ทริสเรทติ้งคงอันดับเครดิตองค์กร “บ. ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี” ที่ระดับ “BBB+” แนวโน้ม “Positive”

ข่าวทั่วไป Thursday December 9, 2010 07:02 —ทริส เรตติ้ง

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศผลการทบทวนอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด

(มหาชน) ที่ระดับ “BBB+” ด้วยแนวโน้ม “Positive” หรือ “บวก” โดยอันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงสถานะทางการตลาดที่

แข็งแกร่งของบริษัทในธุรกิจยางธรรมชาติ ตลอดจนการมีฐานลูกค้าที่กระจายตัว กลยุทธ์ลดความเสี่ยงด้านราคาบางส่วนโดยการ

ทำสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (Hedging) และกำหนดเงื่อนไขการซื้อขายสินค้าในจำนวนและระยะเวลาเดียวกันหรือใกล้เคียงกัน

(Back-to-Back) ความเชี่ยวชาญด้านธุรกิจยางธรรมชาติ และคณะผู้บริหารที่มีความสามารถ ทว่าความแข็งแกร่งดังกล่าวถูกลด

ทอนบางส่วนจากความผันผวนของราคายางธรรมชาติและสภาวะตลาดที่มีการแข่งขันสูง นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงภาระ

หนี้ของบริษัทที่อยู่ในระดับสูงที่แม้จะบรรเทาลงไปบางส่วนจากการมีสินค้าคงคลังที่มีสภาพคล่องและอยู่ในความต้องการของตลาดก็

ตาม

แนวโน้มอันดับเครดิต “Positive” หรือ “บวก” สะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่งและการที่บริษัทมีส่วนแบ่ง ทางการตลาดในตลาดโลกที่สูงขึ้น โดยผลประกอบการของบริษัทได้รับประโยชน์จากราคายางธรรมชาติที่ปรับตัวสูงขึ้นซึ่งเป็นผลมา จากอุปสงค์ที่เพิ่มสูงขึ้นและอุปทานที่ต่ำกว่าอุปสงค์ในช่วงปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ อันดับเครดิตอาจปรับเพิ่มขึ้นหากบริษัทสามารถรักษากำไร และเงินทุนจากการดำเนินงานให้อยู่ในระดับที่สูงเพื่อรองรับความผันผวนของราคายางธรรมชาติ โดยที่โครงสร้างเงินทุนที่แข็ง แกร่งขึ้นจะเป็นปัจจัยบวกต่ออันดับเครดิตของบริษัท

ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรีดำเนินธุรกิจแปรรูปและจำหน่ายยางธรรมชาติโดยมีโรงงานแปร รูป 18 แห่งอยู่ในพื้นที่ภาคใต้และภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศและอีก 2 แห่งอยู่ในประเทศอินโดนีเซีย โดยมีกำลังการ ผลิตทั้งสิ้น 802,964 ตันต่อปี และมีส่วนแบ่งทางการตลาดในตลาดโลกสำหรับช่วง 6 เดือนแรกของปี 2553 อยู่ที่ประมาณ 8.39% ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 8.20% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน โดยมีปริมาณการขายจำนวน 420,766 ตัน ด้วยประสบการณ์ที่ยาวนาน รวมทั้งการมีข้อมูลข่าวสารที่รอบด้านทั้งในส่วนของอุปสงค์และอุปทานยางธรรมชาติทำให้ผู้บริหารรสามารถบริหารกิจการของบริษัท ได้เป็นอย่างดีตลอดวงจรธุรกิจทั้งในช่วงขาขึ้นและขาลงโดยยังคงรักษาสถานะทางการตลาดเอาไว้ได้ บริษัทจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ประมาณ 71% ให้แก่ผู้ประกอบการผลิตยางล้อซึ่ง 9 รายอยู่ในกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ 10 รายของบริษัท แม้ว่ายอดขายของบริษัทจะ กระจุกตัวอยู่ในอุตสาหกรรมเพียงประเภทเดียว แต่บริษัทก็มีฐานลูกค้าที่ค่อนข้างหลากหลายและกระจายตัวอยู่ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่ว โลก นอกจากนี้ บริษัทยังขยายฐานลูกค้าไปสู่ผู้ผลิตยางล้อขนาดกลางและขนาดเล็กด้วย บริษัทมียอดส่งออกคิดเป็น 81% ของยอด ขายในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2553 โดยประมาณ 82% ของการส่งออกเป็นการจำหน่ายสินค้าให้แก่ลูกค้าในประเทศแถบเอเซีย ซึ่งลูกค้าหลักคือประเทศจีน สิงคโปร์ อินเดีย และเกาหลี อีกประมาณ 11% เป็นลูกค้าในประเทศสหรัฐอเมริกา และ 7% เป็น ลูกค้าในแถบยุโรป

ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ปัจจุบันผู้ผลิตยางธรรมชาติรายใหญ่ของโลกประกอบด้วยประเทศไทย อินโดนีเซีย และ มาเลเซีย ผลผลิตโดยรวมจากทั้ง 3 ประเทศคิดเป็น 67% ของผลผลิตทั่วโลกที่มีปริมาณ 9.7 ล้านตันในปี 2552 โดยประเทศ ไทยเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุด ด้วยผลผลิตรวมทั้งสิ้น 3.16 ล้านตัน รองลงมาได้แก่ประเทศอินโดนีเซีย (2.44 ล้านตัน) และ ประเทศมาเลเซีย (0.86 ล้านตัน) ยางธรรมชาติเป็นวัตถุดิบที่ใช้ในอุตสาหกรรมหลากหลายประเภท เช่น ยางล้อสำหรับยาน พาหนะ ถุงมือยาง ถุงยางอนามัย และรองเท้า การบริโภคยางธรรมชาติทั่วโลกมีการเติบโตที่สม่ำเสมอมาโดยตลอดในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา อย่างไรก็ตาม ในปี 2552 การบริโภคยางธรรมชาติลดลงมาอยู่ที่ 9.4 ล้านตัน เทียบกับ 10.2 ล้านตันในปี 2551 โดยปริมาณความต้องการลดลงอย่างมากในไตรมาสที่ 4 ของปี 2551 จากผลของภาวะทรุดตัวของอุตสาหกรรมรถยนต์ซึ่งเกิดจาก ภาวะสินเชื่อที่ตึงตัวและเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว ทั้งนี้ ยอดขายรถยนต์ที่ลดลงอย่างมากมีผลกระทบต่ออุปสงค์ยางล้อเนื่องจากผู้ผลิต ยางล้อเป็นกลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่สุดของอุตสาหกรรมยางธรรมชาติโดยมีปริมาณการใช้คิดเป็นประมาณ 70% ของการผลิตยางทั่ว โลก มีการคาดการณ์ว่าในระยะปานกลางอุปสงค์ของยางธรรมชาติจะยังคงเติบโตจากการขยายตัวของยอดขายรถยนต์ในตลาด เศรษฐกิจเกิดใหม่โดยเฉพาะในประเทศจีนและอินเดีย และภาวะเศรษฐกิจที่ค่อย ๆ ฟื้นตัวในประเทศพัฒนาแล้ว

อุตสาหกรรมยางแปรรูปเป็นอุตสาหกรรมที่มีการใช้แรงงานสูงและมีต้นทุนวัตถุดิบคิดเป็นประมาณถึง 90%-95% ของ ต้นทุนการแปรรูป ผู้ประกอบการมีความเสี่ยงจากความผันผวนของราคายางธรรมชาติเป็นอย่างมากซึ่งส่งผลทำให้กำไรและกระแส เงินสดมีแนวโน้มแปรปรวน เพื่อที่จะลดความเสี่ยงดังกล่าว บริษัทจึงปรับเปลี่ยนนโยบายทางการตลาดโดยใช้กลยุทธ์การซื้อขาย แบบ Back-to-Back และพยายามซื้อขายโดยตรงกับผู้ผลิตสินค้าและเกษตรกร กระนั้นก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงความเสี่ยงด้าน ราคาในช่วงที่ราคายางมีความผันผวนในระดับสูงไปได้

