พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 14 - 20 เมษายน พ.ศ. 2568

ข่าวทั่วไป Monday April 14, 2025 14:39 —กรมอุตุนิยมวิทยา

พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 14 - 20 เมษายน พ.ศ. 2568 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2568 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 45/2568 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 15 - 20 เม.ย. บริเวณความกดอากาศสูงหรือมวลอากาศเย็นกำลังปานกลางที่ปกคลุมภาค/ ตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้มีกำลังอ่อนลง ลักษณะเช่นนี้ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น โดยมีอากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบน ทำให้บริเวณดังกล่าวมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง

สำหรับภาคใต้ ในช่วงวันที่ 14 - 16 เม.ย. ลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทยเริ่มมีกำลังแรงขึ้น ทำให้ภาคใต้มีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่ง บริเวณอ่าวไทยมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 20 เม.ย. ลมตะวันตกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ทำให้ภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คำเตือน ระยะนี้ บริเวณประเทศไทยตอนบน จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกร ควรหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมกลางแจ้งโดยเฉพาะบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อลดผลกระทบที่มีต่อสุขภาพ

          คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 15 - 20 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางแห่ง โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 41 องศาเซลเซียส      ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5 - 15 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 %  ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ในสภาวะอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการเป็นโรคลมแดด นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งมักแพร่ระบาดได้ดีในสภาพอากาศดังกล่าว สำหรับพื้นที่การเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบสำรวจความเสียหายของผลผลิตและต้นพืช หากมีส่วนที่หักฉีกขาดหรือโค่นล้ม ควรรีบตัดแต่งกิ่งหรือต้นที่โค่นล้มออกแล้วทาแผลด้วยสารป้องกันเชื้อรา ตะวันออก ในช่วงวันที่ 15 - 20 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 - 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางเฉียงเหนือ แห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33 - 39 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว          10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 55 - 65 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ในสภาวะอากาศที่ร้อน โดยมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยไฟฝ้ายในแตงโม เพลี้ยไฟพริกในพริกและถั่วลิสง เป็นต้น โดยศัตรูพืชดังกล่าวจะดูดกินน้ำเลี้ยงจากส่วนต่างๆ ของพืชทำให้พืชทรุดโทรม ผลผลิตลดลงและด้อยคุณภาพได้ สำหรับผลผลิตทางการเกษตรที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนในช่วงที่ผ่านมา เกษตรกรควรรีบสำรวจผลผลิต หากเปียกชื้นควรนำไปตากหรืออบให้แห้งก่อนเก็บเข้าโรงเรือน เพื่อป้องกันการเกิดเชื้อรา รวมถึงซ่อมแซมโรงเรือนหรือที่พักของสัตว์เลี้ยงที่อาจเสียหาย กลาง ในช่วงวันที่ 15 - 20 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป และมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 24 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 34 - 41 องศาเซลเซียส         ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10 - 20 กม./ชม. ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ในสภาวะอากาศที่ร้อนถึงร้อนจัด แต่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน หากมีความจำเป็นควรสวมใส่เสื้อผ้าที่สามารถระบายอากาศได้ดีและดื่มน้ำบ่อยๆ เพื่อป้องกันร่างกายขาดน้ำและการเป็นโรคลมแดด ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสภาพโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก และจัดหาน้ำสะอาดให้สัตว์ได้ดื่มกินอย่างเพียงพอ เพื่อป้องกันสัตว์มีความเครียด  สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณมีไม่เพียงต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งควรคลุมดิน เพื่อช่วยชะลอการระเหยของน้ำบริเวณผิวดินและรักษาความชื้นในดินตะวันออก ในช่วงวันที่ 15 - 20 เม.ย. อากาศร้อนทางตอนบนของภาค โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20 - 40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง อุณหภูมิต่ำสุด 23 - 29 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32 - 38 องศาเซลเซียส ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ความชื้นสัมพัทธ์ 60 - 70 % ความยาวนานแสงแดด 6 - 9 ชม. - ในสภาวะอากาศที่ร้อน และมีฝนฟ้าคะนองกับลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดในไม้ผลที่อยู่ในระยะติดผล เช่น เพลี้ยแป้งในเงาะ เป็นต้น ส่วนฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิมเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการชะงักการเจริญเติมโตของพืช ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก สำหรับชาวสวนผลไม้ที่ได้รับผลกระทบจากพายุฤดูร้อนในช่วงที่ผ่านมาควรรีบสำรวจความเสียหาย หากมีส่วนที่หักฉีกขาดหรือโค่นล้ม ควรรีบตัดแต่งกิ่งหรือต้นที่โค่นล้มออกแล้วทาแผลด้วยสารป้องกันเชื้อราใต้ ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 14 - 16 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง     ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15 - 35 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูง 1 - 2 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 20 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง      ลมตะวันตก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 21 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 7 ชม. ฝั่งตะวันตก  ในช่วงวันที่ 15 - 16 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 60 - 70 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง      ลมตะวันออก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 17 - 20 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 - 40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่ง ลมตะวันตก ความเร็ว 15 - 30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 22 - 27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 29 - 36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75 - 85 % ความยาวนานแสงแดด 5 - 7 ชม. -ระยะนี้จะมีฝนเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะระยะแรก และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลปรับปรุงระบบระบายน้ำให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก  ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย สำหรับเกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชตามฤดูกาลควรเตรียมดินให้พร้อม เมื่อมีฝนตกต่อเนื่องและดินมีความชื้นเพียงพอจึงค่อยลงมือเพาะปลูกลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา

