บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จัดอันดับเครดิตเบื้องต้นให้แก่หุ้นกู้มีประกัน 1,200 ล้านบาทของ บริษัท ราชธานีลิสซิ่ง จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "BBB" ซึ่งอันดับเครดิตจะมีผลเมื่อเอกสารที่เกี่ยวข้องกับการออกหุ้นกู้ได้รับการลงนามอย่างถูกต้องสมบูรณ์แล้ว อันดับเครดิตสะท้อนถึงการเติบโตอย่างรวดเร็วของตลาดรถยนต์ภายในประเทศ การมีประสบการณ์ของผู้บริหารในธุรกิจสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสอง และสัมพันธภาพที่ดีและยาวนานกับผู้จำหน่ายรถยนต์ อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตดังกล่าวถูกบั่นทอนด้วยการแข่งขันที่รุนแรงในตลาดสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสอง ตลอดจนการที่บริษัทมีต้นทุนทางการเงินที่สูงและขาดความยืดหยุ่นทางการเงินเมื่อเทียบกับคู่แข่งสำคัญ นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังพิจารณารวมถึงหลักทรัพย์ค้ำประกันให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้โดยใช้บัญชีลูกหนี้ของสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์ที่ค้างชำระไม่เกิน 2 เดือนเป็นหลักประกันในอัตราส่วน 135% ของมูลค่าหุ้นกู้ด้วย ทั้งนี้ หากสินเชื่อดังกล่าวมีไม่เพียงพอ บริษัทจะต้องดำรงเงินสดหรือตั๋วเงินไว้เป็นหลักประกันในอัตรา 100% ของมูลค่าหุ้นกู้ในส่วนที่มูลค่าหลักประกันคุ้มครองไม่เพียงพอ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทราชธานีลิสซิ่งมีผู้บริหารและทีมงานที่มีประสบการณ์ยาวนานในการประเมินคุณภาพและมูลค่าของรถเก่า ทำให้สามารถกำหนดจำนวนสินเชื่อที่จะอนุมัติให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์แต่ละรายในระดับที่เหมาะสม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการขาดทุนให้น้อยที่สุดในกรณีที่ต้องมีการยึดรถและจำหน่ายออกไป ความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับผู้จำหน่ายรถยนต์มือสองและความรวดเร็วในการพิจารณาสินเชื่อเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัทนอกเหนือจากการแข่งขันด้านราคา ซึ่งบริษัทยังเสียเปรียบในด้านต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่าคู่แข่งรายใหญ่ บริษัทจัดการความเสี่ยงโดยเน้นการควบคุมคุณภาพทั้งลูกหนี้และตัวสินทรัพย์ สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินทรัพย์รวมลดลงจาก 30.02% ในปี 2541 เป็น 24.83% ในปี 2542 19.56% ในปี 2543 15.86% ในปี 2544 5.24% ในปี 2545 และ 2.65% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปี 2544 และ 2545 เกิดจากการที่บริษัทจำหน่ายสินเชื่อที่ค้างชำระเกินกว่า 12 เดือนซึ่งมีมูลค่าตามบัญชี 32.66 ล้านบาท รวมทั้งจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อรวมในปี 2545 บริษัทมีรายได้ค่าปรับจากการชำระค่างวดล่าช้าคิดเป็นประมาณ 10% ของรายได้รวมก่อนปี 2546 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป บริษัทจะเน้นในด้านกระบวนการจัดเก็บหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระ และเพื่อลดอัตราส่วนของสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ต่อสินทรัพย์รวมให้มีน้อยที่สุด
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า การแข่งขันอย่างรุนแรงในธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทราชธานีลิสซิ่งลดลงจาก 12.82% ในปี 2543 เป็น 9.49% ในปี 2544 และ 4.66% ในปี 2545 บริษัทพยายามที่จะลดต้นทุนทางการเงินลงเพื่อที่จะสามารถเสนออัตราดอกเบี้ยในระดับที่แข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ได้ และยังได้เปลี่ยนโครงสร้างเงินทุนจากเงินกู้ยืมระยะสั้นเป็นเงินกู้ยืมระยะยาวด้วย สัดส่วนระหว่างเงินกู้ยืมระยะสั้นต่อเงินกู้ยืมรวมของบริษัทลดลงจาก 75% ในอดีตมาเป็น 37% ณ สิ้นปี 2545 เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินได้รับการค้ำประกันโดยการโอนสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ของบริษัทไปให้เจ้าหนี้และค้ำประกันส่วนตัวโดยกรรมการของบริษัท บริษัทมีแผนจะนำเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ไปชำระคืนเงินกู้จากธนาคารที่มีอยู่ทั้งหมด ในอนาคต