บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท สหวิริยาสตีลอินดัสตรี จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "BBB" ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงความเป็นผู้นำตลาดในผลิตภัณฑ์เหล็กทรงแบนภายในประเทศ ตลอดจนการปรับตัวเพิ่มขึ้นของรายได้จากเหล็กคุณภาพสูง นโยบายปกป้องผู้ผลิตภายในประเทศของรัฐบาล และปริมาณความต้องการเหล็กภายในประเทศที่อยู่ในระดับสูง ในขณะที่จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนลงบางส่วนจากลักษณะของอุตสาหกรรมเหล็กที่มีการแข่งขันและมีความผันผวนสูง รวมทั้งจากการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นของผู้ประกอบการในประเทศ และการใช้สินเชื่อหมุนเวียนที่สูงของบริษัท
ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะสามารถดำรงผลการดำเนินงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ไปจนตลอดวงจรของอุตสาหกรรม โดยคาดว่าอุปสงค์ของเหล็กในประเทศจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีก 3-5 ปี ในการให้อันดับเครดิตดังกล่าว ทริสเรทติ้งไม่ได้นำประเด็นเรื่องการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ในอนาคตซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของกลุ่มสหวิริยาเข้ามาพิจารณาด้วย อย่างไรก็ตาม หากบริษัทตัดสินใจที่จะลงทุนในโครงการดังกล่าว ทริสเรทติ้งก็คาดว่าการลงทุนจะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทสหวิริยาสตีลอินดัสตรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผ่นเหล็กรีดร้อนชนิดม้วนรายแรกในประเทศไทยมีสถานะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ด้วยกำลังการผลิตทั้งสิ้น 4 ล้านเมตริกตันต่อปี บริษัทเน้นตลาดภายในประเทศเป็นหลักโดยมียอดขายคิดเป็น 92% ของยอดขายทั้งหมดในปี 2547 ทั้งนี้ แนวโน้มที่ดีของอุตสาหกรรมก่อสร้างจากการที่รัฐบาลมีนโยบายก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการจะส่งผลดีแก่บริษัทเนื่องจากประมาณ 46% ของรายได้ของบริษัทมาจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง จากการที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันด้านต้นทุนการผลิต บริษัทจึงต้องพยายามรักษาต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับต่ำ พร้อมทั้งเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดเหล็กคุณภาพสูงเพื่อที่จะคงความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ให้ได้ ในส่วนของปริมาณการขายในประเทศนั้น บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดของแผ่นเหล็กรีดร้อนชนิดม้วนประมาณ 34% ในปี 2547 การแข่งขันภายในประเทศคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากการกลับเข้ามาในตลาดของผู้ประกอบการอีก 2 รายที่ปรับโครงสร้างหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการภายในประเทศยังคงได้รับประโยชน์จากมาตรการของรัฐบาลในการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดซึ่งอยู่ระหว่าง 3.45% ถึง 128.11% สำหรับสินค้านำเข้าจาก 14 ประเทศ
ผลประกอบการทางการเงินของบริษัทในปี 2547 ปรับตัวถึงจุดสูงสุดในหลายๆ ด้านโดยได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยบวกของภาวการณ์เหล็กในตลาดโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ ยอดขายและกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายในปี 2547 อยู่ที่ 36,875 ล้านบาท และ 6,352 ล้านบาท ตามลำดับ อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมเพิ่มขึ้นจาก 37.17% ในปี 2546 เป็น 50.47% ในปี 2547 และอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนปรับตัวดีขึ้นจาก 40.85% ในปี 2546 เป็น 37.94% ในปี 2547 อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 จากการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากของเงินกู้ที่นำไปใช้ในการจัดซื้อวัตถุดิบ เงินทุนจากการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2548 อยู่ที่ 685 ล้านบาท ซึ่งลดลงจาก 1,547 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากบริษัทได้ปิดโรงงานเป็นเวลา 1 เดือนเพื่อติดตั้งเครื่องจักรสำหรับการขยายกำลังการผลิต ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
