บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ยืนยันผลการทบทวนอันดับเครดิตองค์กรรวมทั้งหุ้นกู้ไม่มีประกัน PL#2 และ PL04DA ของ บริษัท ภัทรลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) คงเดิมที่ระดับ "BBB+" และจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันชุดใหม่มูลค่า 900 ล้านบาทของบริษัทที่ระดับ "BBB+" โดยจะนำเงินจากการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ไปใช้ขยายธุรกิจและชำระหนี้เดิมที่ครบกำหนด อันดับเครดิตดังกล่าวสะท้อนถึงความสามารถในการคงสถานะทางการเงินที่น่าพอใจ โดยมีพื้นฐานมาจากแนวโน้มที่ดีของธุรกิจให้เช่าดำเนินงานรถยนต์ ตลอดจนการเป็นผู้นำในธุรกิจให้เช่าดำเนินงานรถยนต์ ความสามารถในการทำกำไรที่แข็งแกร่ง ความเพียงพอของกระแสเงินสด และคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีของบริษัท อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนด้วยการกู้ยืมที่สูงขึ้นเพื่อใช้เป็นเงินทุนในการขยายธุรกิจ รวมทั้งการกระจุกตัวของลูกค้ารายใหญ่ และภาวะการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้นในธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ซึ่งอาจทดแทนการเช่าดำเนินงานรถยนต์ได้ ตลอดจนการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นจากบริษัทลีสซิ่งรายอื่นและผู้ประกอบการรถเช่า
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ภัทรลิสซิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2530 โดยตระกูลล่ำซำ โดยได้ดำเนินธุรกิจลีสซิ่งและเช่าซื้อในช่วงเริ่มต้น และต่อมาได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปี 2539 ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา บริษัทได้เน้นการประกอบธุรกิจให้เช่าดำเนินงานรถยนต์พร้อมกับบริการเสริมต่างๆ โดยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์หลายแห่งและอู่ซ่อมรถยนต์ทั่วประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 บริษัทมีสินทรัพย์ให้เช่าดำเนินงานคิดเป็นสัดส่วน 96% ของสินทรัพย์ให้เช่าทั้งหมด ทั้งนี้ สินทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบเท่าตัวจากเมื่อ 2 ปีก่อน โดยอยู่ที่ระดับ 2,532 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 บริษัทบริหารคุณภาพสินทรัพย์ได้ดีโดยสะท้อนจากอัตราส่วนสินทรัพย์ที่หยุดรับรู้รายได้ต่อสินทรัพย์ให้เช่าทั้งหมดที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.2% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 เปรียบเทียบกับ 7.1% ของเมื่อ 2 ปีก่อน
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ภัทรลิสซิ่งได้พยายามขยายฐานลูกค้าออกนอกกลุ่มบริษัทตระกูลล่ำซำ โดยในช่วงครึ่งแรกของงวดบัญชีปี 2546 (ตุลาคม 2545-มีนาคม 2546) ลูกค้าใหม่ทั้งหมดของบริษัทเป็นบริษัทนอกกลุ่มตระกูลล่ำซำ ในเดือนมีนาคม 2546 บริษัทมีสัญญาให้บริการเช่าระยะยาวกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีรายได้จากค่าเช่ามากกว่า 1,000 ล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยบริษัทจะให้บริการรถยนต์สำหรับผู้บริหารและรถยนต์ส่วนกลางประจำสำนักงานแก่ธนาคารกรุงไทยพร้อมบริการเสริมต่างๆ สัญญาดังกล่าวทำให้ฐานลูกค้าของบริษัทเติบโตขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดการประหยัดจากขนาด และส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 ธนาคารกรุงไทยกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่อันดับสองของบริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทจำเป็นต้องลงทุนสูงในการขยายธุรกิจซึ่งเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืม นอกจากนี้ สัญญาใหม่ดังกล่าวยังส่งผลให้การกระจุกตัวของลูกค้ารายใหญ่ 20 อันดับแรกเพิ่มมากขึ้น
ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ บริษัทได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการดำเนินธุรกิจจากผู้ถือหุ้นหลัก ซึ่งได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องในกลุ่มตระกูลล่ำซำ หลังจากประสบภาวะขาดทุนในงวดบัญชีปี 2541 (ตุลาคม 2540-กันยายน 2541) ฐานะทางการเงินของบริษัทได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่งวดบัญชีปี 2543 จนถึงเดือนมีนาคม 2546 โดยมีรายได้รวมเพิ่มสูงขึ้นทุกปีนับตั้งแต่งวดบัญชีปี 2544 ในช่วงครึ่งแรกของงวดบัญชีปี 2546 บริษัทมีรายได้รวม 479 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น 9.6% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 71 ล้านบาท