บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ยืนยันอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันมูลค่า 2,500 ล้านบาท และ 500 ล้านบาท ของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "A-" คงเดิม ซึ่งสะท้อนการเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญของปริมาณสำรองถ่านหิน สถานะผู้นำในธุรกิจถ่านหินในประเทศ ทีมผู้บริหารที่มีความเชี่ยวชาญ และการกระจายความเสี่ยงในการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้าของบริษัท อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนลงบางส่วนจากการที่บริษัทมีเงินลงทุนและการผลิตถ่านหินส่วนใหญ่อยู่ในประเทศอินโดนีเซียซึ่งเสถียรภาพทางการเมืองไม่แน่นอน รวมทั้งภาวะการแข่งขันที่ค่อนข้างรุนแรงในตลาดถ่านหินในภูมิภาคเอเซีย
ทริสรายงานว่า บ้านปูเริ่มธุรกิจถ่านหินในปี 2526 โดยกลุ่มตระกูลว่องกุศลกิจและตระกูลเอื้ออภิญญกุล และยังคงรักษาความเป็นผู้นำในตลาดถ่านหินในประเทศ ในปี 2544 บริษัทมีส่วนแบ่งตลาด 40% ของตลาดรวมของธุรกิจถ่านหินภาคเอกชนในประเทศ ด้วยประสบการณ์ 20 ปีในธุรกิจถ่านหินทำให้บริษัทมีทีมผู้บริหารที่เชี่ยวชาญซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจถ่านหินในต่างประเทศได้ โดยได้เริ่มดำเนินงานเหมืองถ่านหินที่ Jorong ในประเทศอินโดนีเซียตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2541 บริษัทมีปริมาณสำรองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในเดือนมีนาคม 2545 หลังจากบริษัทได้แปลงสภาพเงินให้กู้ยืมแก่ PT Sigma Buana Cemerlang (SBC) จำนวน 9.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นหุ้นสามัญของ PT Centralink Wisesa International (Centralink) โดยคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 95% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ Centralink และทำให้บริษัทสามารถควบคุมและบริหารเหมืองถ่านหินซึ่งมีปริมาณสำรองประมาณ 176 ล้านตันที่เรียกรวมว่า "Indocoal" รวมทั้งทำให้บริษัทมีปริมาณการผลิตถ่านหินในอินโดนีเซียประมาณ 11% ของปริมาณการผลิตรวมทั้งหมดในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นอันดับห้าของผู้ผลิตถ่านหินในประเทศดังกล่าว นอกจากนี้ การมีถ่านหินที่มีคุณภาพหลากหลายจากแหล่งที่แตกต่างกันยังมีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดถ่านหินในต่างประเทศให้แก่บริษัท หลังจากที่รวมการดำเนินงานของ Indocoal แล้ว ทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 8.7 ล้านตันเป็น 15.5 ล้านตันต่อปี และมีปริมาณสำรองถ่านหินเพิ่มขึ้นจาก 79 ล้านตันเป็น 255 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทมีเงินลงทุนและการผลิตถ่านหินส่วนใหญ่ในอินโดนีเซีย ทำให้บริษัทต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางการเมืองในประเทศดังกล่าว และยังทำให้สัดส่วนโครงสร้างเงินทุนของบริษัทมีสัดส่วนหนี้สูงขึ้นด้วย
ทริสกล่าวว่า การแข่งขันในตลาดถ่านหินในต่างประเทศระหว่างผู้ผลิตรายใหญ่ระดับภูมิภาคค่อนข้างรุนแรง ในปี 2544 ปริมาณการผลิตถ่านหินในอินโดนีเซียประมาณ 70% มาจากผู้ผลิตรายใหญ่ 5 ราย นอกจากนี้ ประเทศจีนยังมีการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 46% และ 58% ในปี 2543 และ 2544 ตามลำดับ
บ้านปูเริ่มขยายตัวสู่ธุรกิจไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2536 โดยได้เข้าร่วมพัฒนาในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ไอพีพี) 2 โครงการ ซึ่งมีกำลังการผลิตรวม 2,047 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าแบบ Gas-fired Combined Cycle ขนาด 700 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าแบบ Coal-fired ขนาด 1,347 เมกะวัตต์ โครงการดังกล่าวดำเนินงานภายใต้บริษัทร่วมทุน คือ บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด และบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด ตามลำดับ ณ เดือนมีนาคม 2545 บริษัทยังได้ถือหุ้น 14.99% ในบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะสร้างกระแสเงินที่สม่ำเสมอให้แก่บริษัทในอนาคต อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีแผนลงทุนซื้อโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิตขนาด 108 เมกะวัตต์จากบริษัท ระยองเอ็นเนอยี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทริสรายงานว่า อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก32.2% ในปี 2543 เป็น 35.4% ในช่วงกรกฎาคม-ธันวาคม 2544 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาถ่านหินในตลาดโลก อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่าย และอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2544 เท่ากับ 5.2 เท่า และ 7.2% (ยังไม่ได้ปรับอัตราส่วนให้เป็นตัวเลขเต็มปี) ตามลำดับ ส่วนอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนสูงขึ้นจาก 49.5% ในเดือนมิถุนายน 2543 เป็น 54.4% ในเดือนธันวาคม 2544 ตามการขยายการลงทุนในธุรกิจถ่านหินในอินโดนีเซีย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% ณ สิ้นปี 2545 หลังจากรวมโครงสร้างเงินทุนของ Indocoal แล้ว -- จบ