ทริสเรทติ้งกล่าวว่า บริษัทศรีตรังแอโกรอินดัสทรีรายงานผลการดำเนินงานที่น่าพอใจในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 โดยมีรายได้และกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ซึ่งเป็นผลมาจากราคายางธรรมชาติและยอดส่งมอบที่สูงขึ้น โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ราคายางตามมาตรฐานของไทย หรือ STR20 (Standard Thai Rubber 20) โดยเฉลี่ยอยู่ที่ 102.58 บาท/กิโลกรัม เพิ่มขึ้น 61% จากปี 2552 ทั้งนี้ ราคาที่ปรับตัวขึ้นเป็นผลมาจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นและความหวั่นเกรงว่าอุป ทานยางธรรมชาติจะลดลงจากสภาวะอากาศที่ไม่เอื้ออำนวย รวมทั้งจากการแข็งค่าของสกุลเงินของประเทศผู้ส่งออกยาง ธรรมชาติเมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ในด้านการจำหน่ายนั้น ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 บริษัทมียอดขายทั้งสิ้น 633,321 ตัน เพิ่มขึ้น 98,494 ตันจากช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งเป็นผลมาจากอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจากสหรัฐอเมริกา ยุโรป และอุปสงค์ภายใน ประเทศเป็นสำคัญ อัตรากำไรขั้นต้นก่อนค่าเสื่อมราคาอยู่ที่ 4.3% เพิ่มขึ้นจาก 2% ในปี 2552 ผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง รวมทั้งอัตราดอกเบี้ยที่ลดลง และเงินปันผลที่สูงขึ้นจากบริษัทร่วมทำให้เงินทุนจากการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 3,161 ล้านบาท เกือบ 3 เท่าของระดับในปี 2552 อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัด จำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2553 ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ 14.27 เท่าเมื่อเทียบกับ 6.05 เท่าในช่วง เดียวกันของปีก่อน

ณ เดือนกันยายน 2553 ภาระหนี้รวมของบริษัทอยู่ที่ 14,859 ล้านบาท เพิ่มจาก 10,676 ล้านบาท ณ เดือน กันยายน 2552 ซึ่งเป็นผลมาจากปริมาณขายและราคายางที่ปรับเพิ่มขึ้น โดยบริษัทใช้เงินกู้ส่วนใหญ่ไปในการซื้อสินค้าคงคลัง ถึง แม้บริษัทจะมีภาระหนี้สูงขึ้น แต่อัตราส่วนทางการเงินก็ปรับตัวดีขึ้น โดยอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อหนี้สินเพิ่มขึ้นมาอยู่ ที่ 21.27% เทียบกับ -0.21% ในช่วงเดียวกันของปีก่อน ทั้งนี้ คาดว่าในระยะปานกลางภาระหนี้ของบริษัทจะปรับเพิ่มขึ้นจากการ ที่บริษัทมีแผนจะขยายกำลังการผลิตยางแท่งและเพิ่มปริมาณขาย อย่างไรก็ตาม ภาระหนี้ที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้นนั้นอาจไม่สูงมากนัก เนื่องจากบริษัทจะมีเงินเข้ามาจากการเพิ่มทุนโดยบริษัทมีแผนการขายหุ้นเพิ่มทุนจำนวน 280 ล้านหุ้นและนำหุ้นจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์สิงคโปร์ภายในไตรมาสแรกของปี 2554 ทริสเรทติ้งกล่าว — จบ

บริษัท ศรีตรังแอโกรอินดัสทรี จำกัด (มหาชน) (STA)
อันดับเครดิตองค์กร: คงเดิมที่ BBB+
แนวโน้มอันดับเครดิต: Positive (บวก)
? บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2553  ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บ
ไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัด
อันดับเครดิต  ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต
การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับ
ความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้
เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์
เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุ
ประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท
ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริ
สเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิด
ชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะ
ไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการ
จัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน Website:
http://www.trisrating.com/th/rating_information/rating_criteria.html

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