และมีนโยบายที่จะใช้แหล่งเงินกู้ระยะสั้นและกลางในการขยายสินเชื่อต่อไปในระดับที่มากพอก่อนที่จะมีแผนในการหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวในครั้งต่อไป ระหว่างปี 2543-2545 บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตั้งสำรองและนโยบายการตัดหนี้สูญรวม 3 ครั้ง ซึ่งส่งผลให้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ยลดลงจาก 7.06% ในปี 2542 เป็น 0.38% ในปี 2543 และเพิ่มเป็น 4.11% ในปี 2544 และ 7.72% ในปี 2545 ในทำนองเดียวกัน อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นถัวเฉลี่ยลดลงจาก 14.82% ในปี 2542 เป็น 0.91% ในปี 2543 ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 11.82% ในปี 2544 และ 19.73% ในปี 2545 -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทราชธานีลิสซิ่งมีผู้บริหารและทีมงานที่มีประสบการณ์ยาวนานในการประเมินคุณภาพและมูลค่าของรถเก่า ทำให้สามารถกำหนดจำนวนสินเชื่อที่จะอนุมัติให้แก่ผู้ซื้อรถยนต์แต่ละรายในระดับที่เหมาะสม ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงที่จะเกิดการขาดทุนให้น้อยที่สุดในกรณีที่ต้องมีการยึดรถและจำหน่ายออกไป ความสัมพันธ์ที่ยาวนานกับผู้จำหน่ายรถยนต์มือสองและความรวดเร็วในการพิจารณาสินเชื่อเป็นข้อได้เปรียบในการแข่งขันของบริษัทนอกเหนือจากการแข่งขันด้านราคา ซึ่งบริษัทยังเสียเปรียบในด้านต้นทุนทางการเงินที่สูงกว่าคู่แข่งรายใหญ่ บริษัทจัดการความเสี่ยงโดยเน้นการควบคุมคุณภาพทั้งลูกหนี้และตัวสินทรัพย์ สัดส่วนสินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ต่อสินทรัพย์รวมลดลงจาก 30.02% ในปี 2541 เป็น 24.83% ในปี 2542 19.56% ในปี 2543 15.86% ในปี 2544 5.24% ในปี 2545 และ 2.65% ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2546 สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ที่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในช่วงปี 2544 และ 2545 เกิดจากการที่บริษัทจำหน่ายสินเชื่อที่ค้างชำระเกินกว่า 12 เดือนซึ่งมีมูลค่าตามบัญชี 32.66 ล้านบาท รวมทั้งจากการขยายตัวอย่างรวดเร็วของสินเชื่อรวมในปี 2545 บริษัทมีรายได้ค่าปรับจากการชำระค่างวดล่าช้าคิดเป็นประมาณ 10% ของรายได้รวมก่อนปี 2546 อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ปี 2546 เป็นต้นไป บริษัทจะเน้นในด้านกระบวนการจัดเก็บหนี้เพื่อหลีกเลี่ยงความเสี่ยงจากการผิดนัดชำระ และเพื่อลดอัตราส่วนของสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ต่อสินทรัพย์รวมให้มีน้อยที่สุด
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า การแข่งขันอย่างรุนแรงในธุรกิจเช่าซื้อรถยนต์ทำให้ส่วนต่างระหว่างอัตราดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยจ่ายของบริษัทราชธานีลิสซิ่งลดลงจาก 12.82% ในปี 2543 เป็น 9.49% ในปี 2544 และ 4.66% ในปี 2545 บริษัทพยายามที่จะลดต้นทุนทางการเงินลงเพื่อที่จะสามารถเสนออัตราดอกเบี้ยในระดับที่แข่งขันกับคู่แข่งรายใหญ่ได้ และยังได้เปลี่ยนโครงสร้างเงินทุนจากเงินกู้ยืมระยะสั้นเป็นเงินกู้ยืมระยะยาวด้วย สัดส่วนระหว่างเงินกู้ยืมระยะสั้นต่อเงินกู้ยืมรวมของบริษัทลดลงจาก 75% ในอดีตมาเป็น 37% ณ สิ้นปี 2545 เงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินได้รับการค้ำประกันโดยการโอนสิทธิเรียกร้องจากลูกหนี้ของบริษัทไปให้เจ้าหนี้และค้ำประกันส่วนตัวโดยกรรมการของบริษัท บริษัทมีแผนจะนำเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้ไปชำระคืนเงินกู้จากธนาคารที่มีอยู่ทั้งหมด ในอนาคต และมีนโยบายที่จะใช้แหล่งเงินกู้ระยะสั้นและกลางในการขยายสินเชื่อต่อไปในระดับที่มากพอก่อนที่จะมีแผนในการหาแหล่งเงินกู้ระยะยาวในครั้งต่อไป ระหว่างปี 2543-2545 บริษัทมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายการตั้งสำรองและนโยบายการตัดหนี้สูญรวม 3 ครั้ง ซึ่งส่งผลให้อัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมถัวเฉลี่ยลดลงจาก 7.06% ในปี 2542 เป็น 0.38% ในปี 2543 และเพิ่มเป็น 4.11% ในปี 2544 และ 7.72% ในปี 2545 ในทำนองเดียวกัน อัตราส่วนผลตอบแทนต่อส่วนของผู้ถือหุ้นถัวเฉลี่ยลดลงจาก 14.82% ในปี 2542 เป็น 0.91% ในปี 2543 ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 11.82% ในปี 2544 และ 19.73% ในปี 2545 -- จบ