บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ปรับเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) หรือ RATCH เป็นระดับ "AA-" จากเดิมที่ "A+" โดยสะท้อนถึงรายได้ที่สม่ำเสมอในรูปเงินปันผลที่ได้รับจากบริษัทลูกที่สำคัญคือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด หรือ RATCHGEN ตลอดจนนโยบายการลงทุนที่ระมัดระวัง และความพร้อมของบริษัทในการประมูลโรงไฟฟ้าแห่งใหม่ อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนลงบางส่วนจากการที่เจ้าหนี้ของ RATCH มีสิทธิในการรับชำระหนี้และเรียกร้องสิทธิในสินทรัพย์ของ RATCHGEN ที่ด้อยกว่าเจ้าหนี้ของ RATCHGEN เอง รวมทั้งความไม่แน่นอนของการแปรรูปกิจการไฟฟ้าในอนาคต โดยแนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนถึงการที่บริษัทได้รับเงินปันผลที่แน่นอนจาก RATCHGEN รวมทั้งยังคาดว่าบริษัทจะตัดสินใจลงทุนในอนาคตอย่างรอบคอบและระมัดระวัง
ในขณะเดียวกัน ทริสเรทติ้งยังได้ปรับเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรของ RATCHGEN เป็นระดับ "AA" จากเดิมที่ "AA-" ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในการบริหารโรงไฟฟ้า ตลอดจนกระแสเงินสดที่แน่นอนจากโรงไฟฟ้าราชบุรีซึ่งมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และประสบการณ์ที่ยาวนานของผู้ปฏิบัติการโรงไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงความเสี่ยงในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าและความไม่แน่นอนของการแปรรูปกิจการไฟฟ้าในอนาคตด้วยเช่นกัน ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนความคาดหวังของทริสเรทติ้งว่า RATCHGEN จะยังคงได้รับกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากรายได้ค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าราชบุรี และคาดว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะดำรงความสามารถในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต่อไปได้
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ปัจจุบัน RATCH ซึ่งถือหุ้น 45% โดย กฟผ. มีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 3,995 เมกะวัตต์ โดย 3,645 เมกะวัตต์มาจากกำลังการผลิตของบริษัทลูกที่สำคัญที่บริษัทถือหุ้น 99.99% คือ RATCHGEN และยังมีส่วนแบ่งกำลังการผลิตอีก 350 เมกะวัตต์จากบริษัทลูกอีกแห่งหนึ่งซึ่งบริษัทได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 50% คือ บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด (TECO) บริษัทได้รับเงินปันผลในปี 2547 จำนวน 5,796 ล้านบาทจาก RATCHGEN และจำนวน 241 ล้านบาทจาก TECO นอกจากนี้ บริษัทยังมีการลงทุนในโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีกหลายโครงการ ได้แก่ บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด ในสัดส่วน 25% บริษัท สยามเอทานอลเอ็กซ์ปอร์ท จำกัด ในสัดส่วน 15% และโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ทั้งนี้ RATCH ได้รับเงินปันผลที่สม่ำเสมอจาก RATCHGEN ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการโรงไฟฟ้าราชบุรีที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีผู้ปฏิบัติการโรงไฟฟ้าประสบการณ์สูง ในปี 2547 บริษัทมีรายได้ 39,714 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 35,528 ล้านบาทในปี 2546 โดยกำไรสุทธิของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 5,424 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 6,487 ล้านบาทในปี 2547
