"ทริสเรทติ้ง" จัดอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ "รอยัลการ์เด้น รีซอร์ท" ระดับ "A-"
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน 1,200 ล้านบาทของบริษัท รอยัลการ์เด้น รีซอร์ท จำกัด (มหาชน) ในระดับ "A-" เท่ากัน ซึ่งสะท้อนความแข็งแกร่งของทีมบริหาร การมีโรงแรมระดับคุณภาพที่กระจายตัวในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญภายในประเทศ รวมถึงปัจจัยเสริมสำคัญ คือ แนวโน้มที่ดีของอุตสาหกรรมโรงแรมอันเนื่องมาจากการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวและการที่บริษัทสามารถดำรงอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญๆ ได้ค่อนข้างคงที่ ในการให้อันดับเครดิตดังกล่าว ทริสเรทติ้งยังคำนึงถึงการเพิ่มทุนของบริษัทที่จะเกิดขึ้นด้วย ส่วนปัจจัยที่ลดทอนความแข็งแกร่ง คือ การแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจโรงแรมเพราะอัตราการเข้าพักที่ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ส่วนอันดับเครดิตของหุ้นกู้ที่บริษัทจะเสนอขายนั้นอยู่บนพื้นฐานที่บริษัทจะไม่มีหนี้ที่มีประกันรวมกันเกินกว่า 20% ของทรัพย์สินของบริษัท
"ทริสเรทติ้ง" รายงานว่า "บริษัทรอยัลการ์เด้น รีซอร์ท" ก่อตั้งในปี 2521 โดย Mr. William Ellwood Heinecke จากการซื้อโรงแรมที่พัทยา ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาบริษัทได้ขยายกิจการอย่างมาก ปัจจุบันถือได้ว่าบริษัทเป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่กระจายตัวกว้างขวางที่สุดแห่งหนึ่งของไทย โดยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโรงแรมระดับบน 7 แห่ง ด้วยห้องพักรวมทั้งสิ้น 1,573 ห้อง ซึ่งกระจายตัวอยู่ในกรุงเทพฯ หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย และภูเก็ต โรงแรมทั้งหมดตั้งอยู่ในทำเลที่ดี รวมทั้งมีการบำรุงรักษาและตกแต่งตามมาตรฐานสากล แม้บริษัทจะมีรายได้หลักจากโรงแรมกรุงเทพฯ แมริออท รีซอร์ท แอนด์ สปา ในสัดส่วนถึง 37% ของรายได้จากกิจการโรงแรมของกลุ่มในปี 2544 แต่ยังถือได้ว่าบริษัทได้รับการป้องกันความเสี่ยงดีกว่าบริษัทอื่นที่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของโรงแรมเพียง 1 หรือ 2 แห่ง บริษัทมีนโยบายที่จะขยายกิจการโดยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโรงแรมที่ยังมิได้ถูกถือหุ้น 100% รวมทั้งการพัฒนาโรงแรมใหม่ และการซื้อกิจการโรงแรมสี่ดาวหรือห้าดาวในประเทศ ทีมบริหารโรงแรมของบริษัทล้วนมีประสบการณ์ในธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยและเคยร่วมงานกับเครือข่ายของโรงแรมต่างประเทศ ก่อนปี 2544 มีเฉพาะโรงแรมกรุงเทพฯ แมริออท รีซอร์ท แอนด์ สปา เท่านั้นที่ใช้แฟรนไชส์ (Franchise) ของ Marriott แต่เนื่องจากการใช้แฟรนไชส์ของเครือข่ายโรงแรมระดับโลกมีความสำคัญยิ่งขึ้นในการดำเนินธุรกิจโรงแรม จึงทำให้ผู้บริหารตัดสินใจนำแฟรนไชส์ของ Marriott มาใช้กับโรงแรมรอยัลการ์เด้น รีซอร์ท ที่หัวหินและพัทยา ปัจจุบันมีเพียงโรงแรมอนันตรา รีสอร์ท แอนด์ สปา เท่านั้นที่ยังคงใช้แฟรนไชส์ของกลุ่มบริษัทเอง ส่วนที่เหลือจะใช้แฟรนไชส์ของเครือข่ายโรงแรมระดับโลกของ Marriott และ Four Seasons ซึ่งความช่วยเหลือในด้านการตลาดและการขายของเครือข่ายทั้งสองช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่บริษัท โดยที่โรงแรมและบริการของกลุ่ม RGR จะต้องได้มาตรฐานสากลของเจ้าของแฟรนไชส์
