บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ยืนยันอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกันมูลค่า 5,000 ล้านบาท (KTC064A) ของ บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "A-" ในขณะเดียวกันได้จัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันมูลค่า 4,000 ล้านบาท และ 1,000 ล้านบาทของบริษัทที่ระดับ "A-" โดยสะท้อนสถานภาพการเป็นผู้นำในธุรกิจบัตรเครดิตรวมทั้งการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากผู้ถือหุ้นใหญ่คือ ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังสะท้อนความสามารถของทีมผู้บริหารตลอดจนประสิทธิภาพของระบบงานและระบบการบริหารความเสี่ยงของบริษัทด้วย อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งเหล่านี้ถูกลดทอนลงบางส่วนจากสภาพการแข่งขันที่รุนแรงในธุรกิจบัตรเครดิตและกฎเกณฑ์การควบคุมของทางการที่เข้มงวดขึ้น นอกจากนี้ หากบริษัทยังมีการขยายธุรกิจในเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง บริษัทก็จะต้องมีการบริหารสภาพคล่องทางการเงินอย่างรอบคอบเพื่อให้สามารถรักษาความยืดหยุ่นทางการเงินได้พอเพียง
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ในอดีต บริษัทบัตรกรุงไทยมีสถานภาพเป็นบริษัทย่อยของธนาคารกรุงไทย ในระหว่างปี 2539 ถึงเดือนมิถุนายน 2545 บริษัทให้บริการเฉพาะธุรกิจบริหารบัตรเครดิตแก่ธนาคารกรุงไทยโดยไม่มีการบันทึกรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินในรายการบัญชีของบริษัท แม้จะได้รับการแปรรูปและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนช่วงปลายปี 2545 แต่บริษัทก็ยังคงได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านการเงินและการตลาดจากธนาคารกรุงไทย โดย ณ สิ้นปี 2546 บริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อจำนวน 13,030 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การรองรับการขยายธุรกิจเชิงรุกทำให้บริษัทต้องหาวงเงินสินเชื่อเพิ่มจากแหล่งเงินทุนอื่น โดยจะคงสัดส่วนวงเงินสินเชื่อที่ได้รับจากธนาคารกรุงไทยเอาไว้เป็นแหล่งสำรองสุดท้าย หลังจากแยกตัวออกมาจากธนาคารกรุงไทยแล้ว บริษัทได้ใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก รวมทั้งยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมรายปีเพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น จำนวนผู้ถือบัตรเครดิตของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 171,266 ใบในปี 2544 เป็น 598,173 ใบในปี 2545 และ 785,107 ใบในปี 2546 และส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทเพิ่มจาก 7% ของธุรกิจบัตรเครดิตโดยรวมในปี 2544 มาเป็น 17.6% ในปี 2545 และ 17.7% ในปี 2546 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 บริษัทมียอดหนี้คงค้างสุทธิของธุรกิจบัตรเครดิต ณ สิ้นงวดที่ระดับ 11,173 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 78.1% ของสินทรัพย์รวม 14,297 ล้านบาทของบริษัท โดยบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 42.3% ในปี 2545 เป็น 51.5% ในปี 2546