ส่วนแนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่าบริษัทจะสามารถดำรงผลการดำเนินงานให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ไปจนตลอดวงจรของอุตสาหกรรม โดยคาดว่าอุปสงค์ของเหล็กในประเทศจะยังคงอยู่ในระดับสูงต่อไปอีก 3-5 ปี ในการให้อันดับเครดิตดังกล่าว ทริสเรทติ้งไม่ได้นำประเด็นเรื่องการลงทุนในโครงการขนาดใหญ่ในอนาคตซึ่งอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้ของกลุ่มสหวิริยาเข้ามาพิจารณาด้วย อย่างไรก็ตาม หากบริษัทตัดสินใจที่จะลงทุนในโครงการดังกล่าว ทริสเรทติ้งก็คาดว่าการลงทุนจะไม่ส่งผลกระทบต่อสถานะทางการเงินของบริษัทอย่างมีนัยสำคัญ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทสหวิริยาสตีลอินดัสตรี ซึ่งเป็นผู้ผลิตแผ่นเหล็กรีดร้อนชนิดม้วนรายแรกในประเทศไทยมีสถานะเป็นผู้ผลิตรายใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ในปัจจุบัน ด้วยกำลังการผลิตทั้งสิ้น 4 ล้านเมตริกตันต่อปี บริษัทเน้นตลาดภายในประเทศเป็นหลักโดยมียอดขายคิดเป็น 92% ของยอดขายทั้งหมดในปี 2547 ทั้งนี้ แนวโน้มที่ดีของอุตสาหกรรมก่อสร้างจากการที่รัฐบาลมีนโยบายก่อสร้างโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการจะส่งผลดีแก่บริษัทเนื่องจากประมาณ 46% ของรายได้ของบริษัทมาจากอุตสาหกรรมก่อสร้าง จากการที่มีความได้เปรียบในการแข่งขันด้านต้นทุนการผลิต บริษัทจึงต้องพยายามรักษาต้นทุนการผลิตให้อยู่ในระดับต่ำ พร้อมทั้งเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดเหล็กคุณภาพสูงเพื่อที่จะคงความสามารถในการแข่งขันเอาไว้ให้ได้ ในส่วนของปริมาณการขายในประเทศนั้น บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดของแผ่นเหล็กรีดร้อนชนิดม้วนประมาณ 34% ในปี 2547 การแข่งขันภายในประเทศคาดว่าจะเพิ่มสูงขึ้นจากการกลับเข้ามาในตลาดของผู้ประกอบการอีก 2 รายที่ปรับโครงสร้างหนี้เสร็จเรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการภายในประเทศยังคงได้รับประโยชน์จากมาตรการของรัฐบาลในการเรียกเก็บอากรตอบโต้การทุ่มตลาดซึ่งอยู่ระหว่าง 3.45% ถึง 128.11% สำหรับสินค้านำเข้าจาก 14 ประเทศ
ผลประกอบการทางการเงินของบริษัทในปี 2547 ปรับตัวถึงจุดสูงสุดในหลายๆ ด้านโดยได้รับแรงสนับสนุนจากปัจจัยบวกของภาวการณ์เหล็กในตลาดโลกและการฟื้นตัวของเศรษฐกิจไทย ทั้งนี้ ยอดขายและกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายในปี 2547 อยู่ที่ 36,875 ล้านบาท และ 6,352 ล้านบาท ตามลำดับ อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมเพิ่มขึ้นจาก 37.17% ในปี 2546 เป็น 50.47% ในปี 2547 และอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนปรับตัวดีขึ้นจาก 40.85% ในปี 2546 เป็น 37.94% ในปี 2547 อย่างไรก็ตาม อัตราส่วนดังกล่าวปรับตัวลดลงในช่วงไตรมาสแรกของปี 2548 จากการเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากของเงินกู้ที่นำไปใช้ในการจัดซื้อวัตถุดิบ เงินทุนจากการดำเนินงานในไตรมาสแรกของปี 2548 อยู่ที่ 685 ล้านบาท ซึ่งลดลงจาก 1,547 ล้านบาทในช่วงเดียวกันของปี 2547 เนื่องจากบริษัทได้ปิดโรงงานเป็นเวลา 1 เดือนเพื่อติดตั้งเครื่องจักรสำหรับการขยายกำลังการผลิต ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