พยากรณ์อากาศเพื่อการเกษตรตั้งระหว่าง 04 มกราคม 2553 - 10 มกราคม 2553

ข่าวทั่วไป Monday January 4, 2010 15:19 —กรมอุตุนิยมวิทยา

ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ

ระหว่าง 04 มกราคม 2553 - 10 มกราคม 2553

ภาคเหนือ

มีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในหลายพื้นที่ ทางตอนบนของภาคอากาศหนาว ส่วนทางตอนล่างของภาคอากาศเย็น สำหรับบริเวณยอดดอยอากาศหนาวถึงหนาวจัด และในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย สำหรับบริเวณที่มีหมอกหนาทำให้ทัศนวิสัยในการมองเห็นลดลง เกษตรกรควรใช้รถใช้ถนนด้วยความระมัดระวัง โดยใช้ความเร็วต่ำ และเปิดไฟหน้ารถ ขณะผ่านบริเวณที่มีหมอกหนา นอกจากนี้ชาวสวนลิ้นจี่และลำไย ควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกปากดูดซึ่งจะดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ตาดอกเหี่ยวส่งผลต่อการออกดอกของพืช หากพบศัตรูพืชดังกล่าวควรรีบกำจัดก่อนจะระบาดเป็นบริเวณกว้าง

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

อากาศเย็นกับมีหมอกในตอนเช้า สำหรับบริเวณยอดภู อากาศหนาว และในช่วงวันที่ 6-8 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย เกษตรกรควรหลีกเลี่ยงการตากผลผลิตทางการเกษตรไว้กลางแจ้ง เพราะอาจจะเปียกชื้นเสียหายได้ สำหรับบางพื้นที่ที่ขาดแคลนฝนควรคลุมบริเวณแปลงปลูกพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่นใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อรักษาความชื้นดิน และไม่ควรเผาตอซังข้าว เพระควันไฟจะเป็นอุปสรรคต่อการมองเห็น โดยเฉพาะบริเวณใกล้ถนนหนทาง อาจก่อให้เกิดอุบัติเหตุได้ง่าย

ภาคกลาง

อากาศเย็นทางตอนบนของภาคกับมีหมอกในตอนเช้า และมีหมอกหนาในบางพื้นที่ และในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย สำหรับพื้นที่การเกษตรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรปลูกพืชที่อายุการเก็บเกี่ยวสั้นและใช้น้ำน้อยแทนการปลูกข้าวนาปรัง เพื่อลดความเสี่ยงต่อการขาดแคลนน้ำ ส่วนผู้ที่เลี้ยงสัตว์ควรควบคุมอุณหภูมิภายในโรงเรือน อย่าให้เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว เพราะจะทำให้สัตว์ปรับตัวไม่ทันจนอ่อนแอ และเป็นโรคได้ง่าย

ภาคตะวันออก

อากาศเย็นทางตอนบนของภาคและมีหมอกในตอนเช้ากับมีหมอกหนาในบางพื้นที่ และในช่วงวันที่ 7-8 ม.ค. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย เนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะน้อย เกษตรกรควรวางแผนการจัดการน้ำให้เหมาะสม เพื่อจะได้มีน้ำใช้ทางด้านการเกษตรในช่วงแล้ง นอกจากนี้ควรคลุมบริเวณโคนต้นพืชด้วยวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น ใบไม้ ฟางข้าว และหญ้าแห้ง เพื่อลดการระเหยของน้ำบริเวณผิวดิน

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)

ฝั่งตะวันออกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ส่วนมากทางตอนล่างของภาค ตลอดช่วง ส่วนทางฝั่งตะวันตกมีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ตลอดช่วง สำหรับทางตอนบนของภาคซึ่งมีปริมาณฝนน้อย เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่มีระบบรากสั้นอย่างเหมาะสมเพราะหากขาดน้ำจะทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต ส่งผลให้ผลผลิตเสียหาย ส่วนบริเวณที่มีฝนตกเกษตรกรควรกักเก็บน้ำเอาไว้ใช้ทางด้านการเกษตรเนื่องจากระยะต่อไปปริมาณฝนจะลดลง ในช่วงวันที่ 6-10 ม.ค.คลื่นลมในอ่าวไทยตอนล่างมีกำลังแรงขึ้น ชาวเรือและชาวประมงควรเพิ่มความระมัดระวังในการเดินเรือ

ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)

คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74

-สส-

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