บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด คงอันดับเครดิตองค์กรและตราสารหนี้ชุดเดิม (NMG043A และ NMG055A) ของ บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "BBB" และจัดอันดับเครดิตตราสารหนี้ชุดใหม่ของบริษัทมูลค่า 1,600 ล้านบาทที่ระดับ "BBB" โดยอันดับเครดิตสะท้อนสถานภาพทางการตลาดที่แข็งแกร่งของหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน "กรุงเทพธุรกิจ" และหนังสือพิมพ์ภาษาอังกฤษ "เดอะเนชั่น" ตลอดจนรายได้ที่เติบโตภายใน 2 ปีแรกของการดำเนินงานของหนังสือพิมพ์รายวัน "คม ชัด ลึก" ความสามารถของทีมผู้บริหาร และแนวโน้มของธุรกิจโฆษณาที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนด้วยความผันผวนของราคากระดาษหนังสือพิมพ์และอัตราการก่อหนี้ของบริษัทที่ยังสูงอยู่
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านสื่อในระดับแนวหน้าของประเทศซึ่งผลิตสื่อหลากหลายประเภท อาทิ สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์และวิทยุ รวมทั้งอินเทอร์เน็ต โดยสื่อสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้มากกว่า 90% และสร้างกำไรจากการดำเนินงานเกือบ 100% หนังสือพิมพ์ "กรุงเทพธุรกิจ" ของบริษัทจัดเป็นผู้นำที่โดดเด่นในกลุ่มหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน โดยสามารถรักษาฐานผู้อ่านไว้ได้หลังจากการเปิดตัวของหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน "โพสต์ทูเดย์" ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ในขณะที่หนังสือพิมพ์ "เดอะเนชั่น" ของบริษัทก็สามารถรักษาฐานผู้อ่านให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับผู้นำตลาดคือหนังสือพิมพ์ "บางกอกโพสต์" ส่วนหนังสือพิมพ์ "คม ชัด ลึก" ก็สามารถเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทภายในปีแรกของการดำเนินงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 หลังจากการรณรงค์ทำการตลาดอย่างหนักผ่านช่องทางจำหน่ายมากมาย ทำให้หนังสือพิมพ์ "คมชัดลึก" เป็นที่รู้จักและได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดี จนเป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจาก "ไทยรัฐ" และ "เดลินิวส์" นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้บริษัทประสบความสำเร็จคือทีมผู้บริหารที่มีความสามารถและประสบการณ์ที่ยาวนาน อีกทั้งยังได้รับการยอมรับในความเป็นมืออาชีพในธุรกิจ โดยมีกลยุทธ์ในการเป็นผู้ผลิตข่าวสารและเนื้อหาสู่สื่อหลากหลายประเภท
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า แหล่งรายได้ที่สำคัญของบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ปสำหรับธุรกิจหนังสือพิมพ์มาจากการโฆษณา ทั้งนี้ ปริมาณการโฆษณาจะเคลื่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยที่ปริมาณการโฆษณาในหนังสือพิมพ์มีความผันผวนมากกว่าการโฆษณาในสื่อ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2545 มีผลทำให้บริษัทมีปริมาณการโฆษณาในสื่ออื่นและสื่อหนังสือพิมพ์เติบโตขึ้น 15.4% และ 16.3% ตามลำดับ นอกจากนี้ ปริมาณการโฆษณาในสื่อหนังสือพิมพ์สำหรับ 11 เดือนแรกของปี 2546 เท่ากับ 11,924 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปริมาณการโฆษณาในสื่อหนังสือพิมพ์ของทั้งปี 