บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศผลการจัดอันดับเครดิตให้แก่หุ้นกู้ไม่มีประกันชุดใหม่ในวงเงินไม่เกิน 1,500 ล้าน
บาทของ บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A” พร้อมทั้งคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน
ชุดปัจจุบันของบริษัทที่ระดับ “A” เช่นกัน โดยแนวโน้มอันดับเครดิตยังคง “Stable” หรือ “คงที่” อันดับเครดิตสะท้อนถึงความ
หลากหลายของธุรกิจที่มีแบรนด์สินค้าและบริการเป็นที่ยอมรับซึ่งช่วยเสริมให้บริษัทมีสถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งทั้งในธุรกิจ
โรงแรม ธุรกิจอาหารบริการด่วน และธุรกิจจัดจำหน่ายและรับจ้างผลิตสินค้า นอกจากนี้ยังสะท้อนถึงการมีคณะผู้บริหารที่มีความ
สามารถ การเติบโตของธุรกิจโรงแรมและการบริหารโรงแรมในต่างประเทศ และโอกาสในการขยายธุรกิจอาหารบริการด่วน
ผ่านแฟรนไชส์ทั้งในและต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เอื้อต่อธุรกิจอันเนื่อง
มาจากความไม่มีเสถียรภาพของการเมืองภายในประเทศ รวมทั้งจากลักษณะของธุรกิจโรงแรมที่ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและถูกกระทบจาก
ปัจจัยภายนอกได้ง่าย ตลอดจนลักษณะการแข่งขันที่รุนแรงและอัตรากำไรที่ต่ำของธุรกิจอาหารบริการด่วนและธุรกิจจัดจำหน่าย
บริษัทจะนำเงินที่ได้จากการจำหน่ายหุ้นกู้ชุดใหม่ไปใช้ไถ่ถอนหุ้นกู้ชุดเดิมจำนวน 1,000 ล้านบาทที่จะครบกำหนดในวันที่ 8
ธันวาคม 2553 และส่วนที่เหลือจะนำไปใช้เป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงาน
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” อยู่บนพื้นฐานการคาดการณ์ว่าบริษัทจะสามารถรักษาความแข็งแกร่ง ของกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเอาไว้ได้ ภายใต้สถานการณ์ความไม่แน่นอนในการดำเนินธุรกิจ ทริสเรทติ้งคาดหวังว่า บริษัทจะดำรงสภาพคล่องให้เพียงพอต่อการดำเนินงานและลงทุนในโครงการปัจจุบันด้วยกระแสเงินสดบางส่วน การที่บริษัทมีนโย บายในการเติบโตทั้งตามภาวะปกติของธุรกิจและโดยการซื้อกิจการจะเป็นปัจจัยกำหนดระดับภาระหนี้ของบริษัท ทั้งนี้ หากภาระ หนี้สินของบริษัทเพิ่มอย่างต่อเนื่องและคงอยู่ในระดับที่สูงก็อาจส่งผลกระทบต่อสถานะเครดิตโดยรวมของบริษัทมากขึ้น
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนลก่อตั้งโดย Mr. William Ellwood Heinecke ในปี 2521 เพื่อดำเนินธุรกิจโรงแรมในประเทศไทย ตระกูล Heinecke เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ของบริษัทในสัดส่วน 33% ในช่วงหลายปีที่ ผ่านมาบริษัทมีการขยายกิจการโรงแรมอย่างต่อเนื่องจนถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบการที่มีโรงแรมกระจายตัวมากที่สุดแห่งหนึ่งใน ประเทศไทย โดยมีโรงแรมในกลุ่มทั้งหมดจำนวน 32 แห่งด้วยจำนวนห้องพักรวมทั้งสิ้น 3,655 ห้องซึ่งตั้งอยู่ในกรุงเทพฯ และ สถานที่ท่องเที่ยวชั้นนำทั้งในประเทศไทย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ ศรีลังกา แทนซาเนีย เคนยา สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และ เวียดนาม โรงแรมเหล่านี้บริหารและดำเนินงานภายใต้เครือโรงแรมที่เป็นที่รู้จักทั่วโลก เช่น Mariott และ Four Seasons และภายใต้เครือโรงแรมของบริษัทเองคือ Anantara, Elewana และ Naladhu