บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด คงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้มีประกัน 7,400 ล้านบาท (VNT068A) ของ บริษัท วีนิไทย จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "BBB" โดยสะท้อนการมีโครงสร้างต้นทุนที่ต่ำและทีมผู้บริหารที่มีความสามารถ รวมทั้งการสนับสนุนจากผู้ถือหุ้นรายใหญ่ทั้ง 2 รายคือ กลุ่ม Solvay ของประเทศเบลเยี่ยมและกลุ่มเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงกระแสเงินสดจากการดำเนินงานต่อภาระหนี้สินที่ดีขึ้นของบริษัทและการคาดการณ์ถึงการเติบโตของอุปสงค์ของโพลีไวนิล คลอไรด์ หรือพีวีซีด้วย อย่างไรก็ดี ภาวะผลิตภัณฑ์พีวีซีที่ล้นตลาดและการแข่งขันภายในประเทศที่รุนแรงต่อเนื่องมีผลจำกัดอัตราส่วนการทำกำไรของผู้ผลิตในประเทศ ทั้งนี้ อันดับเครดิตยังได้รับผลกระทบในทางลบจากราคาพีวีซีและผลกำไรที่ผันผวนที่เกิดกับผู้ประกอบการทั่วโลกด้วยเช่นกัน
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทวีนิไทยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายพีวีซีที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยในปี 2545 มีกำลังการผลิตประมาณ 27% ของกำลังการผลิตรวมในประเทศ และมีส่วนแบ่งทางการตลาดจากยอดขาย 27% ของการบริโภคในประเทศ ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทประกอบด้วยพีวีซีและโซดาไฟ โดยลูกค้าสำคัญคือ ผู้ผลิตท่อพลาสติก ฟิล์ม แผ่นพลาสติก และสายไฟฟ้า
ทริสเรทติ้งกล่าวถึงกลุ่ม Solvay ซึ่งถือหุ้น 46% ในบริษัทวีนิไทยว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตพีวีซีรายใหญ่ของโลกและมียอดขายรวมในปี 2545 ที่ประมาณ 7,918 ล้านยูโร และได้ร่วมดูแลการก่อสร้างโรงงานแบบครบวงจรของบริษัทวีนิไทยเพื่อให้ได้มาตรฐานสากล นอกจากนี้ กลุ่ม Solvay และซีพียังมีพันธะสัญญาภายใต้เงื่อนไขของหุ้นกู้ในการให้เงินช่วยเหลือแก่บริษัทในรูปของทุนหรือเงินกู้ด้อยสิทธิจำนวนไม่เกิน 800 ล้านบาทในกรณีที่กระแสเงินสดของบริษัทไม่เพียงพอที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ด้วย
บริษัทวีนิไทยมีผลประกอบการที่ดีมากในปี 2543 และได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2544 อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในปี 2545 ดีขึ้นอย่างมากและลดลงเล็กน้อยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 อัตราส่วนกำไรขั้นต้นก่อนหักค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายของบริษัทซึ่งเคยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงได้ลดลงจาก 40% ในปี 2543 เป็น 32% ในปี 2544 และกลับเพิ่มขึ้นเป็น 39% ในปี 2545 และยืนอยู่ที่ 36% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 รายได้เกือบทั้งหมดของบริษัทจากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศจะอิงกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ต้นทุนการดำเนินงานประมาณ 50% มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อโครงสร้างส่วนทุนของบริษัทเคยสูงถึง 85%-100% ในช่วงปี 2540-2542 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศหลังจากรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย อัตราส่วนดังกล่าวได้ลดลงมาตามลำดับเป็น 62% ณ สิ้นปี 2543 หลังจากบริษัทประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนจำนวน 3,007 ล้านบาท และทยอยชำระหนี้ตามกำหนด หลังจากนั้นได้ลดลงมาอยู่ที่ 60% 50% และ 40% ณ สิ้นปี 2544 ปี 2545 และ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 ตามลำดับ อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อหนี้สินรวมเพิ่มขึ้นจาก 2% ในปี 2541 เป็น 6% ในปี 2542 และเพิ่มมาอยู่ในระดับ 10%-24% ในช่วงปี 2543-2545 และอยู่ที่ 23% สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2546 (ยังไม่ได้ปรับอัตราส่วนให้เป็นตัวเลขเต็มปี)
