ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ
ระหว่าง 01 ตุลาคม 2551 - 07 ตุลาคม 2551
ภาคเหนือ
ในวันที่ 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อจากนั้น (2-4ต.ค.)มีฝนลดลงมีฝนเป็นแห่งๆถึงกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค.มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง ระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนสภาพอากาศจะแปรปรวน เกษตรกรจึงควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ป้องกันการเจ็บป่วย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทาน เกษตรกรที่ต้องการปลูกพืชในระยะนี้ควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อย เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะลดลงโดยทั่วไป
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 1-4 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับพื้นที่ซึ่งถูกน้ำท่วม เกษตรกรควรรีบฟื้นฟูสภาพสวน และแหล่งน้ำ เนื่องจากระยะนี้เป็นช่วงปลายฤดูฝนปริมาณและการกระจายของฝนจะเริ่มลดลง เกษตรกรควรวางแผนการใช้น้ำให้มีประสิทธิภาพ เพื่อจะได้มีน้ำใช้ตลอดช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรจัดเตรียมวัสดุกันหนาวและให้ความอบอุ่นแก่ร่างกายตนเองและสัตว์เลี้ยงสำหรับฤดูหนาวที่กำลังจะมาถึง
ภาคกลาง
ในวันที่ 1 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อจากนั้น (2-4ต.ค.)มีฝนลดลงมีฝนกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนัก บางแห่ง สำหรับพื้นที่ซึ่งยังคงมีน้ำท่วม เกษตรกรควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคตาแดง และ น้ำกัดเท้า รวมทั้งรักษาความสะอาดของอาหารและน้ำดื่มเพื่อป้องกันโรคทางเดินอาหาร ส่วนชาวสวนองุ่นควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ซึ่งจะทำให้ต้นทรุดโทรม ผลผลิตเสียหาย
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 1-2 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง ต่อจากนั้น (3-4 ต.ค.) มีฝนกระจาย ส่วนในช่วงวันที่ 5-7 ต.ค. มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป และมีฝนตกหนักบางแห่ง สำหรับพื้นที่การเกษตรซึ่งยังคงมีน้ำท่วม เกษตรกรควรซ่อมแซมฟื้นฟูสภาพอุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้ในการเกษตรเพื่อความปลอดภัยแก่ชีวิตและทรัพย์สิน นอกจากนี้ควรดูแลโรงเรือนเลี้ยงสัตว์อย่าให้ชื้นแฉะ เพื่อป้องกันสัตว์เลี้ยงอ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ทางฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง ตลอดช่วง ส่วนทางฝั่งตะวันตก มีฝนฟ้าคะนองกระจายถึงเกือบทั่วไป ตลอดช่วง สำหรับชาวสวนลองกองควรตัดแต่งกิ่งและใบ รวมทั้งดูแลบริเวณสวนให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความชื้นป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์น้ำควรดูแลสภาพน้ำอย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็วเพราะจะทำให้สัตว์น้ำปรับตัวไม่ทัน อ่อนแอและเป็นโรคได้ง่าย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74
-สส-