ผลกระทบของลักษณะอากาศต่อการเกษตรตามภาคต่าง ๆ
ระหว่าง 14 มิถุนายน 2553 - 20 มิถุนายน 2553
ภาคเหนือ
ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ส่วนมากบริเวณตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ในช่วงวันที่ 17-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ระยะนี้สภาพอากาศชื้น เกษตรกรที่เพาะเลี้ยง กล้าไม้และไม้ดอกชนิดต่างๆในโรงเรือนควรดูแลแปลงเพาะปลูกอย่าให้อับชื้น เพื่อป้องกันการระบาดของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ส่วนเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำฝนสำรองไว้ใช้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ส่วนมากบริเวณตอนบนและด้านตะวันตกของภาค ในช่วงวันที่ 17-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ระยะนี้สภาพอากาศยังคงมีความชื้นสูง เกษตรกรที่ปลูก พืชไร่ เช่น ข้าวโพดและถั่วชนิดต่างๆ ควรระวังและป้องกันการระบาดของโรคราน้ำค้าง ซึ่งจะทำให้ ต้นอ่อนชะงักการเจริญเติบโตและตายได้ สำหรับเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำฝนเอาไว้ใช้ในช่วงที่มีฝนลดลง
ภาคกลาง
ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ในช่วงวันที่ 17-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ระยะนี้ฝนที่ตกส่วนใหญ่จะมีปริมาณเล็กน้อยถึงปานกลาง เกษตรกรควรดูแลให้น้ำแก่พืชที่ปลูกโดยเฉพาะพืชที่มีระบบรากตื้นอย่างสม่ำเสมอ สำหรับชาวนาที่ยังไม่ได้เริ่มเพาะปลูกข้าวควรชะลอ ไว้ก่อน เพื่อลดความเสี่ยงการขาดแคลนน้ำในช่วงเจริญเติบโต
ภาคตะวันออก
ในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ในช่วงวันที่ 17-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่งส่วนมากบริเวณชายฝั่ง ในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง ชาวสวนยางพาราและสวนผลไม้ควรดูแลสวนให้โล่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อป้องกันโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราซึ่งมักระบาดในฤดูฝน รวมทั้งควรทำทางระบายน้ำรอบพื้นที่เพาะปลูกเพื่อป้องกันความเสียหายเมื่อมีฝนตกหนัก ส่วนเกษตรกรที่อยู่นอกเขตชลประทานควรกักเก็บน้ำฝนสำรองไว้ใช้
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันออก)
ฝั่งตะวันออกในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองเป็นแห่งๆถึงกระจาย ส่วนมากทางตอนบนของภาค ในช่วงวันที่ 17-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย ส่วนฝั่งตะวันตกในช่วงวันที่ 14-16 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนอง เป็นแห่งๆ ถึงกระจาย ในช่วงวันที่ 17-20 มิ.ย. มีฝนฟ้าคะนองกระจาย และมีฝนตกหนักบางแห่ง เนื่องจากระยะนี้สภาพอากาศมีความชื้นสูง ชาวสวนผลไม้ควรทำความสะอาดบริเวณโคนต้นให้โล่งเตียน รวมทั้งควรระวังและป้องกันการระบาดของศัตรูพืชจำพวกหนอนชนิดต่างๆ ซึ่งจะกัดกินทำให้ผลอ่อนเสียหายได้ รวมทั้งควรขุดลอกคูคลองและเตรียมทำทางระบายน้ำเพื่อป้องกันน้ำท่วมขังโคนต้นพืชเมื่อมีฝนตกหนัก
ภาคใต้ (ฝั่งตะวันตก)
คำพยากรณ์ รวมอยู่ในส่วนของ ภาคใต้(ฝั่งตะวันออก)แล้ว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ กรมอุตุนิยมวิทยา 0-2399-4568-74