ทริสเรทติ้งกล่าวถึง RATCHGEN ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม ณ เดือนธันวาคม 2547 ขนาด 3,645 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับ 14% ของกำลังการผลิตติดตั้งรวมของทั้งประเทศ บริษัทมีสัญญาขายไฟฟ้า (PPA) นาน 25 ปีให้แก่ กฟผ. และมีสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติ (MGSA) นาน 25 ปีจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) RATCHGEN มีผลประกอบการในปี 2547 อยู่ในระดับที่น่าพอใจ บริษัทสามารถดำรงค่าความพร้อมจ่ายเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนให้อยู่ที่ระดับ 96% และของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมให้อยู่ที่ระดับ 92% รายได้จากการขายไฟฟ้าของบริษัทเพิ่มขึ้น 11.8% จาก 35,528 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 39,714 ล้านบาทในปี 2547 และมีอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ซึ่งไม่รวมบัญชีเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้แต่หักส่วนเปลี่ยนแปลงสุทธิของเงินทุนหมุนเวียนแล้วอยู่ที่ระดับ 1.7 เท่า ณ สิ้นปี 2547 -- จบ
ในขณะเดียวกัน ทริสเรทติ้งยังได้ปรับเพิ่มอันดับเครดิตองค์กรของ RATCHGEN เป็นระดับ "AA" จากเดิมที่ "AA-" ซึ่งสะท้อนถึงความสำเร็จในการบริหารโรงไฟฟ้า ตลอดจนกระแสเงินสดที่แน่นอนจากโรงไฟฟ้าราชบุรีซึ่งมีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่งและเทคโนโลยีที่ทันสมัย และประสบการณ์ที่ยาวนานของผู้ปฏิบัติการโรงไฟฟ้า ในขณะเดียวกัน อันดับเครดิตยังสะท้อนถึงความเสี่ยงในการดำเนินงานของโรงไฟฟ้าและความไม่แน่นอนของการแปรรูปกิจการไฟฟ้าในอนาคตด้วยเช่นกัน ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนความคาดหวังของทริสเรทติ้งว่า RATCHGEN จะยังคงได้รับกระแสเงินสดที่สม่ำเสมอจากรายได้ค่าไฟฟ้าจากโรงไฟฟ้าราชบุรี และคาดว่าโรงไฟฟ้าดังกล่าวจะดำรงความสามารถในการดำเนินงานให้สอดคล้องกับเป้าหมายของสัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ต่อไปได้
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ปัจจุบัน RATCH ซึ่งถือหุ้น 45% โดย กฟผ. มีกำลังการผลิตไฟฟ้าทั้งหมด 3,995 เมกะวัตต์ โดย 3,645 เมกะวัตต์มาจากกำลังการผลิตของบริษัทลูกที่สำคัญที่บริษัทถือหุ้น 99.99% คือ RATCHGEN และยังมีส่วนแบ่งกำลังการผลิตอีก 350 เมกะวัตต์จากบริษัทลูกอีกแห่งหนึ่งซึ่งบริษัทได้เพิ่มสัดส่วนการถือหุ้นเป็น 50% คือ บริษัท ไตร เอนเนอจี้ จำกัด (TECO) บริษัทได้รับเงินปันผลในปี 2547 จำนวน 5,796 ล้านบาทจาก RATCHGEN และจำนวน 241 ล้านบาทจาก TECO นอกจากนี้ บริษัทยังมีการลงทุนในโครงการที่อยู่ระหว่างการพัฒนาอีกหลายโครงการ ได้แก่ บริษัท ราชบุรีเพาเวอร์ จำกัด ในสัดส่วน 25% บริษัท สยามเอทานอลเอ็กซ์ปอร์ท จำกัด ในสัดส่วน 15% และโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทน ทั้งนี้ RATCH ได้รับเงินปันผลที่สม่ำเสมอจาก RATCHGEN ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติการโรงไฟฟ้าราชบุรีที่มีปัจจัยพื้นฐานแข็งแกร่ง มีเทคโนโลยีที่ทันสมัย และมีผู้ปฏิบัติการโรงไฟฟ้าประสบการณ์สูง ในปี 2547 บริษัทมีรายได้ 39,714 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 35,528 ล้านบาทในปี 2546 โดยกำไรสุทธิของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 5,424 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 6,487 ล้านบาทในปี 2547
ทริสเรทติ้งกล่าวถึง RATCHGEN ว่าเป็นบริษัทผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยซึ่งมีกำลังการผลิตติดตั้งรวม ณ เดือนธันวาคม 2547 ขนาด 3,645 เมกะวัตต์ หรือเท่ากับ 14% ของกำลังการผลิตติดตั้งรวมของทั้งประเทศ บริษัทมีสัญญาขายไฟฟ้า (PPA) นาน 25 ปีให้แก่ กฟผ. และมีสัญญาซื้อก๊าซธรรมชาติ (MGSA) นาน 25 ปีจาก บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) RATCHGEN มีผลประกอบการในปี 2547 อยู่ในระดับที่น่าพอใจ บริษัทสามารถดำรงค่าความพร้อมจ่ายเฉลี่ยของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนให้อยู่ที่ระดับ 96% และของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมให้อยู่ที่ระดับ 92% รายได้จากการขายไฟฟ้าของบริษัทเพิ่มขึ้น 11.8% จาก 35,528 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 39,714 ล้านบาทในปี 2547 และมีอัตราส่วนความสามารถในการชำระหนี้ซึ่งไม่รวมบัญชีเงินสำรองเพื่อการชำระหนี้แต่หักส่วนเปลี่ยนแปลงสุทธิของเงินทุนหมุนเวียนแล้วอยู่ที่ระดับ 1.7 เท่า ณ สิ้นปี 2547 -- จบ