บริษัทมีสัดส่วนการใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าต่อบัตร 1 ใบใน 1 เดือนลดลงจาก 5,113 บาทในปี 2545 เป็น 4,088 บาทในปี 2546 เนื่องจากผู้ถือบัตรจำนวนมากมีการถือครองบัตรเครดิตมากกว่า 1 ใบ กระนั้นการที่บริษัทมีจำนวนลูกค้าบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นก็ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าของบริษัทเพิ่มจาก 14,885 ล้านบาทในปี 2545 เป็น 26,087 ล้านบาทในปี 2546 นอกจากนี้ อัตราการใช้บัตรซ้ำ (Revolving Rate) ของบริษัทก็เพิ่มจาก 71.8% ของการใช้จ่ายในปี 2545 เป็น 78.6% ของการใช้จ่ายในปี 2546 บริษัทมีกำไรสุทธิ 245 ล้านบาท (ไม่รวมหนี้สูญรับคืน 108 ล้านบาท) ในปี 2546 เปรียบเทียบกับกำไรสุทธิ134 ล้านบาท (ไม่รวมหนี้สูญรับคืน 7 ล้านบาท) ในปี 2545 ในช่วงปลายปี 2546 บริษัทได้ขยายธุรกิจไปยังธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล โดยในช่วงต้นของปี 2547 ผู้บริหารของบริษัทคาดว่าธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลจะเป็นธุรกิจหลักอีกประเภทหนึ่งของบริษัท อัตราส่วนการใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยกว่าอัตราการเรียกเก็บเงินรายเดือนจากลูกค้า ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงต้องมีการบริหารสภาพคล่องอย่างรอบคอบเพื่อรักษากระแสสมดุลของกระแสเงินสด ถึงแม้ว่าอัตราค้างชำระที่มากกว่า 180 วันได้เพิ่มขึ้นจาก 0.7% ในปี 2545 เป็น 1.0% ในปี 2546 แต่ก็ยังเป็นระดับที่ยอมรับได้ ในการเตรียมตัวทางการเงินเพื่อการขยายธุรกิจในอนาคตนั้น บริษัทมีแผนจะขยายฐานแหล่งเงินทุนให้เพิ่มขึ้นซึ่งรวมทั้งวงเงินสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทยและการออกหุ้นกู้
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในระหว่างปี 2540-2542 ทำให้ทางการได้ออกกฏเกณฑ์ใหม่ๆ มาใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและรักษาเสถียรภาพทางการเงิน โดยในเดือนมีนาคม 2547 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เตรียมนำมาตรการควบคุมใหม่ๆ มาใช้ เช่น กำหนดให้การผ่อนชำระขั้นต่ำของผู้ถือบัตรเพิ่มจาก 5% เป็น 10% ของภาระหนี้ หรือไม่อนุญาตให้ภาระหนี้คงค้างของลูกค้าในแต่ละบัญชีสูงเกินกว่า 5 เท่าของฐานเงินเดือน ซึ่งผู้ประกอบการบัตรเครดิตอาจได้รับผลกระทบในด้านกระแสรายรับในการทำธุรกิจจากมาตรการเหล่านี้ ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ในอดีต บริษัทบัตรกรุงไทยมีสถานภาพเป็นบริษัทย่อยของธนาคารกรุงไทย ในระหว่างปี 2539 ถึงเดือนมิถุนายน 2545 บริษัทให้บริการเฉพาะธุรกิจบริหารบัตรเครดิตแก่ธนาคารกรุงไทยโดยไม่มีการบันทึกรายการทรัพย์สินหรือหนี้สินในรายการบัญชีของบริษัท แม้จะได้รับการแปรรูปและจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนช่วงปลายปี 2545 แต่บริษัทก็ยังคงได้รับการสนับสนุนทั้งในด้านการเงินและการตลาดจากธนาคารกรุงไทย โดย ณ สิ้นปี 2546 บริษัทได้รับวงเงินสินเชื่อจำนวน 13,030 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การรองรับการขยายธุรกิจเชิงรุกทำให้บริษัทต้องหาวงเงินสินเชื่อเพิ่มจากแหล่งเงินทุนอื่น โดยจะคงสัดส่วนวงเงินสินเชื่อที่ได้รับจากธนาคารกรุงไทยเอาไว้เป็นแหล่งสำรองสุดท้าย