2545 ที่ 11,116 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม อัตราการก่อหนี้ของบริษัทยังคงสูงอยู่โดยมีอัตราส่วนของเงินกู้รวม (รวมมูลค่าปัจจุบันของค่าเช่าที่ดินตลอดอายุสัญญาเช่า) ต่อแหล่งเงินทุนที่ 69.5% ณ เดือนกันยายน 2546 และ 70.1% ณ เดือนธันวาคม 2545 เทียบกับ 64.3% ณ เดือนธันวาคม 2544 โดยภาระเงินกู้ในปี 2546 ส่วนใหญ่มาจากสินค้าคงคลัง โดยเฉพาะกระดาษหนังสือพิมพ์ที่เพิ่มขึ้น
ทริสเรทติ้งยังกล่าวอีกว่า กระดาษหนังสือพิมพ์ถือเป็นต้นทุนหลักของธุรกิจหนังสือพิมพ์ของบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป โดยมีสัดส่วนประมาณ 50% ของต้นทุนขายของบริษัทในระหว่างปี 2543-2545 และ 47% สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2546 ซึ่งมีผลทำให้กำไรขั้นต้นมีความผันผวนกับราคากระดาษโลกเนื่องจากบริษัทนำเข้ากระดาษส่วนใหญ่จากต่างประเทศ นับตั้งแต่เกิดวิกฤติทางการเงินในปี 2540 บริษัทมีต้นทุนกระดาษเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2543 โดยสูงกว่าราคากระดาษโลกเฉลี่ยที่ 596 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันอยู่เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนกระดาษเฉลี่ยของบริษัทลดลงหลังจากปี 2543 ตามราคากระดาษโลกโดยเฉลี่ยที่ 580 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2544 และ 490 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2545 โดยที่ราคากระดาษโลกอยู่ที่ 575 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2544 และ 490 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2545 บริษัทมีต้นทุนกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ค่อนข้างแน่นอนในปี 2547 ที่ประมาณ 390-420 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันเทียบกับราคากระดาษโลกในเดือนมกราคม 2547 ที่ 450-470 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จากยอดสำรองกระดาษที่มีอยู่ ณ สิ้นปี 2546 จะทำให้บริษัทมีกระดาษเพียงพอในการผลิตหนังสือพิมพ์ไปได้อีกประมาณ 9-10 เดือน -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป เป็นบริษัทที่ดำเนินธุรกิจด้านสื่อในระดับแนวหน้าของประเทศซึ่งผลิตสื่อหลากหลายประเภท อาทิ สิ่งพิมพ์ โทรทัศน์และวิทยุ รวมทั้งอินเทอร์เน็ต โดยสื่อสิ่งพิมพ์ยังคงเป็นธุรกิจหลักที่สร้างรายได้มากกว่า 90% และสร้างกำไรจากการดำเนินงานเกือบ 100% หนังสือพิมพ์ "กรุงเทพธุรกิจ" ของบริษัทจัดเป็นผู้นำที่โดดเด่นในกลุ่มหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน โดยสามารถรักษาฐานผู้อ่านไว้ได้หลังจากการเปิดตัวของหนังสือพิมพ์ธุรกิจรายวัน "โพสต์ทูเดย์" ในเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ในขณะที่หนังสือพิมพ์ "เดอะเนชั่น" ของบริษัทก็สามารถรักษาฐานผู้อ่านให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับผู้นำตลาดคือหนังสือพิมพ์ "บางกอกโพสต์" ส่วนหนังสือพิมพ์ "คม ชัด ลึก" ก็สามารถเป็นแหล่งรายได้หลักของบริษัทภายในปีแรกของการดำเนินงานตั้งแต่เดือนตุลาคม 2544 หลังจากการรณรงค์ทำการตลาดอย่างหนักผ่านช่องทางจำหน่ายมากมาย ทำให้หนังสือพิมพ์ "คมชัดลึก" เป็นที่รู้จักและได้รับการตอบรับจากผู้อ่านเป็นอย่างดี จนเป็นหนังสือพิมพ์รายวันที่มียอดจำหน่ายสูงสุดเป็นอันดับ 3 รองจาก "ไทยรัฐ" และ "เดลินิวส์" นอกจากนี้ ปัจจัยสำคัญที่ส่งผลให้บริษัทประสบความสำเร็จคือทีมผู้บริหารที่มีความสามารถและประสบการณ์ที่ยาวนาน อีกทั้งยังได้รับการยอมรับในความเป็นมืออาชีพในธุรกิจ โดยมีกลยุทธ์ในการเป็นผู้ผลิตข่าวสารและเนื้อหาสู่สื่อหลากหลายประเภท
