บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของธนาคารกรุงศรีอยุธยา จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “A” และคงอันดับเครดิต
หุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารที่ระดับ “A-” พร้อมแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงประโยชน์ในอนาคตที่จะได้จากพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่ของธนาคารคือ บริษัท จี อี แคปปิตอล เอเชีย แปซิฟิค จำกัด (จีอี) โดยผู้บริหารของจีอีมีอำนาจในการบริหารธนาคารอย่างเต็มรูปแบบและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งคาดว่าจะช่วยเสริมสถานภาพทางการเงินและการดำเนินงานของธนาคารให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารยังจะได้รับประโยชน์จากจีอีในการนำระบบบริหารความเสี่ยง การเพิ่มประสิทธิภาพงาน และระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตของธนาคารมาประยุกต์ใช้ และการที่จีอีมีความชำนาญในด้านสินเชื่อรายย่อยก็จะเป็นประโยชน์และเอื้อต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ธนาคารได้เน้นที่ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยมาตั้งแต่ปี 2545 อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากการที่ธนาคารยังมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระดับค่อนข้างสูง การปรับวัฒนธรรมองค์กรในช่วงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน และการแข่งขันที่รุนแรงซึ่งอาจจำกัดการขยายตัวทางธุรกิจและความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงศักยภาพของธนาคารที่จะปรับปรุงสถานะทางการเงินและการดำเนินธุรกิจในระยะปานกลางจากการมีจุดแข็งของจีอีซึ่งได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารความเสี่ยงและการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีซึ่งคาดว่าจะช่วยธนาคารลดความเสี่ยงในอนาคตภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน โดยที่การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรของธนาคารให้เข้ากับจีอีเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรเติบโตต่อไปได้
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ลำดับที่ 6 ของไทยเมื่อพิจารณาจากขนาดของสินทรัพย์ โดยธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดของเงินให้สินเชื่อที่ 9% และเงินฝากที่ 9.5% ผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ณ สิ้นเดือนมกราคม 2550 คือตระกูล
รัตนรักษ์ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วน 32% และจีอีซึ่งถือ 29% ของหุ้นทั้งหมด ธนาคารมีกำไรสุทธิลดลงอย่างมากในปี 2549 เนื่องจากมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมากถึง 11.03 พันล้านบาทเพื่อรองรับมาตรฐานการตั้งสำรองสากล หรือ IAS39 ในปี 2550 ธนาคารจะให้ความสำคัญในการปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าและสร้างเครือข่ายสาขา นอกจากนี้ ธนาคารยังมีภาระในการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมากเพื่อปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ IAS39 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารในปี 2550
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ในระยะสั้น ประโยชน์ที่จะเกิดจากการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับจีอีจะส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของสินเชื่อรายย่อย มูลค่าสิทธิทางการค้า (Franchise Value) และผลตอบแทนของสินเชื่อรายย่อยของธนาคารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากบริษัทจัดการสินทรัพย์อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรและคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร โดยสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 อยู่ที่ 13.53% ปัจจุบันธนาคารมีฐานเงินทุนที่มั่นคงหลังจากที่จีอีได้ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเป็นจำนวน 22.25 พันล้านบาทในเดือนมกราคม 2550 ทำให้ธนาคารมีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มจาก 11.74% ณ สิ้นปี 2549 เป็น 17.42% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 -- จบ
-----------------------------------------------------------------
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2550 ห้ามไม่มิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงมิได้รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้น ผลที่ได้รับ หรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว
หุ้นกู้ด้อยสิทธิของธนาคารที่ระดับ “A-” พร้อมแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงประโยชน์ในอนาคตที่จะได้จากพันธมิตรทางธุรกิจรายใหม่ของธนาคารคือ บริษัท จี อี แคปปิตอล เอเชีย แปซิฟิค จำกัด (จีอี) โดยผู้บริหารของจีอีมีอำนาจในการบริหารธนาคารอย่างเต็มรูปแบบและกำหนดกลยุทธ์ทางธุรกิจซึ่งคาดว่าจะช่วยเสริมสถานภาพทางการเงินและการดำเนินงานของธนาคารให้แข็งแกร่งยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ธนาคารยังจะได้รับประโยชน์จากจีอีในการนำระบบบริหารความเสี่ยง การเพิ่มประสิทธิภาพงาน และระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดีซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการเติบโตของธนาคารมาประยุกต์ใช้ และการที่จีอีมีความชำนาญในด้านสินเชื่อรายย่อยก็จะเป็นประโยชน์และเอื้อต่อกลยุทธ์ทางธุรกิจที่ธนาคารได้เน้นที่ธุรกิจสินเชื่อรายย่อยมาตั้งแต่ปี 2545 อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากการที่ธนาคารยังมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ในระดับค่อนข้างสูง การปรับวัฒนธรรมองค์กรในช่วงการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน และการแข่งขันที่รุนแรงซึ่งอาจจำกัดการขยายตัวทางธุรกิจและความสามารถในการทำกำไรของธนาคาร
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable” หรือ “คงที่” สะท้อนถึงศักยภาพของธนาคารที่จะปรับปรุงสถานะทางการเงินและการดำเนินธุรกิจในระยะปานกลางจากการมีจุดแข็งของจีอีซึ่งได้แก่ การเพิ่มประสิทธิภาพระบบบริหารความเสี่ยงและการควบคุมคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีซึ่งคาดว่าจะช่วยธนาคารลดความเสี่ยงในอนาคตภายใต้ภาวะเศรษฐกิจที่ชะลอตัวในปัจจุบัน โดยที่การปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมองค์กรของธนาคารให้เข้ากับจีอีเป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้องค์กรเติบโตต่อไปได้
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ธนาคารกรุงศรีอยุธยาเป็นธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ลำดับที่ 6 ของไทยเมื่อพิจารณาจากขนาดของสินทรัพย์ โดยธนาคารมีส่วนแบ่งทางการตลาดของเงินให้สินเชื่อที่ 9% และเงินฝากที่ 9.5% ผู้ถือหุ้นใหญ่ของธนาคาร ณ สิ้นเดือนมกราคม 2550 คือตระกูล
รัตนรักษ์ซึ่งถือหุ้นในสัดส่วน 32% และจีอีซึ่งถือ 29% ของหุ้นทั้งหมด ธนาคารมีกำไรสุทธิลดลงอย่างมากในปี 2549 เนื่องจากมีการตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมากถึง 11.03 พันล้านบาทเพื่อรองรับมาตรฐานการตั้งสำรองสากล หรือ IAS39 ในปี 2550 ธนาคารจะให้ความสำคัญในการปรับปรุงระบบข้อมูลสารสนเทศต่างๆ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการลูกค้าและสร้างเครือข่ายสาขา นอกจากนี้ ธนาคารยังมีภาระในการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญเป็นจำนวนมากเพื่อปฎิบัติตามหลักเกณฑ์ IAS39 ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของธนาคารในปี 2550
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ในระยะสั้น ประโยชน์ที่จะเกิดจากการเป็นพันธมิตรทางธุรกิจกับจีอีจะส่งผลให้ส่วนแบ่งการตลาดของสินเชื่อรายย่อย มูลค่าสิทธิทางการค้า (Franchise Value) และผลตอบแทนของสินเชื่อรายย่อยของธนาคารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ธนาคารมีสินทรัพย์ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากบริษัทจัดการสินทรัพย์อยู่ในระดับสูง ซึ่งเป็นปัจจัยลบที่มีผลต่อความสามารถในการทำกำไรและคุณภาพสินทรัพย์ของธนาคาร โดยสัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ของธนาคาร ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549 อยู่ที่ 13.53% ปัจจุบันธนาคารมีฐานเงินทุนที่มั่นคงหลังจากที่จีอีได้ซื้อหุ้นสามัญเพิ่มทุนเป็นจำนวน 22.25 พันล้านบาทในเดือนมกราคม 2550 ทำให้ธนาคารมีสัดส่วนเงินกองทุนต่อสินทรัพย์เสี่ยงเพิ่มจาก 11.74% ณ สิ้นปี 2549 เป็น 17.42% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2550 -- จบ
-----------------------------------------------------------------
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2550 ห้ามไม่มิให้บุคคลใด ใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงมิได้รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้น ผลที่ได้รับ หรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว