บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตหุ้นกู้ที่มีการค้ำประกันมูลค่า 6,500 ล้านบาท และ 4,000 ล้านบาท (UTT07DA และ UTT083A) ของ บริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง จำกัด ที่ระดับ "AAA" เท่าเดิม โดยหุ้นกู้ดังกล่าวได้รับการค้ำประกันเต็มจำนวนจากบริษัทแม่คือ Unilever N.V. ซึ่งได้รับอันดับเครดิตในระดับ "A+" และ "A1" จากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์และมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส ตามลำดับ โดยอันดับเครดิตตราสารหนี้ดังกล่าวอยู่บนพื้นฐานความน่าเชื่อถือของผู้ค้ำประกัน แม้ว่าผู้ค้ำประกันจะไม่มีข้อผูกพันในการชำระแทนผู้ออกตราสารในกรณีที่ผู้ออกตราสารไม่สามารถชำระเงินตามข้อผูกพันได้เนื่องจากการแทรกแซงของทางรัฐบาล หรือถูกยึด อายัด หรือเวนคืนทรัพย์สินของผู้ออกตราสารโดยรัฐบาลไทย แต่ทริสเรทติ้งเห็นว่าความเป็นไปได้ที่จะเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวมีค่อนข้างต่ำ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ภายใต้ข้อตกลงค้ำประกัน บริษัทแม่ผู้ค้ำประกันตกลงให้การค้ำประกันเต็มจำนวนต่อหุ้นกู้ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตดังกล่าวของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง อย่างไม่มีเงื่อนไขและไม่สามารถเพิกถอนได้ รวมทั้งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบภาระหนี้แห่งการค้ำประกันทันที อย่างไรก็ตาม การค้ำประกันดังกล่าวจะไม่มีผลผูกพันต่อผู้ค้ำประกันหากผู้ออกตราสารไม่สามารถชำระหนี้หุ้นกู้เนื่องจากถูกแทรกแซงโดยรัฐบาลไทยซึ่งมีผลทำให้ผู้ออกตราสารไม่สามารถโอนเงินหรือแปลงเงินตราต่างประเทศเพื่อการชำระหนี้ได้ หรือถูกยึด อายัด หรือเวนคืนทรัพย์สินของผู้ออกตราสารหรือบริษัทย่อยของผู้ออกตราสารซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน หรือมีการโอนทรัพย์สินไปยังนิติบุคคลอื่นใดที่มิใช่บริษัทในกลุ่มของผู้ค้ำประกันโดยการโอนดังกล่าวเป็นผลจากการแทรกแซงของรัฐบาลไทยหรือหน่วยงานของรัฐบาลไทย การค้ำประกันหุ้นกู้ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศอังกฤษดังกล่าวนี้ไม่สามารถเพิกถอนได้จนกว่าภาระผูกพันโดยผู้ออกตราสารจะถูกชำระจนครบถ้วน
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า Unilever N.V. และ Unilever PLC ซึ่งเรียกรวมกันว่า Unilever Group หรือ Unilever เป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในประเทศเนเธอร์แลนด์และอังกฤษตามลำดับ บริษัทแม่ทั้งสองดังกล่าวของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง ดำเนินงานเสมือนเป็นบริษัทเดียวกันเนื่องจากมีกรรมการร่วมกันและเชื่อมโยงกันด้วยข้อสัญญาต่างๆ ดังนั้น ทั้ง 2 บริษัทจึงมีอันดับเครดิตที่เท่ากันคือ "A+" จากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และ "A1" จากมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสตามลำดับ อันดับเครดิตของ Unilever สะท้อนความเป็นผู้นำระดับโลกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายทั้งในด้านของประเภทผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภครวมถึงกลุ่มลูกค้าของบริษัท นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงจุดแข็งของช่องทางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ Unilever ไปยังตลาดประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูง กระแสเงินสดที่ค่อนข้างสม่ำเสมอและฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนด้วยอัตราการก่อหนี้ของบริษัทที่ยังคงสูงอยู่จากการซื้อกิจการของ Bestfoods และอัตราการเติบโตของธุรกิจที่ชะลอตัวในตลาดหลัก รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงทั่วโลกในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภค ซึ่งทำให้บริษัทประสบปัญหาในการรักษาตำแหน่งผู้นำทางการตลาดและอัตราส่วนการทำกำไรที่น่าพอใจ
