตกหนักและหนักมากที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ ภาคเหนือ 61.7 มม. ที่ อ.เมืองน่าน จ.น่าน เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 68 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 115.0 มม. ที่ อ.ประจักษ์ศิลปาคม จ.อุดรธานี เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 68 ภาคกลาง 90.1 มม. ที่ อ.อินทร์บุรี จ.สิงห์บุรี เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 68 ภาคตะวันออก 140.0 มม. ที่ อ.เกาะช้าง จ.ตราด เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 68 ภาคใต้ 136.0 มม. ที่ อ.เมืองศรีบรรพต จ.พัทลุง เมื่อวันที่ 10 เม.ย. 68 กรุงเทพมหานคร 61.6 มม. ที่ กระทรวงศึกษาธิการ เขตดุสิต เมื่อวันที่ 7 เม.ย. 68 สาหรับบริเวณที่มีอุณหภูมิสูงที่สุดตามภาคต่างๆ และกรุงเทพมหานคร มีดังนี้ ภาคเหนือ 41.0 ? ซ. ที่ อ.เมือง จ.ตาก เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 68 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 39.8 ? ซ. ที่ อำเภอสว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 68 ภาคกลาง 41.5 ? ซ. ที่ ต.บัวชุม อ.ชัยบาดาล จ.ลพบุรี เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 68 ภาคตะวันออก 39.3 ? ซ. ที่ อ.อรัญประเทศ จ.สระแก้ว เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 68 ภาคใต้ 36.7 ? ซ. ที่ กกษ.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ เมื่อวันที่ 9 เม.ย. 68 กรุงเทพมหานคร 37.4 ? ซ. ที่ ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เขตคลองเตย เมื่อวันที่ 6 เม.ย. 68 หมายเหตุ เกณฑ์ปริมาณฝน ฝนเล็กน้อย ฝนปานกลาง ฝนหนัก ฝนหนักมาก ปริมาณฝนที่วัดได้ (มิลลิเมตร) 0.1-10.0 10.1-35.0 35.1- 90.0 มากกว่า 90.0 เกณฑ์อากาศร้อน อากาศร้อน อากาศร้อนจัด อุณหภูมิอากาศ(องศาเซลเซียส) 35.0-35.9 40 ขึ้นไป สอต. หมายถึง สถานีอุตุนิยมวิทยา, กกษ. หมายถึง กลุ่มงานอากาศเกษตร ส่วนอุตุนิยมวิทยาเกษตร กองพัฒนาอุตุนิยมวิทยา กรมอุตุนิยมวิทยา

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