ความต้องการจำนวนห้องพักของโรงแรมมีผลอย่างมากจากธุรกิจท่องเที่ยว ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ในวันที่ 11 กันยายน 2544 จะส่งผลด้านลบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย โดยอัตราการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เคยอยู่ในระดับ 10.5% ในปี 2542 และ 10.8% ในปี 2543 ขยายตัวเพียง 5.8% ในปี 2544 แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการฟื้นตัวของเอเซีย รวมทั้งประเทศไทย จะเป็นแรงกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวในอนาคต นอกจากนั้น การที่รัฐบาลส่งเสริมการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดชาวต่างประเทศยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวของไทย World Tourism Organization คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มาประเทศไทยจะขยายตัวถึงปีละประมาณ 7% ในช่วงปี 2543-2563 ในส่วนของอัตราการเข้าพักของโรงแรมทั่วประเทศหลังจากที่ตกลงมาในระดับต่ำสุดที่ 46.6% ในปี 2540 แล้ว ก็มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปี จนกระทั่งอยู่ที่ระดับ 51.9% ในปี 2544 แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีผลให้การแข่งขันยังคงรุนแรง โรงแรมที่มีราคาค่าห้องพักที่ค่อนข้างต่ำจะมีการแข่งขันที่รุนแรงกว่าโรงแรมระดับบน โดยที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมระดับบนซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเป็นกลุ่มที่ 1 (ค่าห้องพักต่อคืนสูงกว่า 2,500 บาท) อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโรงแรมทั่วประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2544 นั้น อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในโรงแรมกลุ่มที่ 1 อยู่ที่ 68.3% เทียบกับค่าเฉลี่ยของโรงแรมทุกประเภทที่ 51.9%
ทริสเรทติ้งกล่าวว่าอัตรากำไรจากการดำเนินงานก่อนหักค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มมาอยู่ที่ 37%-44% ในปี 2541 ถึงไตรมาสแรกของปี 2545 หลังจากที่อยู่ในระดับ 23% ในปี 2540 การเพิ่มขึ้นของอัตราการทำกำไรดังกล่าวนอกจากจะเป็นผลมาจากการขยายตัวของความต้องการห้องพักแล้ว ยังมีส่วนหนึ่งมาจากนโยบายการลดต้นทุนที่บริษัทได้ดำเนินการมาตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในส่วนของเงินกู้สุทธิต่อโครงสร้างเงินทุนรวมนั้นอ่อนแอลงจากระดับ 50.5% ในปี 2542 เป็น 62.2% ในปี 2543 และ 63.4% ในปี 2544 ก่อนที่จะดีขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 60.5% ในไตรมาสแรกของปี 2545 ทั้งนี้ การให้อันดับเครดิตของทริสเรทติ้งในครั้งนี้ได้พิจารณารวมถึงการเพิ่มทุนของบริษัทด้วย -- จบ