หลังจากแยกตัวออกมาจากธนาคารกรุงไทยแล้ว บริษัทได้ใช้กลยุทธ์การตลาดเชิงรุก รวมทั้งยกเลิกการคิดค่าธรรมเนียมรายปีเพื่อขยายฐานลูกค้าให้กว้างขึ้น จำนวนผู้ถือบัตรเครดิตของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 171,266 ใบในปี 2544 เป็น 598,173 ใบในปี 2545 และ 785,107 ใบในปี 2546 และส่วนแบ่งการตลาดของบริษัทเพิ่มจาก 7% ของธุรกิจบัตรเครดิตโดยรวมในปี 2544 มาเป็น 17.6% ในปี 2545 และ 17.7% ในปี 2546 ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 บริษัทมียอดหนี้คงค้างสุทธิของธุรกิจบัตรเครดิต ณ สิ้นงวดที่ระดับ 11,173 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็น 78.1% ของสินทรัพย์รวม 14,297 ล้านบาทของบริษัท โดยบริษัทมีสัดส่วนรายได้จากดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจาก 42.3% ในปี 2545 เป็น 51.5% ในปี 2546
บริษัทมีสัดส่วนการใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าต่อบัตร 1 ใบใน 1 เดือนลดลงจาก 5,113 บาทในปี 2545 เป็น 4,088 บาทในปี 2546 เนื่องจากผู้ถือบัตรจำนวนมากมีการถือครองบัตรเครดิตมากกว่า 1 ใบ กระนั้นการที่บริษัทมีจำนวนลูกค้าบัตรเครดิตเพิ่มขึ้นก็ทำให้ปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าของบริษัทเพิ่มจาก 14,885 ล้านบาทในปี 2545 เป็น 26,087 ล้านบาทในปี 2546 นอกจากนี้ อัตราการใช้บัตรซ้ำ (Revolving Rate) ของบริษัทก็เพิ่มจาก 71.8% ของการใช้จ่ายในปี 2545 เป็น 78.6% ของการใช้จ่ายในปี 2546 บริษัทมีกำไรสุทธิ 245 ล้านบาท (ไม่รวมหนี้สูญรับคืน 108 ล้านบาท) ในปี 2546 เปรียบเทียบกับกำไรสุทธิ134 ล้านบาท (ไม่รวมหนี้สูญรับคืน 7 ล้านบาท) ในปี 2545 ในช่วงปลายปี 2546 บริษัทได้ขยายธุรกิจไปยังธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคล โดยในช่วงต้นของปี 2547 ผู้บริหารของบริษัทคาดว่าธุรกิจสินเชื่อส่วนบุคคลจะเป็นธุรกิจหลักอีกประเภทหนึ่งของบริษัท อัตราส่วนการใช้จ่ายผ่านบัตรของลูกค้าเพิ่มสูงขึ้นเล็กน้อยกว่าอัตราการเรียกเก็บเงินรายเดือนจากลูกค้า ด้วยเหตุนี้บริษัทจึงต้องมีการบริหารสภาพคล่องอย่างรอบคอบเพื่อรักษากระแสสมดุลของกระแสเงินสด ถึงแม้ว่าอัตราค้างชำระที่มากกว่า 180 วันได้เพิ่มขึ้นจาก 0.7% ในปี 2545 เป็น 1.0% ในปี 2546 แต่ก็ยังเป็นระดับที่ยอมรับได้ ในการเตรียมตัวทางการเงินเพื่อการขยายธุรกิจในอนาคตนั้น บริษัทมีแผนจะขยายฐานแหล่งเงินทุนให้เพิ่มขึ้นซึ่งรวมทั้งวงเงินสินเชื่อจากธนาคารกรุงไทยและการออกหุ้นกู้
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตการณ์ทางการเงินในระหว่างปี 2540-2542 ทำให้ทางการได้ออกกฏเกณฑ์ใหม่ๆ มาใช้เพื่อคุ้มครองผู้บริโภคและรักษาเสถียรภาพทางการเงิน โดยในเดือนมีนาคม 2547 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เตรียมนำมาตรการควบคุมใหม่ๆ มาใช้ เช่น กำหนดให้การผ่อนชำระขั้นต่ำของผู้ถือบัตรเพิ่มจาก 5% เป็น 10% ของภาระหนี้ หรือไม่อนุญาตให้ภาระหนี้คงค้างของลูกค้าในแต่ละบัญชีสูงเกินกว่า 5 เท่าของฐานเงินเดือน ซึ่งผู้ประกอบการบัตรเครดิตอาจได้รับผลกระทบในด้านกระแสรายรับในการทำธุรกิจจากมาตรการเหล่านี้ ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