เทียบกับ 58 ล้านบาทในงวดเดียวกันของปีก่อน และแม้ว่าภาวะการแข่งขันจะเพิ่มมากขึ้น แต่บริษัทก็ยังคงมีอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวมที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลงและความสามารถในการบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัท บริษัทมีการกู้ยืมเงินสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของสินทรัพย์ให้เช่า อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2.66 เท่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 จากระดับ 1.97 เท่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2545 ทั้งนี้ บริษัทได้พยายามบริหารอายุของหนี้ให้สอดคล้องกับอายุของสัญญาเช่าโดยการออกตราสารหนี้ระยะยาวประเภทต่างๆ ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ภัทรลิสซิ่งก่อตั้งเมื่อปี 2530 โดยตระกูลล่ำซำ โดยได้ดำเนินธุรกิจลีสซิ่งและเช่าซื้อในช่วงเริ่มต้น และต่อมาได้จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเมื่อปี 2539 ตั้งแต่ปี 2538 เป็นต้นมา บริษัทได้เน้นการประกอบธุรกิจให้เช่าดำเนินงานรถยนต์พร้อมกับบริการเสริมต่างๆ โดยมีความสัมพันธ์ที่ดีกับตัวแทนจำหน่ายรถยนต์หลายแห่งและอู่ซ่อมรถยนต์ทั่วประเทศ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 บริษัทมีสินทรัพย์ให้เช่าดำเนินงานคิดเป็นสัดส่วน 96% ของสินทรัพย์ให้เช่าทั้งหมด ทั้งนี้ สินทรัพย์ดังกล่าวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องเกือบเท่าตัวจากเมื่อ 2 ปีก่อน โดยอยู่ที่ระดับ 2,532 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 บริษัทบริหารคุณภาพสินทรัพย์ได้ดีโดยสะท้อนจากอัตราส่วนสินทรัพย์ที่หยุดรับรู้รายได้ต่อสินทรัพย์ให้เช่าทั้งหมดที่ลดลงมาอยู่ที่ระดับ 1.2% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 เปรียบเทียบกับ 7.1% ของเมื่อ 2 ปีก่อน
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ภัทรลิสซิ่งได้พยายามขยายฐานลูกค้าออกนอกกลุ่มบริษัทตระกูลล่ำซำ โดยในช่วงครึ่งแรกของงวดบัญชีปี 2546 (ตุลาคม 2545-มีนาคม 2546) ลูกค้าใหม่ทั้งหมดของบริษัทเป็นบริษัทนอกกลุ่มตระกูลล่ำซำ ในเดือนมีนาคม 2546 บริษัทมีสัญญาให้บริการเช่าระยะยาวกับธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ซึ่งจะส่งผลให้บริษัทมีรายได้จากค่าเช่ามากกว่า 1,000 ล้านบาทในช่วง 5 ปีข้างหน้า โดยบริษัทจะให้บริการรถยนต์สำหรับผู้บริหารและรถยนต์ส่วนกลางประจำสำนักงานแก่ธนาคารกรุงไทยพร้อมบริการเสริมต่างๆ สัญญาดังกล่าวทำให้ฐานลูกค้าของบริษัทเติบโตขึ้น อีกทั้งยังก่อให้เกิดการประหยัดจากขนาด และส่งผลให้ ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 ธนาคารกรุงไทยกลายเป็นลูกค้ารายใหญ่อันดับสองของบริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทจำเป็นต้องลงทุนสูงในการขยายธุรกิจซึ่งเงินลงทุนส่วนใหญ่มาจากการกู้ยืม นอกจากนี้ สัญญาใหม่ดังกล่าวยังส่งผลให้การกระจุกตัวของลูกค้ารายใหญ่ 20 อันดับแรกเพิ่มมากขึ้น
ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ บริษัทได้รับการสนับสนุนทางการเงินและการดำเนินธุรกิจจากผู้ถือหุ้นหลัก ซึ่งได้แก่ ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทอื่นที่เกี่ยวข้องในกลุ่มตระกูลล่ำซำ หลังจากประสบภาวะขาดทุนในงวดบัญชีปี 2541 (ตุลาคม 2540-กันยายน 2541) ฐานะทางการเงินของบริษัทได้ปรับตัวดีขึ้นอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่งวดบัญชีปี 2543 จนถึงเดือนมีนาคม 2546 โดยมีรายได้รวมเพิ่มสูงขึ้นทุกปีนับตั้งแต่งวดบัญชีปี 2544 ในช่วงครึ่งแรกของงวดบัญชีปี 2546 บริษัทมีรายได้รวม 479 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มสูงขึ้น 9.6% จากงวดเดียวกันของปีก่อน และมีกำไรสุทธิ 71 ล้านบาท เทียบกับ 58 ล้านบาทในงวดเดียวกันของปีก่อน และแม้ว่าภาวะการแข่งขันจะเพิ่มมากขึ้น แต่บริษัทก็ยังคงมีอัตรากำไรสุทธิต่อรายได้รวมที่สูงขึ้นอันเนื่องมาจากต้นทุนทางการเงินที่ลดลงและความสามารถในการบริหารค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานของบริษัท บริษัทมีการกู้ยืมเงินสูงขึ้นเพื่อรองรับการขยายตัวของสินทรัพย์ให้เช่า อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 2.66 เท่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 จากระดับ 1.97 เท่า ณ สิ้นเดือนกันยายน 2545 ทั้งนี้ บริษัทได้พยายามบริหารอายุของหนี้ให้สอดคล้องกับอายุของสัญญาเช่าโดยการออกตราสารหนี้ระยะยาวประเภทต่างๆ ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