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน 1,200 ล้านบาทของบริษัท รอยัลการ์เด้น รีซอร์ท จำกัด (มหาชน) ในระดับ "A-" เท่ากัน ซึ่งสะท้อนความแข็งแกร่งของทีมบริหาร การมีโรงแรมระดับคุณภาพที่กระจายตัวในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญภายในประเทศ รวมถึงปัจจัยเสริมสำคัญ คือ แนวโน้มที่ดีของอุตสาหกรรมโรงแรมอันเนื่องมาจากการเติบโตของธุรกิจการท่องเที่ยวและการที่บริษัทสามารถดำรงอัตราส่วนทางการเงินที่สำคัญๆ ได้ค่อนข้างคงที่ ในการให้อันดับเครดิตดังกล่าว ทริสเรทติ้งยังคำนึงถึงการเพิ่มทุนของบริษัทที่จะเกิดขึ้นด้วย ส่วนปัจจัยที่ลดทอนความแข็งแกร่ง คือ การแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจโรงแรมเพราะอัตราการเข้าพักที่ยังอยู่ในระดับค่อนข้างต่ำ ส่วนอันดับเครดิตของหุ้นกู้ที่บริษัทจะเสนอขายนั้นอยู่บนพื้นฐานที่บริษัทจะไม่มีหนี้ที่มีประกันรวมกันเกินกว่า 20% ของทรัพย์สินของบริษัท
"ทริสเรทติ้ง" รายงานว่า "บริษัทรอยัลการ์เด้น รีซอร์ท" ก่อตั้งในปี 2521 โดย Mr. William Ellwood Heinecke จากการซื้อโรงแรมที่พัทยา ในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาบริษัทได้ขยายกิจการอย่างมาก ปัจจุบันถือได้ว่าบริษัทเป็นเจ้าของกิจการโรงแรมที่กระจายตัวกว้างขวางที่สุดแห่งหนึ่งของไทย โดยเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในโรงแรมระดับบน 7 แห่ง ด้วยห้องพักรวมทั้งสิ้น 1,573 ห้อง ซึ่งกระจายตัวอยู่ในกรุงเทพฯ หัวหิน พัทยา เชียงใหม่ เชียงราย และภูเก็ต โรงแรมทั้งหมดตั้งอยู่ในทำเลที่ดี รวมทั้งมีการบำรุงรักษาและตกแต่งตามมาตรฐานสากล แม้บริษัทจะมีรายได้หลักจากโรงแรมกรุงเทพฯ แมริออท รีซอร์ท แอนด์ สปา ในสัดส่วนถึง 37% ของรายได้จากกิจการโรงแรมของกลุ่มในปี 2544 แต่ยังถือได้ว่าบริษัทได้รับการป้องกันความเสี่ยงดีกว่าบริษัทอื่นที่ส่วนใหญ่จะเป็นเจ้าของโรงแรมเพียง 1 หรือ 2 แห่ง บริษัทมีนโยบายที่จะขยายกิจการโดยการเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในโรงแรมที่ยังมิได้ถูกถือหุ้น 100% รวมทั้งการพัฒนาโรงแรมใหม่ และการซื้อกิจการโรงแรมสี่ดาวหรือห้าดาวในประเทศ ทีมบริหารโรงแรมของบริษัทล้วนมีประสบการณ์ในธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยและเคยร่วมงานกับเครือข่ายของโรงแรมต่างประเทศ ก่อนปี 2544 มีเฉพาะโรงแรมกรุงเทพฯ แมริออท รีซอร์ท แอนด์ สปา เท่านั้นที่ใช้แฟรนไชส์ (Franchise) ของ Marriott แต่เนื่องจากการใช้แฟรนไชส์ของเครือข่ายโรงแรมระดับโลกมีความสำคัญยิ่งขึ้นในการดำเนินธุรกิจโรงแรม จึงทำให้ผู้บริหารตัดสินใจนำแฟรนไชส์ของ Marriott มาใช้กับโรงแรมรอยัลการ์เด้น รีซอร์ท ที่หัวหินและพัทยา ปัจจุบันมีเพียงโรงแรมอนันตรา รีสอร์ท แอนด์ สปา เท่านั้นที่ยังคงใช้แฟรนไชส์ของกลุ่มบริษัทเอง ส่วนที่เหลือจะใช้แฟรนไชส์ของเครือข่ายโรงแรมระดับโลกของ Marriott และ Four Seasons ซึ่งความช่วยเหลือในด้านการตลาดและการขายของเครือข่ายทั้งสองช่วยเพิ่มความสามารถในการแข่งขันให้แก่บริษัท โดยที่โรงแรมและบริการของกลุ่ม RGR จะต้องได้มาตรฐานสากลของเจ้าของแฟรนไชส์
