บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกัน (LALI077A และ LALI078A) ของ บริษัท ลลิล พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "BBB+" พร้อมแนวโน้ม "Stable" หรือ "คงที่" โดยอันดับเครดิตสะท้อนชื่อเสียงและประสบการณ์ของบริษัทในธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ประเภทที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ระดับปานกลาง ตลอดจนความสามารถในการควบคุมต้นทุนการดำเนินงาน และความเข้มแข็งทางการเงินของบริษัท อย่างไรก็ตาม ปัจจัยบวกดังกล่าวถูกลดทอนลงบางส่วนจากโครงสร้างการบริหารงานที่เน้นพึ่งพิงตัวบุคคลซึ่งเป็นเจ้าของกิจการ รวมทั้งความต้องการที่อยู่อาศัยที่ชะลอตัวลงจากผลของความเชื่อมั่นต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของประเทศที่ลดลง และอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้น นอกจากนี้ ยังคาดว่าราคาวัสดุก่อสร้างและน้ำมันเชื้อเพลิงที่เพิ่มขึ้นน่าจะส่งผลกระทบต่ออัตรากำไรของผู้ประกอบการ
ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนถึงความคาดหวังว่าบริษัทจะรักษาความสามารถในการขายและคงอัตรากำไรเอาไว้ได้แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ บริษัทน่าจะยังคงมีสภาพคล่องที่ดีและสามารถรักษาระดับการก่อหนี้ให้อยู่ในระดับต่ำในขณะที่มีการขยายธุรกิจ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เป็นผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดกลางซึ่งเน้นพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ระดับปานกลางด้วยราคาบ้านเดี่ยวที่ประมาณหลังละ 2-6 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทมีกลยุทธ์ในการเสนอขายบ้านในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งที่มีโครงการอยู่ในทำเลใกล้กันซึ่งทำให้บ้านจัดสรรของบริษัทมีความน่าสนใจ ความสามารถของบริษัทในการควบคุมต้นทุนค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการบริหารและการขาย รวมถึงกลยุทธ์เร่งสร้างบ้านในต้นทุนเดิมของปี 2547 ทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในด้านต้นทุน ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 บริษัทมียอดโอนบ้านประมาณ 500 หลัง เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รายได้จากการขายบ้านของบริษัทในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีมูลค่า 1,305 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% จากยอดขายในช่วงเดียวกันของปี 2547 ยอดขายรวมในปี 2547 มีมูลค่า 2,335 ล้านบาท ลดลงจาก 3,130 ล้านบาทในปี 2546 ถึงแม้ว่ายอดขายบ้านในปี 2547 จะต่ำกว่าที่คาดไว้ แต่บริษัทก็ยังคงรักษาอัตรากำไรขั้นต้นในระดับสูงที่ 45.1% ในปี 2547 และที่ 44.9% สำหรับช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 หนี้สินรวมของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 987 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 เป็น 1,228 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า การแข่งขันในธุรกิจบ้านจัดสรรในปี 2548 และปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากยังคงมีจำนวนบ้านจัดสรรเสนอขายเพิ่มขึ้นในขณะที่อุปสงค์มีแนวโน้มชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2547 ทั้งนี้ ราคาวัสดุก่อสร้างและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นน่าจะส่งผลทำให้กำไรของผู้ประกอบการลดลง ในขณะเดียวกันเกณฑ์การปล่อยกู้ที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์จะเป็นปัจจัยจำกัดการขยายตัวของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อุปสงค์ของบ้านชะลอตัวลง -- จบ
ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนถึงความคาดหวังว่าบริษัทจะรักษาความสามารถในการขายและคงอัตรากำไรเอาไว้ได้แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากต้นทุนค่าวัสดุก่อสร้างที่ปรับตัวสูงขึ้น นอกจากนี้ บริษัทน่าจะยังคงมีสภาพคล่องที่ดีและสามารถรักษาระดับการก่อหนี้ให้อยู่ในระดับต่ำในขณะที่มีการขยายธุรกิจ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทลลิล พร็อพเพอร์ตี้ เป็นผู้ประกอบการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ขนาดกลางซึ่งเน้นพัฒนาที่อยู่อาศัยสำหรับผู้มีรายได้ระดับปานกลางด้วยราคาบ้านเดี่ยวที่ประมาณหลังละ 2-6 ล้านบาท ทั้งนี้ บริษัทมีกลยุทธ์ในการเสนอขายบ้านในราคาที่ต่ำกว่าคู่แข่งที่มีโครงการอยู่ในทำเลใกล้กันซึ่งทำให้บ้านจัดสรรของบริษัทมีความน่าสนใจ ความสามารถของบริษัทในการควบคุมต้นทุนค่าก่อสร้างและค่าใช้จ่ายในการบริหารและการขาย รวมถึงกลยุทธ์เร่งสร้างบ้านในต้นทุนเดิมของปี 2547 ทำให้บริษัทมีความได้เปรียบในด้านต้นทุน ในช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 บริษัทมียอดโอนบ้านประมาณ 500 หลัง เพิ่มขึ้น 12% เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา รายได้จากการขายบ้านของบริษัทในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 มีมูลค่า 1,305 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% จากยอดขายในช่วงเดียวกันของปี 2547 ยอดขายรวมในปี 2547 มีมูลค่า 2,335 ล้านบาท ลดลงจาก 3,130 ล้านบาทในปี 2546 ถึงแม้ว่ายอดขายบ้านในปี 2547 จะต่ำกว่าที่คาดไว้ แต่บริษัทก็ยังคงรักษาอัตรากำไรขั้นต้นในระดับสูงที่ 45.1% ในปี 2547 และที่ 44.9% สำหรับช่วง 6 เดือนแรกของปี 2548 หนี้สินรวมของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 987 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2547 เป็น 1,228 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมิถุนายน 2548
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า การแข่งขันในธุรกิจบ้านจัดสรรในปี 2548 และปี 2549 คาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นเนื่องจากยังคงมีจำนวนบ้านจัดสรรเสนอขายเพิ่มขึ้นในขณะที่อุปสงค์มีแนวโน้มชะลอตัวลงเมื่อเทียบกับปี 2547 ทั้งนี้ ราคาวัสดุก่อสร้างและอัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มสูงขึ้นน่าจะส่งผลทำให้กำไรของผู้ประกอบการลดลง ในขณะเดียวกันเกณฑ์การปล่อยกู้ที่เข้มงวดเพิ่มขึ้นของธนาคารพาณิชย์จะเป็นปัจจัยจำกัดการขยายตัวของอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้นจะทำให้อุปสงค์ของบ้านชะลอตัวลง -- จบ