บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศเพิ่มอันดับเครดิตหุ้นกู้มีประกัน 650 และ 550 ล้านบาท (SCON047A และ SCON061A) ของ บริษัท ซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) เป็นระดับ "A-" จากระดับ "BBB+" โดยสะท้อนความแข็งแกร่งของสถานะทางการเงินของบริษัทที่เพิ่มขึ้น การมีศูนย์การค้าที่มีคุณภาพดี และความเพียงพอของมูลค่าหลักประกันของศูนย์การค้า โดยผู้ถือหุ้นกู้จะได้รับการคุ้มครองที่เพียงพอจากอัตราส่วนของเงินกู้ต่อหลักประกันในระดับต่ำที่ 18.4% ณ เดือนธันวาคม 2546 รวมถึงจะได้รับโอนสิทธิรับเงินค่าเช่าและค่าบริการจากผู้เช่าพื้นที่ในศูนย์การค้าได้โดยตรงในกรณีที่เกิดเหตุผิดนัดตามข้อกำหนดสิทธิ อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตดังกล่าวได้พิจารณาถึงความเสี่ยงจากการที่บริษัทมีศูนย์การค้าเป็นแหล่งรายได้เพียงแห่งเดียว ตลอดจนจากหลักประกันที่มีสภาพคล่องต่ำ และภาวะธุรกิจค้าปลีกที่มีการแข่งขันสูง
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ก่อตั้งในปี 2533 จากการร่วมทุนระหว่างตระกูลซอโสตถิกุลและกลุ่มพันธมิตรเพื่อพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ผู้ถือหุ้นปัจจุบันประกอบด้วยตระกูลซอโสตถิกุล (70%) กลุ่มสถาบันการเงิน 5 แห่ง (27%) และผู้ถือหุ้นอื่น (3%) ศูนย์การค้าดังกล่าวมีพื้นที่รวม 509,412 ตารางเมตร (ตร.ม.) ซึ่งเป็นพื้นที่ให้เช่า 168,018 ตร.ม. ณ เดือนธันวาคม 2546 ปัจจัยที่ดึงดูดลูกค้า ได้แก่ ทำเลที่ตั้งบนถนนศรีนครินทร์ และร้านค้าปลีกที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ซึ่งมีอยู่จำนวนมากและหลากหลาย ในปี 2546 รายได้ค่าเช่าและค่าบริการจากผู้เช่า 10 รายใหญ่มีสัดส่วนประมาณ 24% และจากผู้เช่ารายใหญ่ที่สุดมีสัดส่วนไม่เกิน 6% ของรายได้ค่าเช่าและค่าบริการทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การมีศูนย์การค้าซึ่งเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดรายได้เพียงแห่งเดียวอาจทำให้บริษัทมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ อัตราการเช่าของศูนย์การค้าซีคอนสแควร์อยู่ในระดับเฉลี่ย 98% ระหว่างปี 2543-2546 โดยดีกว่าอัตราการเช่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมรวมซึ่งอยู่ที่ระดับ 91% ในช่วงเวลาเดียวกัน รายได้ค่าเช่าและค่าบริการของบริษัทเพิ่มขึ้น 9.4% ในปี 2545 และ 5.5% ในปี 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มอัตราค่าเช่าและค่าบริการ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ใหม่ อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้ค่าเช่าและค่าบริการและรายได้จากการขายของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 58.8% ในปี 2545 เป็น 62.2% ในปี 2546
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า บริษัทซีคอน ดีเวลลอปเมนท์มีสภาพคล่องดีขึ้นมากจากการที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่สม่ำเสมอ และมีภาระหนี้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายดีขึ้นจาก 5.6 เท่าในปี 2545 เป็น 8.2 เท่าในปี 2546 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมดีขึ้นมากจาก 26.9% ในปี 2545 เป็น 43.3% ในปี 2546 จากการที่บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอในการชำระหนี้ ทำให้อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทลดลงเป็น 21.4% ในปี 2546 จาก 27.7% ในปี 2545
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและการบริโภคภาคเอกชนที่เติบโตอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลดีต่อธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น อีกทั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยไว้ที่ระดับ 7%-8% ในปี 2547 โดยได้คำนึงถึงผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในช่วงครึ่งแรกของปี 2547 แล้ว นอกจากนี้ กฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ซึ่งจำกัดการขยายตัวของพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการเดิม อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกยังคงรุนแรง โดยเฉพาะจากกลุ่มซูเปอร์สโตร์ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายสาขาในขนาดพื้นที่ที่ลดลงเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดจากกฎหมายผังเมือง และยังคาดว่าการที่ศูนย์การค้าหลายแห่งมีแผนจะเปิดดำเนินการในปี 2548 เช่น สยามพารากอน และเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซา (เดิมชื่อ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์) จะมีส่วนทำให้การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นด้วย ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทซีคอน ดีเวลลอปเมนท์ก่อตั้งในปี 2533 จากการร่วมทุนระหว่างตระกูลซอโสตถิกุลและกลุ่มพันธมิตรเพื่อพัฒนาและบริหารศูนย์การค้าซีคอนสแควร์ ผู้ถือหุ้นปัจจุบันประกอบด้วยตระกูลซอโสตถิกุล (70%) กลุ่มสถาบันการเงิน 5 แห่ง (27%) และผู้ถือหุ้นอื่น (3%) ศูนย์การค้าดังกล่าวมีพื้นที่รวม 509,412 ตารางเมตร (ตร.ม.) ซึ่งเป็นพื้นที่ให้เช่า 168,018 ตร.ม. ณ เดือนธันวาคม 2546 ปัจจัยที่ดึงดูดลูกค้า ได้แก่ ทำเลที่ตั้งบนถนนศรีนครินทร์ และร้านค้าปลีกที่เป็นผู้เช่าพื้นที่ซึ่งมีอยู่จำนวนมากและหลากหลาย ในปี 2546 รายได้ค่าเช่าและค่าบริการจากผู้เช่า 10 รายใหญ่มีสัดส่วนประมาณ 24% และจากผู้เช่ารายใหญ่ที่สุดมีสัดส่วนไม่เกิน 6% ของรายได้ค่าเช่าและค่าบริการทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การมีศูนย์การค้าซึ่งเป็นแหล่งที่ก่อให้เกิดรายได้เพียงแห่งเดียวอาจทำให้บริษัทมีความเสี่ยงในการดำเนินธุรกิจ อัตราการเช่าของศูนย์การค้าซีคอนสแควร์อยู่ในระดับเฉลี่ย 98% ระหว่างปี 2543-2546 โดยดีกว่าอัตราการเช่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมรวมซึ่งอยู่ที่ระดับ 91% ในช่วงเวลาเดียวกัน รายได้ค่าเช่าและค่าบริการของบริษัทเพิ่มขึ้น 9.4% ในปี 2545 และ 5.5% ในปี 2546 โดยส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเพิ่มอัตราค่าเช่าและค่าบริการ รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ใหม่ อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้ค่าเช่าและค่าบริการและรายได้จากการขายของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 58.8% ในปี 2545 เป็น 62.2% ในปี 2546
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า บริษัทซีคอน ดีเวลลอปเมนท์มีสภาพคล่องดีขึ้นมากจากการที่มีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่สม่ำเสมอ และมีภาระหนี้ที่ลดลงอย่างต่อเนื่อง อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายดีขึ้นจาก 5.6 เท่าในปี 2545 เป็น 8.2 เท่าในปี 2546 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมดีขึ้นมากจาก 26.9% ในปี 2545 เป็น 43.3% ในปี 2546 จากการที่บริษัทมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานเพียงพอในการชำระหนี้ ทำให้อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทลดลงเป็น 21.4% ในปี 2546 จาก 27.7% ในปี 2545
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจและการบริโภคภาคเอกชนที่เติบโตอย่างต่อเนื่องได้ส่งผลดีต่อธุรกิจค้าปลีก เนื่องจากช่วยสร้างความเชื่อมั่นในการใช้จ่ายของผู้บริโภคมากขึ้น อีกทั้งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติยังได้คาดการณ์อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจของไทยไว้ที่ระดับ 7%-8% ในปี 2547 โดยได้คำนึงถึงผลกระทบจากการระบาดของโรคไข้หวัดนกในช่วงครึ่งแรกของปี 2547 แล้ว นอกจากนี้ กฎหมายผังเมืองฉบับใหม่ซึ่งจำกัดการขยายตัวของพื้นที่ค้าปลีกขนาดใหญ่จะส่งผลดีต่อผู้ประกอบการเดิม อย่างไรก็ตาม การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกยังคงรุนแรง โดยเฉพาะจากกลุ่มซูเปอร์สโตร์ซึ่งคาดว่าจะมีการขยายสาขาในขนาดพื้นที่ที่ลดลงเพื่อแก้ปัญหาข้อจำกัดจากกฎหมายผังเมือง และยังคาดว่าการที่ศูนย์การค้าหลายแห่งมีแผนจะเปิดดำเนินการในปี 2548 เช่น สยามพารากอน และเซ็นทรัล เวิลด์ พลาซา (เดิมชื่อ เวิลด์เทรดเซ็นเตอร์) จะมีส่วนทำให้การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นด้วย ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