อันดับเครดิตของ Unilever คงอยู่ที่ "AAA" โดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และที่ "Aaa" โดยมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสเป็นเวลานานก่อนที่จะถูกลดลงมาที่ "A+" และ "A1" ในปี 2543 เนื่องจากผลกระทบจากการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นและความพอเพียงของกระแสเงินสดที่ลดลงจากการซื้อกิจการของ Bestfoods ในปี 2543 กระนั้นบริษัทก็ยังสามารถชำระคืนหนี้ได้อย่างต่อเนื่องด้วยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานและเงินจากการขายสินทรัพย์ของบริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงมีอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนที่อยู่ในระดับสูงมากกว่า 70% ณ สิ้นปี 2546 ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งกล่าวว่า อันดับเครดิตในระดับปัจจุบันของกลุ่มบริษัท Unilever เป็นการประเมินซึ่งอยู่บนสมมติฐานที่กลุ่มบริษัทจะไม่มีการใช้เงินกู้ยืมจำนวนมากเพื่อการซื้อกิจการใหญ่เพิ่มเติมอีก -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ภายใต้ข้อตกลงค้ำประกัน บริษัทแม่ผู้ค้ำประกันตกลงให้การค้ำประกันเต็มจำนวนต่อหุ้นกู้ที่ได้รับการจัดอันดับเครดิตดังกล่าวของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง อย่างไม่มีเงื่อนไขและไม่สามารถเพิกถอนได้ รวมทั้งผู้ค้ำประกันจะต้องรับผิดชอบภาระหนี้แห่งการค้ำประกันทันที อย่างไรก็ตาม การค้ำประกันดังกล่าวจะไม่มีผลผูกพันต่อผู้ค้ำประกันหากผู้ออกตราสารไม่สามารถชำระหนี้หุ้นกู้เนื่องจากถูกแทรกแซงโดยรัฐบาลไทยซึ่งมีผลทำให้ผู้ออกตราสารไม่สามารถโอนเงินหรือแปลงเงินตราต่างประเทศเพื่อการชำระหนี้ได้ หรือถูกยึด อายัด หรือเวนคืนทรัพย์สินของผู้ออกตราสารหรือบริษัทย่อยของผู้ออกตราสารซึ่งทรัพย์สินดังกล่าวมีมูลค่าไม่น้อยกว่าจำนวนที่ระบุไว้ในสัญญาค้ำประกัน หรือมีการโอนทรัพย์สินไปยังนิติบุคคลอื่นใดที่มิใช่บริษัทในกลุ่มของผู้ค้ำประกันโดยการโอนดังกล่าวเป็นผลจากการแทรกแซงของรัฐบาลไทยหรือหน่วยงานของรัฐบาลไทย การค้ำประกันหุ้นกู้ซึ่งอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศอังกฤษดังกล่าวนี้ไม่สามารถเพิกถอนได้จนกว่าภาระผูกพันโดยผู้ออกตราสารจะถูกชำระจนครบถ้วน
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า Unilever N.V. และ Unilever PLC ซึ่งเรียกรวมกันว่า Unilever Group หรือ Unilever เป็นบริษัทมหาชนที่จดทะเบียนในประเทศเนเธอร์แลนด์และอังกฤษตามลำดับ บริษัทแม่ทั้งสองดังกล่าวของบริษัท ยูนิลีเวอร์ ไทย เทรดดิ้ง ดำเนินงานเสมือนเป็นบริษัทเดียวกันเนื่องจากมีกรรมการร่วมกันและเชื่อมโยงกันด้วยข้อสัญญาต่างๆ ดังนั้น ทั้ง 2 บริษัทจึงมีอันดับเครดิตที่เท่ากันคือ "A+" จากสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และ "A1" จากมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสตามลำดับ อันดับเครดิตของ Unilever สะท้อนความเป็นผู้นำระดับโลกในกลุ่มผลิตภัณฑ์ที่มีความหลากหลายทั้งในด้านของประเภทผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภครวมถึงกลุ่มลูกค้าของบริษัท นอกจากนี้ อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงจุดแข็งของช่องทางในการจัดจำหน่ายผลิตภัณฑ์ของ Unilever ไปยังตลาดประเทศกำลังพัฒนาซึ่งมีอัตราการขยายตัวสูง กระแสเงินสดที่ค่อนข้างสม่ำเสมอและฐานะทางการเงินที่ดีขึ้นเรื่อยๆ อย่างไรก็ตาม จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนด้วยอัตราการก่อหนี้ของบริษัทที่ยังคงสูงอยู่จากการซื้อกิจการของ Bestfoods และอัตราการเติบโตของธุรกิจที่ชะลอตัวในตลาดหลัก รวมถึงการแข่งขันที่รุนแรงทั่วโลกในอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์อุปโภคและบริโภค ซึ่งทำให้บริษัทประสบปัญหาในการรักษาตำแหน่งผู้นำทางการตลาดและอัตราส่วนการทำกำไรที่น่าพอใจ
อันดับเครดิตของ Unilever คงอยู่ที่ "AAA" โดยสแตนดาร์ด แอนด์ พัวร์ และที่ "Aaa" โดยมูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิสเป็นเวลานานก่อนที่จะถูกลดลงมาที่ "A+" และ "A1" ในปี 2543 เนื่องจากผลกระทบจากการก่อหนี้ที่เพิ่มขึ้นและความพอเพียงของกระแสเงินสดที่ลดลงจากการซื้อกิจการของ Bestfoods ในปี 2543 กระนั้นบริษัทก็ยังสามารถชำระคืนหนี้ได้อย่างต่อเนื่องด้วยกระแสเงินสดจากการดำเนินงานและเงินจากการขายสินทรัพย์ของบริษัท อย่างไรก็ตาม บริษัทยังคงมีอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนที่อยู่ในระดับสูงมากกว่า 70% ณ สิ้นปี 2546 ทั้งนี้ ทริสเรทติ้งกล่าวว่า อันดับเครดิตในระดับปัจจุบันของกลุ่มบริษัท Unilever เป็นการประเมินซึ่งอยู่บนสมมติฐานที่กลุ่มบริษัทจะไม่มีการใช้เงินกู้ยืมจำนวนมากเพื่อการซื้อกิจการใหญ่เพิ่มเติมอีก -- จบ