ทริสเรทติ้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ใหม่ “บ. บ้านปู”พร้อมคงอันดับเครดิตองค์กร & หุ้นกู้ชุดเดิมที่ระดับ “AA-” แนวโน้ม “Stable”

ข่าวทั่วไป Friday March 11, 2011 07:21 —ทริส เรตติ้ง

บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศผลอันดับเครดิตให้แก่หุ้นกู้ไม่มีประกันชุดใหม่ในวงเงินไม่เกิน 15,000 ล้านบาท ของ บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “AA-” พร้อมทั้งประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดปัจจุบันของ บริษัทที่ระดับ “AA-” เช่นกัน โดยแนวโน้มยังคงเป็น “Stable” หรือ “คงที่” ทั้งนี้ บริษัทจะนำเงินส่วนใหญ่ที่ได้จากการออกหุ้น กู้ชุดใหม่ไปใช้ชำระหนี้เงินกู้ที่มีอยู่ อันดับเครดิตสะท้อนความเป็นผู้นำในตลาดถ่านหินในภูมิภาคเอเชีย ตลอดจนความหลากหลาย ของแหล่งถ่านหินและฐานลูกค้า รวมถึงรายได้เงินปันผลที่แน่นอนจากธุรกิจไฟฟ้า อย่างไรก็ตาม ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น ตลอด จนการเปลี่ยนแปลงด้านกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียและจีนซึ่งรวมถึงการต่อใบอนุญาตทำเหมืองยัง เป็นปัจจัยเสี่ยงต่ออันดับเครดิตของบริษัท

แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะดำเนินนโยบายทาง การเงินที่ระมัดระวังเพื่อสร้างการเติบโตตามแผนงาน ทั้งนี้ ราคาถ่านหินที่ยังคงอยู่ในระดับสูงและเงินปันผลที่แน่นอนจากธุรกิจ ไฟฟ้าส่วนหนึ่งจะช่วยชดเชยความเสี่ยงจากต้นทุนการดำเนินงานที่สูงขึ้นและความเสี่ยงด้านการรักษาปริมาณสำรองถ่านหินให้อยู่ใน ระดับที่เหมาะสม

ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทบ้านปูเป็นหนึ่งในผู้ประกอบการธุรกิจพลังงานรายใหญ่ในเอเชียซึ่งก่อตั้งในปี 2526 เพื่อดำเนินธุรกิจผลิตถ่านหินในประเทศไทย บริษัทมีการขยายธุรกิจอย่างต่อเนื่องโดยปัจจุบันมีแหล่งถ่านหินอยู่ในประเทศ อินโดนีเซีย จีน และออสเตรเลีย นอกจากนี้ ยังขยายการลงทุนสู่ธุรกิจไฟฟ้าทั้งในประเทศไทยและจีนด้วย ที่ผ่านมาราคาถ่านหินที่ ปรับเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเพิ่มปริมาณการผลิตส่งผลให้บริษัทมีสัดส่วนกำไรจากธุรกิจถ่านหินเพิ่มขึ้นเป็น 82% ของกำไร ก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่าย (EBITDA) ในปี 2553 จากระดับ 78% ในปี 2551 ในขณะที่กำไร ส่วนที่เหลือซึ่งมาจากธุรกิจไฟฟ้ามีสัดส่วนลดลงเหลือ 18% ในปี 2553 เมื่อพิจารณาในแง่ของการกระจายตัวทางภูมิศาสตร์แล้ว ในปี 2553 EBITDA ในสัดส่วน 66% ของบริษัทมาจากการดำเนินธุรกิจในประเทศอินโดนีเซีย ส่วนที่เหลือ 17% มาจากประเทศ จีน และอีก 16% มาจากประเทศไทย บริษัทจะมีความหลากหลายของพื้นที่ในการดำเนินธุรกิจเพิ่มขึ้นหลังการรับรู้รายได้จากธุรกิจ ถ่านหินในประเทศออสเตรเลียจากการลงทุนใน Centennial Coal Co., Ltd. (CEY) เต็มปีในปี 2554 ปริมาณการผลิต ถ่านหินของกลุ่มบ้านปูในปี 2553 (ไม่รวมประเทศจีน) มีจำนวนทั้งสิ้น 22 ล้านตัน โดยส่วนใหญ่มาจากเหมืองในประเทศ อินโดนีเซีย ราคาถ่านหินที่สูงขึ้นส่งผลให้ปริมาณสำรองถ่านหินของบริษัทในประเทศอินโดนีเซียปรับเพิ่มขึ้นเป็น 329 ล้านตัน อย่าง ไรก็ตาม ระดับการผลิตที่สูงขึ้นทำให้ปริมาณสำรองถ่านหินของบริษัทยังคงรองรับการผลิตใกล้เคียงกับระดับเดิมที่ 13 ปี