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า แหล่งรายได้ที่สำคัญของบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ปสำหรับธุรกิจหนังสือพิมพ์มาจากการโฆษณา ทั้งนี้ ปริมาณการโฆษณาจะเคลื่อนไหวตามภาวะเศรษฐกิจ โดยที่ปริมาณการโฆษณาในหนังสือพิมพ์มีความผันผวนมากกว่าการโฆษณาในสื่อ การขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2545 มีผลทำให้บริษัทมีปริมาณการโฆษณาในสื่ออื่นและสื่อหนังสือพิมพ์เติบโตขึ้น 15.4% และ 16.3% ตามลำดับ นอกจากนี้ ปริมาณการโฆษณาในสื่อหนังสือพิมพ์สำหรับ 11 เดือนแรกของปี 2546 เท่ากับ 11,924 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าปริมาณการโฆษณาในสื่อหนังสือพิมพ์ของทั้งปี 2545 ที่ 11,116 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม อัตราการก่อหนี้ของบริษัทยังคงสูงอยู่โดยมีอัตราส่วนของเงินกู้รวม (รวมมูลค่าปัจจุบันของค่าเช่าที่ดินตลอดอายุสัญญาเช่า) ต่อแหล่งเงินทุนที่ 69.5% ณ เดือนกันยายน 2546 และ 70.1% ณ เดือนธันวาคม 2545 เทียบกับ 64.3% ณ เดือนธันวาคม 2544 โดยภาระเงินกู้ในปี 2546 ส่วนใหญ่มาจากสินค้าคงคลัง โดยเฉพาะกระดาษหนังสือพิมพ์ที่เพิ่มขึ้น
ทริสเรทติ้งยังกล่าวอีกว่า กระดาษหนังสือพิมพ์ถือเป็นต้นทุนหลักของธุรกิจหนังสือพิมพ์ของบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป โดยมีสัดส่วนประมาณ 50% ของต้นทุนขายของบริษัทในระหว่างปี 2543-2545 และ 47% สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2546 ซึ่งมีผลทำให้กำไรขั้นต้นมีความผันผวนกับราคากระดาษโลกเนื่องจากบริษัทนำเข้ากระดาษส่วนใหญ่จากต่างประเทศ นับตั้งแต่เกิดวิกฤติทางการเงินในปี 2540 บริษัทมีต้นทุนกระดาษเฉลี่ยสูงที่สุดที่ 600 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2543 โดยสูงกว่าราคากระดาษโลกเฉลี่ยที่ 596 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันอยู่เล็กน้อย อย่างไรก็ตาม ต้นทุนกระดาษเฉลี่ยของบริษัทลดลงหลังจากปี 2543 ตามราคากระดาษโลกโดยเฉลี่ยที่ 580 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2544 และ 490 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2545 โดยที่ราคากระดาษโลกอยู่ที่ 575 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2544 และ 490 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในปี 2545 บริษัทมีต้นทุนกระดาษหนังสือพิมพ์ที่ค่อนข้างแน่นอนในปี 2547 ที่ประมาณ 390-420 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันเทียบกับราคากระดาษโลกในเดือนมกราคม 2547 ที่ 450-470 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน จากยอดสำรองกระดาษที่มีอยู่ ณ สิ้นปี 2546 จะทำให้บริษัทมีกระดาษเพียงพอในการผลิตหนังสือพิมพ์ไปได้อีกประมาณ 9-10 เดือน -- จบ