ทริสรายงานว่า บ้านปูเริ่มธุรกิจถ่านหินในปี 2526 โดยกลุ่มตระกูลว่องกุศลกิจและตระกูลเอื้ออภิญญกุล และยังคงรักษาความเป็นผู้นำในตลาดถ่านหินในประเทศ ในปี 2544 บริษัทมีส่วนแบ่งตลาด 40% ของตลาดรวมของธุรกิจถ่านหินภาคเอกชนในประเทศ ด้วยประสบการณ์ 20 ปีในธุรกิจถ่านหินทำให้บริษัทมีทีมผู้บริหารที่เชี่ยวชาญซึ่งช่วยให้บริษัทสามารถดำเนินธุรกิจถ่านหินในต่างประเทศได้ โดยได้เริ่มดำเนินงานเหมืองถ่านหินที่ Jorong ในประเทศอินโดนีเซียตั้งแต่เดือนสิงหาคม 2541 บริษัทมีปริมาณสำรองถ่านหินในประเทศอินโดนีเซียเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในเดือนมีนาคม 2545 หลังจากบริษัทได้แปลงสภาพเงินให้กู้ยืมแก่ PT Sigma Buana Cemerlang (SBC) จำนวน 9.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐเป็นหุ้นสามัญของ PT Centralink Wisesa International (Centralink) โดยคิดเป็นสัดส่วนการถือหุ้น 95% ของจำนวนหุ้นทั้งหมดของ Centralink และทำให้บริษัทสามารถควบคุมและบริหารเหมืองถ่านหินซึ่งมีปริมาณสำรองประมาณ 176 ล้านตันที่เรียกรวมว่า "Indocoal" รวมทั้งทำให้บริษัทมีปริมาณการผลิตถ่านหินในอินโดนีเซียประมาณ 11% ของปริมาณการผลิตรวมทั้งหมดในอินโดนีเซีย ซึ่งเป็นอันดับห้าของผู้ผลิตถ่านหินในประเทศดังกล่าว นอกจากนี้ การมีถ่านหินที่มีคุณภาพหลากหลายจากแหล่งที่แตกต่างกันยังมีส่วนช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันในตลาดถ่านหินในต่างประเทศให้แก่บริษัท หลังจากที่รวมการดำเนินงานของ Indocoal แล้ว ทำให้บริษัทมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นจาก 8.7 ล้านตันเป็น 15.5 ล้านตันต่อปี และมีปริมาณสำรองถ่านหินเพิ่มขึ้นจาก 79 ล้านตันเป็น 255 ล้านตัน อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทมีเงินลงทุนและการผลิตถ่านหินส่วนใหญ่ในอินโดนีเซีย ทำให้บริษัทต้องเผชิญกับความเสี่ยงทางการเมืองในประเทศดังกล่าว และยังทำให้สัดส่วนโครงสร้างเงินทุนของบริษัทมีสัดส่วนหนี้สูงขึ้นด้วย
ทริสกล่าวว่า การแข่งขันในตลาดถ่านหินในต่างประเทศระหว่างผู้ผลิตรายใหญ่ระดับภูมิภาคค่อนข้างรุนแรง ในปี 2544 ปริมาณการผลิตถ่านหินในอินโดนีเซียประมาณ 70% มาจากผู้ผลิตรายใหญ่ 5 ราย นอกจากนี้ ประเทศจีนยังมีการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น 46% และ 58% ในปี 2543 และ 2544 ตามลำดับ
บ้านปูเริ่มขยายตัวสู่ธุรกิจไฟฟ้าตั้งแต่ปี 2536 โดยได้เข้าร่วมพัฒนาในโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าอิสระ (ไอพีพี) 2 โครงการ ซึ่งมีกำลังการผลิตรวม 2,047 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าแบบ Gas-fired Combined Cycle ขนาด 700 เมกะวัตต์ และโรงไฟฟ้าแบบ Coal-fired ขนาด 1,347 เมกะวัตต์ โครงการดังกล่าวดำเนินงานภายใต้บริษัทร่วมทุน คือ บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด และบริษัท บีแอลซีพี เพาเวอร์ จำกัด ตามลำดับ ณ เดือนมีนาคม 2545 บริษัทยังได้ถือหุ้น 14.99% ในบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะสร้างกระแสเงินที่สม่ำเสมอให้แก่บริษัทในอนาคต อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมีแผนลงทุนซื้อโรงไฟฟ้าถ่านหินกำลังการผลิตขนาด 108 เมกะวัตต์จากบริษัท ระยองเอ็นเนอยี่ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัท อุตสาหกรรมปิโตรเคมีกัลไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะส่งผลให้สัดส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
ทริสรายงานว่า อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนหักค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อยอดขายของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก32.2% ในปี 2543 เป็น 35.4% ในช่วงกรกฎาคม-ธันวาคม 2544 ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มขึ้นของราคาถ่านหินในตลาดโลก อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่าย และอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมในช่วงเดือนกรกฎาคม-ธันวาคม 2544 เท่ากับ 5.2 เท่า และ 7.2% (ยังไม่ได้ปรับอัตราส่วนให้เป็นตัวเลขเต็มปี) ตามลำดับ ส่วนอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนสูงขึ้นจาก 49.5% ในเดือนมิถุนายน 2543 เป็น 54.4% ในเดือนธันวาคม 2544 ตามการขยายการลงทุนในธุรกิจถ่านหินในอินโดนีเซีย และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 60% ณ สิ้นปี 2545 หลังจากรวมโครงสร้างเงินทุนของ Indocoal แล้ว -- จบ