บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศลดอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน 7,000 ล้านบาท (CPF063A) ของ บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) จากระดับ "A+" เป็น "A" โดยอันดับเครดิตที่ลดลงสะท้อนถึงความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมซึ่งทำให้ความสามารถในการทำกำไรของบริษัทถดถอยลง ในขณะที่ความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ ปัญหาโรคระบาด และมาตรการที่เข้มงวดยิ่งขึ้นของประเทศผู้นำเข้าล้วนเป็นปัจจัยที่กระทบผลการดำเนินงานของบริษัท อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตยังคงสะท้อนถึงความได้เปรียบในเชิงแข่งขันของบริษัทจากสถานะผู้นำในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม การกระจายความเสี่ยงของธุรกิจที่มีสินค้าหลากหลายและมีการลงทุนในประเทศต่างๆ ตลอดจนความสามารถของทีมผู้บริหารในการปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ให้สอดคล้องกับภาวะธุรกิจที่เปลี่ยนแปลงไป
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งธุรกิจดังกล่าวถือเป็นธุรกิจหลักของเครือเจริญโภคภัณฑ์ด้วย ปัจจุบัน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) และบริษัทที่เกี่ยวข้องถือหุ้นในบริษัทจำนวน 49.30% บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดในธุรกิจอาหารกุ้งมากกว่า 50% และในธุรกิจอาหารสัตว์ประมาณ 38% การทำธุรกิจไก่ครบวงจรส่งผลให้สินค้าของบริษัทมีคุณภาพได้มาตรฐานสำหรับส่งออกไปขายในสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ในส่วนของธุรกิจกุ้งนั้น บริษัทเน้นสินค้าอาหารกุ้งและการส่งออกกุ้งแปรรูป การให้ความสำคัญกับสินค้าแปรรูปหรือสินค้าสำเร็จรูปทั้งในธุรกิจสัตว์บกและสัตว์น้ำทำให้บริษัทสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้า อีกทั้งยังเป็นการลดความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ด้วย บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 18% ในปี 2542 เป็น 22% ในปี 2543-2546 นอกจากนี้บริษัทยังได้กระจายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆ เช่น ธุรกิจสัตว์น้ำในประเทศจีนและธุรกิจไก่ครบวงจรในประเทศตุรกี โดยบริษัทได้ลงทุนถือหุ้นในสัดส่วน 84%ในบริษัท C.P. Standart Gida Sanayi ve Ticaret Anonim Sirketi (CPS) มูลค่า 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ CPS มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งในธุรกิจไก่เนื้อและอาหารสัตว์ในประเทศตุรกี ซึ่งการที่มีรายได้จากการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นดังกล่าวทำให้บริษัทลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดในประเทศลง
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารในปี 2546 ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าสัตว์บกที่ตกต่ำในช่วงไตรมาสแรกของปี 2546 อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและผู้ผลิตในการควบคุมปริมาณผลผลิตทำให้สถานการณ์โดยรวมดีขึ้น และส่งผลให้บริษัทมียอดขายโดยรวมของปี 2546 เพิ่มขึ้น 10.60% จากปี 2545 การระบาดของโรคไข้หวัดนกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ส่งผลให้ปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ลดลงอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการประกาศห้ามนำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภทไก่ปรุงสุกยังสามารถส่งออกไปยังประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญได้ เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้ผู้ส่งออกไก่ของไทยหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าประเภทปรุงสุกมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อบริษัทเนื่องจากบริษัทมีการเตรียมความพร้อมด้านกำลังการผลิตสินค้าปรุงสุกมากกว่าคู่แข่ง ส่วนการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาฟ้องร้องผู้ส่งออกกุ้งของไทยกรณีการทุ่มตลาดสินค้ากุ้งนั้นได้ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้ เพราะความไม่แน่นอนของอัตราภาษีทุ่มตลาดที่จะถูกเรียกเก็บทำให้เกษตรกรลดการเลี้ยงกุ้งและส่งผลต่อความต้องการอาหารกุ้ง
อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายของบริษัทลดลงเป็น 5.15% ในปี 2546 จาก 6.96% ในปี 2545 และอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมลดลงเป็น 15.73% จาก 18.16% ในปี 2545 สภาพคล่องของบริษัทในช่วงปี 2547-2549 มีแนวโน้มที่ตึงตัวเนื่องจากบริษัทมีภาระหนี้เงินกู้และหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระประมาณ 4,000-6,000 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความยืดหยุ่นทางการเงินและโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่มีอัตราส่วนเงินกู้ในระดับปานกลางที่ประมาณ 50% แล้วคาดว่าบริษัทจะมีความสามารถในการจัดหาเงินกู้ใหม่เพื่อทดแทนเงินกู้เดิมได้