ความต้องการจำนวนห้องพักของโรงแรมมีผลอย่างมากจากธุรกิจท่องเที่ยว ถึงแม้ว่าเหตุการณ์ในวันที่ 11 กันยายน 2544 จะส่งผลด้านลบต่อจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เดินทางเข้าประเทศไทย โดยอัตราการขยายตัวของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่เคยอยู่ในระดับ 10.5% ในปี 2542 และ 10.8% ในปี 2543 ขยายตัวเพียง 5.8% ในปี 2544 แต่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ และการฟื้นตัวของเอเซีย รวมทั้งประเทศไทย จะเป็นแรงกระตุ้นการเติบโตของธุรกิจท่องเที่ยวในอนาคต นอกจากนั้น การที่รัฐบาลส่งเสริมการพัฒนาให้ประเทศไทยเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ดึงดูดชาวต่างประเทศยังเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะสนับสนุนธุรกิจท่องเที่ยวของไทย World Tourism Organization คาดการณ์ว่าอัตราการเติบโตของนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่มาประเทศไทยจะขยายตัวถึงปีละประมาณ 7% ในช่วงปี 2543-2563 ในส่วนของอัตราการเข้าพักของโรงแรมทั่วประเทศหลังจากที่ตกลงมาในระดับต่ำสุดที่ 46.6% ในปี 2540 แล้ว ก็มีอัตราการเข้าพักเฉลี่ยเพิ่มขึ้นทุกปี จนกระทั่งอยู่ที่ระดับ 51.9% ในปี 2544 แต่ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ ซึ่งมีผลให้การแข่งขันยังคงรุนแรง โรงแรมที่มีราคาค่าห้องพักที่ค่อนข้างต่ำจะมีการแข่งขันที่รุนแรงกว่าโรงแรมระดับบน โดยที่อัตราการเข้าพักเฉลี่ยของโรงแรมระดับบนซึ่งการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จัดเป็นกลุ่มที่ 1 (ค่าห้องพักต่อคืนสูงกว่า 2,500 บาท) อยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยของโรงแรมทั่วประเทศอย่างมีนัยสำคัญ โดยในปี 2544 นั้น อัตราการเข้าพักเฉลี่ยในโรงแรมกลุ่มที่ 1 อยู่ที่ 68.3% เทียบกับค่าเฉลี่ยของโรงแรมทุกประเภทที่ 51.9%
ทริสเรทติ้งกล่าวว่าอัตรากำไรจากการดำเนินงานก่อนหักค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการดำเนินงานของบริษัทเพิ่มมาอยู่ที่ 37%-44% ในปี 2541 ถึงไตรมาสแรกของปี 2545 หลังจากที่อยู่ในระดับ 23% ในปี 2540 การเพิ่มขึ้นของอัตราการทำกำไรดังกล่าวนอกจากจะเป็นผลมาจากการขยายตัวของความต้องการห้องพักแล้ว ยังมีส่วนหนึ่งมาจากนโยบายการลดต้นทุนที่บริษัทได้ดำเนินการมาตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ ในส่วนของเงินกู้สุทธิต่อโครงสร้างเงินทุนรวมนั้นอ่อนแอลงจากระดับ 50.5% ในปี 2542 เป็น 62.2% ในปี 2543 และ 63.4% ในปี 2544 ก่อนที่จะดีขึ้นเล็กน้อยที่ระดับ 60.5% ในไตรมาสแรกของปี 2545 ทั้งนี้ การให้อันดับเครดิตของทริสเรทติ้งในครั้งนี้ได้พิจารณารวมถึงการเพิ่มทุนของบริษัทด้วย -- จบ