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า Electro Chemical Unit (ECU) เป็นตัวชี้วัดการเคลื่อนไหวของระดับกำไรสำหรับผู้ผลิตพีวีซีแบบครบวงจร โดย ณ เดือนมีนาคม 2543 ECU อยู่ที่ระดับ 710 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และลดลงมาอยู่ที่ระดับ 413 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในเดือนสิงหาคม 2544 จากนั้นได้กลับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2545 โดยอยู่ในระดับสูงสุดที่ 633 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในเดือนพฤษภาคม 2545 และเป็น 479 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในเดือนตุลาคม 2546 เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่ในช่วงอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะไม่มีการขยายกำลังการผลิตของพีวีซีโลกอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับอุปสงค์ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้คาดการณ์ได้ว่าระดับ ECU โดยเฉลี่ยในระยะสั้นถึงระยะปานกลางจะคงอยู่ในระดับที่สูง อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีนำเข้าพีวีซีในกลุ่มประเทศสมาชิกเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ได้ลดลงจาก 10% เป็น 5% ตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ส่วนภาษีนำเข้านอกกลุ่มอาฟต้ายังคงเป็น 20% อีกทั้งภาวะล้นตลาดของพีวีซีทำให้ผู้ผลิตภายในประเทศจำเป็นต้องพึ่งพิงตลาดส่งออกมากขึ้น ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดภายในประเทศจึงยังคงดำเนินต่อไป และส่งผลให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดของตนไว้ อย่างไรก็ตาม ความต้องการในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลให้ความรุนแรงในการแข่งขันด้านราคาลดลง ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทวีนิไทยเป็นผู้ผลิตและจำหน่ายพีวีซีที่ใหญ่เป็นอันดับ 2 ของประเทศ โดยในปี 2545 มีกำลังการผลิตประมาณ 27% ของกำลังการผลิตรวมในประเทศ และมีส่วนแบ่งทางการตลาดจากยอดขาย 27% ของการบริโภคในประเทศ ผลิตภัณฑ์หลักของบริษัทประกอบด้วยพีวีซีและโซดาไฟ โดยลูกค้าสำคัญคือ ผู้ผลิตท่อพลาสติก ฟิล์ม แผ่นพลาสติก และสายไฟฟ้า
ทริสเรทติ้งกล่าวถึงกลุ่ม Solvay ซึ่งถือหุ้น 46% ในบริษัทวีนิไทยว่าเป็นหนึ่งในกลุ่มผู้ผลิตพีวีซีรายใหญ่ของโลกและมียอดขายรวมในปี 2545 ที่ประมาณ 7,918 ล้านยูโร และได้ร่วมดูแลการก่อสร้างโรงงานแบบครบวงจรของบริษัทวีนิไทยเพื่อให้ได้มาตรฐานสากล นอกจากนี้ กลุ่ม Solvay และซีพียังมีพันธะสัญญาภายใต้เงื่อนไขของหุ้นกู้ในการให้เงินช่วยเหลือแก่บริษัทในรูปของทุนหรือเงินกู้ด้อยสิทธิจำนวนไม่เกิน 800 ล้านบาทในกรณีที่กระแสเงินสดของบริษัทไม่เพียงพอที่จะชำระดอกเบี้ยและเงินต้นให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ด้วย
