พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า ระหว่างวันที่ 21 - 27 เมษายน พ.ศ. 2568 ออกประกาศวันจันทร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2568 กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคมฉบับที่ 48/2568 การคาดหมายลักษณะอากาศ ในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. 68 ประเทศไทยตอนบนมีอุณหภูมิสูงขึ้น กับมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนลดลง แต่/ ยังคงมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากความกดอากาศต่ำจากความร้อนปกคลุมประเทศไทยตอนบน ในขณะที่ลมตะวันตกเฉียงใต้ปกคลุมประเทศไทย หลังจากนั้นในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. 68 บริเวณประเทศไทยตอนบนจะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยมีลักษณะของพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ลูกเห็บตก และฝนตกหนักบางแห่ง รวมถึงฟ้าผ่าที่อาจเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากมีแนวพัดสอบของลมตะวันออกเฉียงใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในขณะที่ประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อน
สำหรับภาคใต้ในช่วงวันที่ 21-22 เม.ย. 68 บริเวณภาคใต้มีฝนฟ้าคะนองเกิดขึ้นได้บางพื้นที่ เนื่องจากลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย ภาคใต้ และทะเลอันดามัน ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 เม.ย. 68 ภาคใต้จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางแห่งบริเวณภาคใต้ตอนล่าง สำหรับบริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองในบริเวณอ่าวไทยและทะเลอันดามัน ทะเลมีคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร เนื่องจากลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณทะเลอันดามันและภาคใต้ ประกอบกับมีหย่อมความกดอากาศต่ำปกคลุมบริเวณประเทศมาเลเซียคำเตือน ขอให้เกษตรกรบริเวณประเทศไทยตอนบน ดูแลสุขภาพเนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว โดยหลีกเลี่ยงการทำงานหรือกิจกรรมกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน ส่วนเกษตรกรบริเวณภาคใต้ ขอให้ระวังอันตรายจากสภาวะฝนที่ตกหนักในช่วงวันที่ 23-26 เม.ย.68
คำแนะนำสำหรับการเกษตร ภาค พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตร 7 วันข้างหน้า และผลกระทบต่อพืช/สัตว์ เหนือ ในช่วงวันที่ 21-26 เม.ย. 68 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 5-15 กม./ชม. หลังจากนั้นในวันที่ 27 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 22-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในสภาวะอากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีฝนฟ้าคะนองบางพื้นที่ เกษตรกรควรดูแลสุขภาพ เนื่องจากสภาพอากาศที่ร้อนอบอ้าว โดยหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะฮีทสโตรก สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณมีน้ำและไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรรควรวางแผนการให้น้ำแก่พืชอย่างเหมาะสมรวมทั้งคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืช เพื่อช่วยรักษาความชื้นภายในดิน นอกจากนี้ควรเฝ้าระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไรต่างๆ ซึ่งมักแพร่ระบาดได้ดีในสภาพอากาศดังกล่าว ตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. 68 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมเฉียงเหนือ ตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีพายุฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 23-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 36-41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ในสภาวะอากาศที่ร้อนอบอ้าว และมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันโรคลมแดด สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม เพื่อป้องกันการชะงักการเจริญเติบโตของพืช ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรเน้นการจัดการสภาพโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งเตรียมน้ำสะอาดให้สัตว์ได้ดื่มกินอย่างเพียงพอ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น กลาง ในช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. 