ธุรกิจอาหารบริการด่วนของกลุ่ม ไมเนอร์ดำเนินการภายใต้การบริหารงานของบริษัทในเครือคือ บริษัท เดอะ ไมเนอร์ ฟู้ด กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) (MFG) ซึ่งก่อ ตั้งในปี 2523 และเป็นผู้ให้บริการธุรกิจอาหารบริการด่วนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย MFG เป็นเจ้าของและผู้ประกอบการอาหาร บริการด่วนแบบแฟรนไชส์ของต่างประเทศมากถึง 4 แบรนด์ ได้แก่ “สเวนเซ่นส์” “ซิซซ์เล่อร์” “แดรี่ ควีน” และ “เบอร์เกอร์ คิง” รวมทั้งยังบริหาร “เดอะ พิซซ่า คอมปะนี” “เดอะค็อฟฟีคลับ” และ “ไทยเอ็กเพรส” ซึ่งเป็นแบรนด์ สินค้าของบริษัทเองด้วย โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 MFG มีร้านอาหารเปิดให้บริการรวม 690 แห่ง ตลอดจนร้านแฟรนไชส์ และแฟรนไชส์ย่อยอีกประมาณ 443 แห่งทั้งในประเทศและต่างประเทศ ในช่วงกลางปี 2552 บริษัทได้ปรับโครงสร้างธุรกิจและ รวมกิจการของ บริษัท ไมเนอร์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) (MINOR) ซึ่งประกอบด้วย แฟชั่น เครื่องสำอาง และโรงงาน รับจ้างผลิตสินค้าเข้ามาอยู่ภายใต้เครือของบริษัท โดยมีแบรนด์สินค้าที่สำคัญ อาทิ Gap, Esprit, Bossini, Red Earth และ Bloom
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 บริษัทมีรายได้ (ไม่รวมเงินปันผลและรายได้อื่น ๆ) 13,116 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 13% เมื่อเทียบกับปีก่อน ซึ่งเป็นผลมาจากการวมรายได้ของ MINOR เข้ามาทั้งไตรมาส ส่วนธุรกิจ โรงแรมและธุรกิจอาหารบริการด่วนมีรายได้เพิ่มขึ้นเล็กน้อยที่ 3% และ 4% ตามลำดับ โดยรายได้หลักมาจากธุรกิจอาหารบริการ ด่วนซึ่งคิดเป็น 56% รองลงมาเป็นธุรกิจโรงแรม 26% และธุรกิจจัดจำหน่ายและรับจ้างผลิต 15% อัตราส่วนกำไรจากการดำเนิน งานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ของบริษัทอยู่ที่ 14.9% ลดลงจาก 17.42% ในช่วง เดียวกันของปีก่อน โดยเป็นผลมาจากอัตรากำไรที่ต่ำของธุรกิจของ MINOR และอัตรากำไรที่ลดลงของธุรกิจโรงแรม โดยกำไร ก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของธุรกิจโรงแรมอยู่ที่ 28% ลดลงจาก 30% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อุตสาหกรรมท่องเที่ยวได้รับผลกระทบอย่างมากจากความไม่สงบทางการเมืองในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 ซึ่งมีผลทำให้นัก ท่องเที่ยวต่างชาติและนักท่องเที่ยวในประเทศลดลง ส่งผลให้อุปสงค์ของการท่องเที่ยวลดลงโดยเฉพาะในกลุ่มของนักท่องเที่ยว ระดับบน ในบรรดาโรงแรมของบริษัททั้งหมด โรงแรมภายใต้แบรนด์ Four Seasons ได้รับผลกระทบมากที่สุด โดยสาขาที่อยู่ใน กรุงเทพฯ ต้องหยุดดำเนินการชั่วคราวเกือบ 1 เดือน อัตราการเข้าพักของโรงแรมภายใต้แบรนด์ Four Seasons ลดลงมาอยู่ ที่ 15% ในไตรมาสที่ 2 ของปี 2553 เทียบกับ 35.7% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวที่ดีของนักท่องเที่ยว ต่างชาติในไตรมาสที่ 1 และ 3 ส่งผลทำให้อัตราการเข้าพักรวมของโรงแรมที่บริษัทเป็นเจ้าของในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 อยู่ที่ 55% เพิ่มขึ้น 2% จากปีก่อน อัตราค่าห้องพักเฉลี่ยต่อคืนลดลงจากปีก่อนเล็กน้อยที่ 2% มาอยู่ที่ 4,716 บาทจากการ แข่งขันด้านราคาที่รุนแรง ส่งผลทำให้รายได้ต่อห้องพักไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก โดยอยู่ที่ 2,590 บาทต่อคืน ในส่วนของธุรกิจ อาหารบริการด่วนและธุรกิจจัดจำหน่ายนั้น อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายอยู่ที่ 15% และ 5% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ตามลำดับ ทั้งนี้ คาดว่าผลการดำเนินงานรวมของบริษัทจะปรับตัวดีขึ้นในไตรมาส 4 ซึ่งเป็นช่วงฤดูกาลสูงสุดสำหรับทุกธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจโรงแรม
ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 ภาระหนี้หลังปรับปรุง (ซึ่งรวมถึงสัญญาเช่าดำเนินงานและภาระผูกพันที่มีต่อบริษัทที่เกี่ยว ข้อง) ของบริษัทอยู่ที่ 15,315 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 2,174 ล้านบาทจาก ณ สิ้นปี 2552 โดยภาระหนี้ที่สูงขึ้นนั้นส่วนหนึ่งเพื่อใช้ใน การก่อสร้างโรงแรมและการลงทุน โดยบริษัทใช้เงินทุนไปแล้วทั้งสิ้น 3,784 ล้านบาทในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ค่าใช้ จ่ายในการก่อสร้างส่วนใหญ่เป็นการก่อสร้างโรงแรมเซ็นต์รีจีสในกรุงเทพฯ และโรงแรมอนันตรา คีฮาวาที่มัลดีฟส์ บริษัทคาดว่า จะใช้เงินลงทุนทั้งสิ้น 6,000 ล้านบาทในปี 2553 บริษัทมีอัตราส่วนหนี้สินต่อทุนหลังการปรับปรุง ณ สิ้นเดือนกันยายน 2553 อยู่ ที่ 54.12% เพิ่มขึ้นจาก 52.16% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2552 อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัด จำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายลดลงเล็กน้อยแต่ยังอยู่ในระดับที่รับได้ที่ 6.89 เท่า ทริสเรทติ้งกล่าว — จบ
อันดับเครดิตองค์กร: คงเดิมที่ A อันดับเครดิตตราสารหนี้: MINT11OA: หุ้นกู้ไม่มีประกัน 1,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2554 คงเดิมที่ A MINT129A: หุ้นกู้ไม่มีประกัน 1,840 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2555 คงเดิมที่ A MINT137A: หุ้นกู้ไม่มีประกัน 2,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2556 คงเดิมที่ A MINT149A: หุ้นกู้ไม่มีประกัน 2,060 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2557 คงเดิมที่ A MINT155A: หุ้นกู้ไม่มีประกัน 2,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2558 คงเดิมที่ A หุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 1,500 ล้านบาท ไถ่ถอนภายในปี 2560 A แนวโน้มอันดับเครดิต: Stable (คงที่)
? บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2553 ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บ ไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่า ในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอ แนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือ ของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะ อื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิ ได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควร ประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิต นี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการ กระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website: http://www.trisrating.com/th/rating_information/rating_criteria.html