ในปี 2553 บริษัทบ้านปูมีกำไรสุทธิสูงถึง 24,728 ล้านบาท โดยส่วนหนึ่งเป็นกำไรจากการขายหุ้นบางส่วนใน PT Indo Tambangraya Megah TBK (ITM) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) (RATCH) หากไม่รวม กำไรจากการขายหุ้นดังกล่าวจำนวน 15,777 ล้านบาทแล้ว กำไรสุทธิของบริษัทจะอยู่ที่ 8,951 ล้านบาท ซึ่งลดลง 37% เมื่อ เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขาย ปรับตัวลดลงเป็น 17.4% ในปี 2553 จาก 31.4% ในปี 2552 จากผลของปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ ราคาน้ำมันดีเซลที่ปรับเพิ่มขึ้น การไม่มีกำไรจากการทำสัญญาซื้อขายถ่านหินล่วงหน้า ตลอดจนต้นทุนการผลิตที่สูงขึ้น และการมีค่าใช้จ่ายตัดจำหน่ายสำหรับ โครงการศึกษาความเป็นไปได้ในการทำเหมืองใต้ดิน Indominco นอกจากนี้ การหยุดผลิตชั่วคราวของเหมือง Jorong ก็เป็น อีกสาเหตุหนึ่งที่ส่งผลให้อัตรากำไรลดลงในปี 2553 ด้วยเช่นกัน ในส่วนของ EBITDA ก็ปรับลดลง 26% เป็น 19,498 ล้านบาท ในปี 2553 ทั้งนี้ คาดว่าราคาถ่านหินที่สูงในปัจจุบัน รวมถึงการรับรู้ผลกำไรจากการดำเนินงานของ CEY จะช่วยสนับสนุนให้ผล ประกอบการของบริษัทปรับตัวดีขึ้น ณ สิ้นเดือนกุมภาพันธ์ 2554 บริษัทมีการกำหนดราคาขายแบบคงที่ในสัดส่วน 40% ของปริมาณ ถ่านหินที่จะขาย ส่วนที่เหลือ 60% กำหนดราคาอ้างอิงแบบลอยตัว ทั้งนี้ ราคาขายถ่านหินที่คาดว่าจะสูงตามความต้องการจาก ประเทศจีนและอินเดียจะส่งผลดีต่อบริษัท

ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ธุรกิจถ่านหินของบริษัทบ้านปูในประเทศจีนชะลอตัวในปี 2553 โดยให้ผลกำไรตามวิธีส่วนได้ เสียเพียง 3,212 ล้านบาทในปี 2553 ลดลง 20% จากปี 2552 แม้ว่าราคาถ่านหินในประเทศจีนยังคงอยู่ในระดับสูงก็ตาม สาเหตุหลักมาจากการที่ใบอนุญาตในการทำเหมือง Daning ซึ่งเป็นเหมืองที่บริษัทถือหุ้น 56% ไม่ได้รับการต่ออายุ แม้บริษัทได้ยื่น ขอต่ออายุใบอนุญาตตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2553 แต่เจ้าหน้าที่ในประเทศจีนก็ออกให้เพียงใบอนุญาตชั่วคราวระหว่างเดือนสิงหาคม- ธันวาคม 2553 เท่านั้น ปัจจุบันเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในประเทศจีนยังคงไม่ออกใบอนุญาตในการทำเหมือง Daning ส่งผลให้เหมือง ดังกล่าวซึ่งปกติผลิตถ่านหินได้ปีละ 4 ล้านตันต้องหยุดการผลิตลงตั้งแต่เดือนมกราคม 2554 อย่างไรก็ตาม เหมือง Gaohe ใน ประเทศจีนจะเริ่มการผลิตได้ในปี 2554 ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดผลกระทบจากการหยุดผลิตถ่านหินที่เหมือง Daning ได้บางส่วน ผลประกอบการของ CEY เป็นไปตามคาด ด้วยปริมาณการผลิตถ่านหิน 3.6 ล้านตันในไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 หลังการซื้อ กิจการเสร็จสิ้นในเดือนตุลาคม 2553 บริษัทรับรู้รายได้จาก CEY จำนวน 6,500 ล้านบาทในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2553 อัตรากำไรขั้นต้นของ CEY อยู่ที่ระดับ 32% และอัตรากำไรสุทธิอยู่ที่ระดับ 10% ซึ่งดีกว่าอัตรากำไรในช่วงปีบัญชี 2553 (สิ้นสุด เดือนมิถุนายน)

ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 ภาระหนี้เงินกู้รวมของบริษัทบ้านปูเพิ่มขึ้นเป็น 90,628 ล้านบาท อัตราส่วนเงินกู้สุทธิต่อ โครงสร้างเงินทุนอยู่ที่ 51.4% ซึ่งสูงกว่านโยบายของบริษัทเล็กน้อย ในอนาคตบริษัทมีแผนการลงทุนระดับปานกลางสำหรับ โครงการที่พัฒนาอยู่ในปัจจุบัน โดยได้จัดงบลงทุนไว้ปีละประมาณ 100-150 ล้านดอลลาร์สหรัฐในระหว่างปี 2554-2556 และ จะลงทุนตามสัดส่วนการถือหุ้นในโครงการหงสาอีกจำนวน 255 ล้านดอลลาร์สหรัฐในระหว่างปี 2557-2558 บริษัทมีแผนการจะ ชำระหนี้เงินกู้และดอกเบี้ยปีละประมาณ 10,000 ล้านบาทซึ่งคาดว่าจะใช้เงินจากกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายของบริษัทที่มีจำนวนประมาณ 25,000 ล้านบาทต่อปี ดังนั้น คาดว่าอัตราส่วนเงินกู้สุทธิต่อโครงสร้างเงินทุนของ บริษัทจะลดลงตามลำดับจากระดับ 51.4% ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2553 -- จบ

บริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) (BANPU)
อันดับเครดิตองค์กร:	                            คงเดิมที่ AA-
อันดับเครดิตตราสารหนี้:
BP125A: หุ้นกู้ไม่มีประกัน 2,000 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2555	คงเดิมที่ AA-
BP145A: หุ้นกู้ไม่มีประกัน 2,200 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2557	คงเดิมที่ AA-
BP15NA: หุ้นกู้ไม่มีประกัน 2,500 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2558 	คงเดิมที่ AA-
BP165A: หุ้นกู้ไม่มีประกัน 2,100 ล้านบาท ไถ่ถอนปี 2559 	คงเดิมที่ AA-
หุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 15,000 ล้านบาท ไถ่ถอนภายในปี 2569	AA-
แนวโน้มอันดับเครดิต:	                            Stable (คงที่)
? บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2554  ห้ามมิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บ
ไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต  ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่า
ในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอ
แนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือ
ของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะ
อื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิ
ได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควร
ประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิต
นี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงไม่รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ
หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่
ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้นผลที่ได้รับหรือการ
กระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว ทั้งนี้ รายละเอียดของวิธีการจัดอันดับเครดิตของ บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด เผยแพร่อยู่บน
Website: http://www.trisrating.com/th/rating_information/rating_criteria.html

เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ ศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ ข้อตกลงการใช้บริการ รับทราบ