68 อากาศร้อนถึงร้อนจัด โดยมีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. อากาศร้อน โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-20 กม./ชม. อุณหภูมิต่ำสุด 25-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 37-41 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 60-70 % ความยาวนานแสงแดด 7-9 ชม. - ระยะนี้จะมีอากาศร้อนถึงร้อนจัด และมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางพื้นที่ เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการทำงานกลางแจ้งบริเวณที่มีแดดจัดเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันความเสี่ยงจากโรคลมแดด ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์ควรดูแลสภาพโรงเรือนให้โปร่งอากาศถ่ายเทได้สะดวก รวมทั้งควรจัดหาน้ำสะอาดให้สัตว์ได้ดื่มกินอย่างเพียงพอ เพื่อลดความเครียดจากความร้อน สำหรับฝนที่ตกในระยะนี้ปริมาณน้อยและไม่เพียงต่อความต้องการของพืช เกษตรกรควรให้น้ำเพิ่มเติมแก่พืชอย่างเหมาะสม รวมทั้งควรคลุมดินบริเวณแปลงปลูกและโคนต้นพืช เพื่อช่วยรักษาความชื้นในดินตะวันออก ช่วงวันที่ 21-25 เม.ย. 68 อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 26-27 เม.ย. อากาศร้อนโดยทั่วไป โดยมีพายุฝนฟ้าคะนอง ร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ กับมีลมกระโชกแรงและลูกเห็บตกบางแห่ง ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นสูงประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 27-28 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 35-38 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-9 ชม. - ในสภาวะอากาศที่ร้อน และมีฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงบางแห่ง เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยและไร เป็นต้น ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ นอกจากนี้เกษตรกรควรสำรวจการผูกยึดค้ำยันของกิ่งและลำต้นของไม้ผล ให้อยู่ในสภาพมั่นคงแข็งแรง เพื่อลดผลกระทบจากสภาวะลมแรง ใต้ ฝั่งตะวันออก ในช่วงวันที่ 21-22 เม.ย. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 10-20 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ส่วนในช่วงวันที่ 23-27 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 20-40 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ในช่วงวันที่ 21-22 และ 26-27 เม.ย. ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ส่วนในช่วงวันที่ 23-25 เม.ย. ลมตะวันตกเฉียงใต้ ความเร็ว 10-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นต่ำกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-27 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 33-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 65-75 % ความยาวนานแสงแดด 6-8 ชม. ฝั่งตะวันตก ในช่วงวันที่ 21-22 เม.ย. 68 มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 30-40 ของพื้นที่ ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ลมตะวันออกเฉียงใต้ ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร ห่างฝั่งคลื่นสูงมากกว่า 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร ในช่วงวันที่ 23-27 เม.ย. มีฝนฟ้าคะนองร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักบางแห่งทางตอนล่างของภาค ลมตะวันตก ความเร็ว 15-30 กม./ชม. ทะเลมีคลื่นประมาณ 1 เมตร บริเวณที่มีฝนฟ้าคะนองคลื่นสูงมากกว่า 2 เมตร อุณหภูมิต่ำสุด 24-26 องศาเซลเซียส อุณหภูมิสูงสุด 32-36 องศาเซลเซียส ความชื้นสัมพัทธ์ 75-85 % ความยาวนานแสงแดด 5-8 ชม. -ในช่วงวันที่23-27 เม.ย. 68 จะมีฝนเพิ่มขึ้น และมีฝนตกหนักบางพื้นที่ เกษตรกรควรระวังอันตรายจากสภาวะดังกล่าว โดยปรับปรุงระบบระบายน้ำในพื้นที่การเกษตรให้พร้อมใช้งาน เพื่อป้องกันน้ำท่วมขังในแปลงปลูก เมื่อมีฝนตกหนัก ส่วนเกษตรกรที่เลี้ยงสัตว์น้ำในบ่อเลี้ยงควรเปิดเครื่องตีน้ำหลังฝนตก เพื่อป้องกันน้ำแยกชั้นและเพิ่มออกซิเจนในน้ำ นอกจากนี้เกษตรกรควรระวังการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดและหนอนในพืชไร่ ไม้ผล และพืชผักต่างๆ ไว้ด้วย ลักษณะอากาศในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา
ระหว่างวันที่ 14 - 20 เมษายน 2568 บริเวณความกดอากาศสูงกำลังปานกลางจากประเทศจีนได้แผ่ลงมาปกคลุมภาคตะวันออกเฉียงเหนือและทะเลจีนใต้ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นได้อ่อนกำลังลง โดยมีหย่อมความกดอากาศต่ำเนื่องจากความร้อนปกคลุมบริเวณประเทศไทยตอนบนในวันที่ 16 เม.ย. 68 และระยะปลายสัปดาห์ ในขณะที่มีลมตะวันออกและลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมประเทศไทยตอนบนในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีลมใต้และลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมบริเวณดังกล่าว ลักษณะเช่นนี้ทำให้บริเวณประเทศไทยตอนบนมีอากาศร้อนเกือบทั่วไปเกือบตลอดสัปดาห์ กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณภาคกลางในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีฝนตกส่วนมากในระยะต้นและกลางสัปดาห์ สำหรับภาคใต้มีฝนหนาแน่นเกือบตลอดสัปดาห์ เนื่องจากมีลมตะวันออกเฉียงใต้พัดปกคลุมอ่าวไทย และภาคใต้ ในระยะครึ่งแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีลมตะวันตกและลมตะวันตกเฉียงใต้พัดปกคลุมทะเลอันดามันและภาคใต้
ภาคเหนือ มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นและมีอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางแห่งในระยะต้นและกลางสัปดาห์ จากนั้นมีฝนลดลงอยู่ในเกณฑ์ร้อยละ 25-30 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักบางพื้นที่ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดตาก ในวันที่ 16 เม.ย. 68 จังหวัดลำปาง ในช่วงวันที่ 16-17 และ 19 เม.ย. 68 จังหวัดเชียงราย ในช่วงวันที่ 16-18 เม.ย. 68 จังหวัดกำแพงเพชร ในวันที่ 17 เม.ย. 68 จังหวัดเชียงใหม่และพะเยา ในวันที่ 18 เม.ย. 68 และจังหวัดเพชรบูรณ์ ในวันที่ 19 เม.ย. 68 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นและอากาศร้อนเกือบทั่วไป โดยมีฝนร้อยละ 15-60 ของพื้นที่ กับมีฝนหนักถึงหนักมากบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดอุดรธานี ในวันที่ 16 เม.ย. 68 จังหวัดเลย ในวันที่ 16-17 เม.ย. 68 จังหวัดชัยภูมิ ในวันที่ 16 และ 18 เม.ย. 68 จังหวัดมหาสารคาม ในวันที่ 16, 18 และ 19 เม.ย. 68 จังหวัดหนองบัวลำภู ในวันที่ 17 เม.ย. 68 จังหวัดยโสธร สกลนคร อำนาจเจริญ นครพนม สุรินทร์ และเลย ในวันที่ 18 เม.ย. 68 จังหวัดกาฬสินธุ์ ในวันที่ 19 เม.ย. 68 จังหวัดหนองคายและอุบลราชธานี ในวันที่ 20 เม.ย. 68 ภาคกลาง มีอากาศร้อนบางพื้นที่ในวันแรกของสัปดาห์ จากนั้นมีอุณหภูมิสูงขึ้นและอากาศร้อนเกือบทั่วไป กับมีอากาศร้อนจัดบางพื้นที่บริเวณจังหวัดลพบุรีในระยะปลายสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 40-75 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันแรกและระยะปลายสัปดาห์ที่มีฝนน้อยกว่าร้อยละ 20 ของพื้นที่ และฝนหนักบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ นอกจากนี้มีรายงานลมกระโชกแรงบริเวณจังหวัดนครสวรรค์และอุทัยธานี ในวันที่ 15 เม.ย. 68 จังหวัดชัยนาท ในวันที่ 16 เม.ย. 68 และจังหวัดสุพรรณบุรี ในช่วงวันที่ 14-18 เม.ย. 68 ภาคตะวันออก มีอากาศร้อนทางตอนบนของภาคในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 60-90 ของพื้นที่ในระยะครึ่งแรกและวันสุดท้ายของสัปดาห์ ส่วนวันอื่น ๆ มีฝนร้อยละ 20-30 ของพื้นที่ และฝนหนักบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ ภาคใต้ฝั่งตะวันออก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ ส่วนมากในระยะครึ่งหลังของสัปดาห์ โดยมีฝนร้อยละ 55-80 ของพื้นที่กับมีฝนหนักบางพื้นที่เกือบตลอดสัปดาห์ โดยเฉพาะในวันที่ 15 เม.ย. 68 มีฝนหนักถึงหนักมากหลายพื้นที่ ภาคใต้ฝั่งตะวันตก มีอากาศร้อนบางพื้นที่ โดยฝนร้อยละ 65-90 ของพื้นที่ เว้นแต่ในวันที่ 14, 17 และ 18 เม.ย. 68
ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานฝนตกหนักมากบริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ สกลนคร บุรีรัมย์ ชุมพร และนครศรีธรรมราช ส่วนบริเวณจังหวัดที่มีฝนตกหนัก ได้แก่ น่าน ตาก พิษณุโลก เลย อุดรธานี นครพนม มุกดาหาร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม ชัยภูมิ นครราชสีมา อำนาจเจริญ นครสวรรค์ อุทัยธานี ลพบุรี สุพรรณบุรี อ่างทอง กรุงเทพมหานคร กาญจนบุรี ราชบุรี ปราจีนบุรี ฉะเชิงเทรา ระยอง จันทบุรี ตราด สุราษฎร์ธานี พัทลุง สงขลา ปัตตานี ยะลา นราธิวาส ระนอง พังงา ภูเก็ต กระบี่ ตรัง และสตูล
ที่มา: กรมอุตุนิยมวิทยา