บริษัทวีนิไทยมีผลประกอบการที่ดีมากในปี 2543 และได้ลดลงอย่างมีนัยสำคัญในปี 2544 อย่างไรก็ตาม ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในปี 2545 ดีขึ้นอย่างมากและลดลงเล็กน้อยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 อัตราส่วนกำไรขั้นต้นก่อนหักค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายของบริษัทซึ่งเคยอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูงได้ลดลงจาก 40% ในปี 2543 เป็น 32% ในปี 2544 และกลับเพิ่มขึ้นเป็น 39% ในปี 2545 และยืนอยู่ที่ 36% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2546 รายได้เกือบทั้งหมดของบริษัทจากลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศจะอิงกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ ในขณะที่ต้นทุนการดำเนินงานประมาณ 50% มีความสัมพันธ์โดยตรงกับเงินสกุลดอลลาร์สหรัฐ อัตราส่วนหนี้สินรวมต่อโครงสร้างส่วนทุนของบริษัทเคยสูงถึง 85%-100% ในช่วงปี 2540-2542 ซึ่งสาเหตุหลักมาจากผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนที่เกิดจากหนี้สกุลเงินตราต่างประเทศหลังจากรัฐบาลประกาศลอยตัวค่าเงินบาทในช่วงวิกฤตเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย อัตราส่วนดังกล่าวได้ลดลงมาตามลำดับเป็น 62% ณ สิ้นปี 2543 หลังจากบริษัทประสบความสำเร็จในการเพิ่มทุนจำนวน 3,007 ล้านบาท และทยอยชำระหนี้ตามกำหนด หลังจากนั้นได้ลดลงมาอยู่ที่ 60% 50% และ 40% ณ สิ้นปี 2544 ปี 2545 และ ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 ตามลำดับ อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อหนี้สินรวมเพิ่มขึ้นจาก 2% ในปี 2541 เป็น 6% ในปี 2542 และเพิ่มมาอยู่ในระดับ 10%-24% ในช่วงปี 2543-2545 และอยู่ที่ 23% สำหรับ 9 เดือนแรกของปี 2546 (ยังไม่ได้ปรับอัตราส่วนให้เป็นตัวเลขเต็มปี)
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า Electro Chemical Unit (ECU) เป็นตัวชี้วัดการเคลื่อนไหวของระดับกำไรสำหรับผู้ผลิตพีวีซีแบบครบวงจร โดย ณ เดือนมีนาคม 2543 ECU อยู่ที่ระดับ 710 ดอลลาร์สหรัฐต่อตัน และลดลงมาอยู่ที่ระดับ 413 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในเดือนสิงหาคม 2544 จากนั้นได้กลับเพิ่มขึ้นในช่วงต้นปี 2545 โดยอยู่ในระดับสูงสุดที่ 633 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในเดือนพฤษภาคม 2545 และเป็น 479 ดอลลาร์สหรัฐต่อตันในเดือนตุลาคม 2546 เนื่องจากมีความเป็นไปได้สูงที่ในช่วงอีก 2-3 ปีข้างหน้าจะไม่มีการขยายกำลังการผลิตของพีวีซีโลกอย่างมีนัยสำคัญ ประกอบกับอุปสงค์ที่จะเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทำให้คาดการณ์ได้ว่าระดับ ECU โดยเฉลี่ยในระยะสั้นถึงระยะปานกลางจะคงอยู่ในระดับที่สูง อย่างไรก็ตาม อัตราภาษีนำเข้าพีวีซีในกลุ่มประเทศสมาชิกเขตการค้าเสรีอาเซียน (อาฟต้า) ได้ลดลงจาก 10% เป็น 5% ตั้งแต่เดือนมกราคม 2546 ส่วนภาษีนำเข้านอกกลุ่มอาฟต้ายังคงเป็น 20% อีกทั้งภาวะล้นตลาดของพีวีซีทำให้ผู้ผลิตภายในประเทศจำเป็นต้องพึ่งพิงตลาดส่งออกมากขึ้น ภาวะการแข่งขันที่รุนแรงของตลาดภายในประเทศจึงยังคงดำเนินต่อไป และส่งผลให้ผู้ผลิตจำเป็นต้องใช้กลยุทธ์ทางด้านราคาเพื่อรักษาส่วนแบ่งทางการตลาดของตนไว้ อย่างไรก็ตาม ความต้องการในประเทศที่เพิ่มสูงขึ้นอาจส่งผลให้ความรุนแรงในการแข่งขันด้านราคาลดลง ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