ทริสเรทติ้งยังกล่าวด้วยว่า การแข่งขันในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากประเทศผู้นำเข้ามีการดำเนินมาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดขึ้น รวมทั้งมีการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ เช่น การกำหนดโควต้าซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่มีการแข่งขันในตลาดโลกโดยรวมถึงบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารด้วย -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารเป็นผู้ประกอบการธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ซึ่งธุรกิจดังกล่าวถือเป็นธุรกิจหลักของเครือเจริญโภคภัณฑ์ด้วย ปัจจุบัน บริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) และบริษัทที่เกี่ยวข้องถือหุ้นในบริษัทจำนวน 49.30% บริษัทมีส่วนแบ่งทางการตลาดในธุรกิจอาหารกุ้งมากกว่า 50% และในธุรกิจอาหารสัตว์ประมาณ 38% การทำธุรกิจไก่ครบวงจรส่งผลให้สินค้าของบริษัทมีคุณภาพได้มาตรฐานสำหรับส่งออกไปขายในสหภาพยุโรปและญี่ปุ่น ในส่วนของธุรกิจกุ้งนั้น บริษัทเน้นสินค้าอาหารกุ้งและการส่งออกกุ้งแปรรูป การให้ความสำคัญกับสินค้าแปรรูปหรือสินค้าสำเร็จรูปทั้งในธุรกิจสัตว์บกและสัตว์น้ำทำให้บริษัทสามารถเพิ่มมูลค่าของสินค้า อีกทั้งยังเป็นการลดความผันผวนของราคาผลิตภัณฑ์ด้วย บริษัทมีสัดส่วนรายได้จากการส่งออกเพิ่มขึ้นจาก 18% ในปี 2542 เป็น 22% ในปี 2543-2546 นอกจากนี้บริษัทยังได้กระจายการลงทุนไปยังประเทศต่างๆ เช่น ธุรกิจสัตว์น้ำในประเทศจีนและธุรกิจไก่ครบวงจรในประเทศตุรกี โดยบริษัทได้ลงทุนถือหุ้นในสัดส่วน 84%ในบริษัท C.P. Standart Gida Sanayi ve Ticaret Anonim Sirketi (CPS) มูลค่า 22 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้ CPS มีส่วนแบ่งทางการตลาดสูงเป็นอันดับหนึ่งในธุรกิจไก่เนื้อและอาหารสัตว์ในประเทศตุรกี ซึ่งการที่มีรายได้จากการส่งออกและการลงทุนในต่างประเทศเพิ่มขึ้นดังกล่าวทำให้บริษัทลดความเสี่ยงจากการพึ่งพาตลาดในประเทศลง
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ผลการดำเนินงานของบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารในปี 2546 ได้รับผลกระทบจากราคาสินค้าสัตว์บกที่ตกต่ำในช่วงไตรมาสแรกของปี 2546 อย่างไรก็ตาม ความร่วมมือระหว่างรัฐบาลและผู้ผลิตในการควบคุมปริมาณผลผลิตทำให้สถานการณ์โดยรวมดีขึ้น และส่งผลให้บริษัทมียอดขายโดยรวมของปี 2546 เพิ่มขึ้น 10.60% จากปี 2545 การระบาดของโรคไข้หวัดนกในช่วงไตรมาสแรกของปี 2547 ส่งผลให้ปริมาณการบริโภคเนื้อไก่ลดลงอย่างมากทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมีการประกาศห้ามนำเข้าไก่สดแช่เย็นแช่แข็งจากประเทศไทยด้วย อย่างไรก็ตาม สินค้าประเภทไก่ปรุงสุกยังสามารถส่งออกไปยังประเทศผู้นำเข้าที่สำคัญได้ เช่น สหภาพยุโรป และญี่ปุ่น ทำให้ผู้ส่งออกไก่ของไทยหันมาให้ความสำคัญกับการผลิตสินค้าประเภทปรุงสุกมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลดีต่อบริษัทเนื่องจากบริษัทมีการเตรียมความพร้อมด้านกำลังการผลิตสินค้าปรุงสุกมากกว่าคู่แข่ง ส่วนการที่ประเทศสหรัฐอเมริกาฟ้องร้องผู้ส่งออกกุ้งของไทยกรณีการทุ่มตลาดสินค้ากุ้งนั้นได้ส่งผลกระทบในเชิงลบต่อผลการดำเนินงานของบริษัท ทั้งนี้ เพราะความไม่แน่นอนของอัตราภาษีทุ่มตลาดที่จะถูกเรียกเก็บทำให้เกษตรกรลดการเลี้ยงกุ้งและส่งผลต่อความต้องการอาหารกุ้ง
อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายของบริษัทลดลงเป็น 5.15% ในปี 2546 จาก 6.96% ในปี 2545 และอัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมลดลงเป็น 15.73% จาก 18.16% ในปี 2545 สภาพคล่องของบริษัทในช่วงปี 2547-2549 มีแนวโน้มที่ตึงตัวเนื่องจากบริษัทมีภาระหนี้เงินกู้และหุ้นกู้ที่ครบกำหนดชำระประมาณ 4,000-6,000 ล้านบาทต่อปี อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาถึงความยืดหยุ่นทางการเงินและโครงสร้างเงินทุนของบริษัทที่มีอัตราส่วนเงินกู้ในระดับปานกลางที่ประมาณ 50% แล้วคาดว่าบริษัทจะมีความสามารถในการจัดหาเงินกู้ใหม่เพื่อทดแทนเงินกู้เดิมได้
ทริสเรทติ้งยังกล่าวด้วยว่า การแข่งขันในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรมที่มีความรุนแรงเพิ่มขึ้นส่วนหนึ่งเกิดจากประเทศผู้นำเข้ามีการดำเนินมาตรการด้านสุขอนามัยที่เข้มงวดขึ้น รวมทั้งมีการกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ เช่น การกำหนดโควต้าซึ่งส่งผลกระทบต่อผู้ประกอบการที่มีการแข่งขันในตลาดโลกโดยรวมถึงบริษัทเจริญโภคภัณฑ์อาหารด้วย -- จบ