ระหว่างวันที่ 7 - 13 เมษายน 2568 หย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ในขณะที่บริเวณความกดอากาศสูงจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน และทะเลจีนใต้ในระยะต้นและปลายสัปดาห์ ประกอบกับลมใต้และลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นเปลี่ยนนลมตะวันตกเฉียงใต้และลมใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะดังกล่าวทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือและภาคกลาง โดยรายงานมีฝนตกและลมกระโชกแรงในหลายพื้นที่ และลูกเห็บตกบางแห่ง สำหรับภาคใต้มีฝนเกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในระยะกลางสัปดาห์มีฝนตกหนาแน่นและมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ จากอิทธิพลของลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามันในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ ส่วนในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์มีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงเหนือพัดปกคลุมทะเลอันดามัน ภาคใต้ และอ่าวไทย

ภาคเหนือ มีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 8 - 9 เม.ย. 68 โดยมีฝนร้อยละ 5-55 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ เว้นแต่วันสุดท้ายของสัปดาห์ มีฝนร้อยละ 80 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักหลายพื้นที่และฝนหนักมากบางแห่ง นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดพะเยากับลำปาง ในวันที่ 7 เม.ย. 68 จังหวัดเพชรบูรณ์ ในช่วงวันที่ 7 - 9 เม.ย. 68 และมีรายงานลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 9 เม.ย. 68 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-35 ของพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ กับมีฝนหนักบางแห่ง เว้นแต่วันที่ 9 เม.ย. 68 มีฝนร้อยละ 90 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดเลย ในวันที่ 8 และวันที่ 10 เม.ย. 68 จังหวัดหนองบัวลำภู และมหาสารคาม ในวันที่ 7 เม.ย. 68 จังหวัดชัยภูมิ ในช่วงวันที่ 7 - 9 เม.ย. 68 จังหวัดอำนาจเจริญ ในวันที่ 7 และ 12 เม.ย. 68 จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 8 และ 12 เม.ย. 68 จังหวัดอุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และขอนแก่น ในวันที่ 9 เม.ย. 68 และมีรายงานลูกเห็บตกบริเวณจังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ และบุรีรัมย์ ในวันที่ 9 เม.ย. 68 ภาคกลาง มีอากาศร้อนทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่ในวันที่ 8 เม.ย. 68 โดยมีฝนน้อยกว่าร้อยละ 40 ของพื้นที่ เว้นแต่วันที่ 9 และ 11 เม.ย. 68 มีฝนร้อยละ 70-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่งเกือบตลอดสัปดาห์ และฝนหนักมากบางพื้นที่ ในวันที่ 9 เม.ย. 68 นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดลพบุรี ในวันที่ 7 เม.ย. 68 จังหวัดนครสวรรค์ ในช่วงงวันที่ 7 - 8 เม.ย. 68 จังหวัดสิงห์บุรี ในวันที่ 8 เม.ย. 68 ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคเกือบตลอดสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 10-55 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนมากในระยะกลางสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีอากาศร้อนหลายพื้นที่โดยมีฝนร้อยละ 40-80 ของพื้นที่ในระยะกลางสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนวันอื่นๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนหลายพื้นที่ ส่วนมากในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 50-90 ของพื้นที่ในระยะกลางสัปดาห์ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่ ส่วนวันอื่นๆ มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 35 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางแห่ง

ในช่วงสัปดาห์ผ่านมา มีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัด สุโขทัย อุดรธานี สิงห์บุรี สระแก้ว จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี พัทลุง และพังงา ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนักได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ แพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร เลย หนองคาย สกลนคร ร้อยเอ็ด มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา บุรีรัมย์ ศรีสะเกษ ยโสธร นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท ลพบุรี สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา นนทบุรี กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี สมุทรปราการ ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพร นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล

ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา


เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