บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศอันดับเครดิตระดับ "BBB+" แก่ บริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด โดยสะท้อนสถานภาพการเป็นผู้ผลิตน้ำตาลในกลุ่มน้ำตาลมิตรผลที่เป็นผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายของประเทศ ตลอดจนประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลที่ดีกว่าอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย และตราสัญลักษณ์ที่เป็นที่ยอมรับโดยทั่วไป แม้ว่ากว่า 60% ของรายได้จากการขายน้ำตาลจะมาจากการส่งออก แต่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยช่วยลดความเสี่ยงของบริษัทจากความผันผวนของราคาน้ำตาล อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตถูกลดทอนบางส่วนจากโครงสร้างเงินทุนของบริษัทและกลุ่มที่มีอัตราการก่อหนี้ในระดับสูง ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่าบริษัทและกลุ่มน้ำตาลมิตรผลจะยังคงดำรงสถานะผู้นำในอุตสาหกรรมน้ำตาลทรายไทยเอาไว้ได้ และความสามารถในการทำกำไรของบริษัทน่าจะค่อนข้างคงที่จากผลของระบบแบ่งปันผลประโยชน์ดังกล่าว
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทรวมเกษตรกรอุตสาหกรรม บริหารโรงงานน้ำตาล 3 แห่งจากทั้งหมด 5 แห่งของกลุ่มมิตรผล โดยโรงงานตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกอ้อยที่ใหญ่ที่สุด คือ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ ด้วยกำลังการหีบอ้อยรวม 67,000 ตันอ้อยต่อวัน และกำลังการผลิตน้ำตาลทรายขาวรวม 3,000 ตันน้ำตาลต่อวัน คิดเป็น 60% ของกำลังการผลิตทั้งหมดของกลุ่มมิตรผล ในปีการผลิต 2546/2547 กลุ่มมิตรผลมีปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายสูงที่สุดด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 18.5% ตามมาด้วยกลุ่มไทยรุ่งเรือง 15.4% กลุ่มไทยเอกลักษณ์ 12.2% และกลุ่มวังขนาย 10.4% ปัจจุบันผู้ถือหุ้นของบริษัทประกอบด้วย บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด (87.56%) ของตระกูลว่องกุศลกิจ และ บริษัท น้ำตาลตะวันออก จำกัด (8.97%) ของตระกูลวัธนเวคิน ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของบริษัทคือ น้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูง น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์พิเศษ บริษัทให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์มากที่สุด ซึ่งมีปริมาณขายรวมมากกว่า 70% เพราะมีมูลค่าที่สูงกว่าและมีความผันผวนของราคาที่ต่ำกว่าน้ำตาลทรายดิบ
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ประเทศไทยมีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 46 โรง นโยบายควบคุมและจำกัดจำนวนโรงงานน้ำตาลของรัฐบาลทำให้การแข่งขันของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมีไม่มากนัก แต่การจัดสรรปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวในประเทศตามโควตา ก. ซึ่งกำหนดโดยปริมาณน้ำตาลทรายที่ผลิตจริงของแต่ละโรงงานทำให้การจัดหาอ้อยเข้าหีบเป็นปัจจัยสำคัญต่อรายได้ของแต่ละบริษัท บริษัทจึงจัดทำสัญญาซื้อขายอ้อยล่วงหน้ากับชาวไร่โดยกำหนดปริมาณอ้อยที่ชาวไร่ต้องส่งมอบเพื่อให้มีอ้อยเข้าหีบในปริมาณที่แน่นอน บริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวไร่อ้อยโดยให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านการเงินและการจัดการอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการสนับสนุนปุ๋ย การพัฒนาพันธุ์อ้อย และการปรับปรุงระบบชลประทาน กลุ่มมิตรผลยังมีบริษัทวิจัยและพัฒนาของตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพและผลผลิตอ้อยโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาพันธุ์อ้อยเป็นพิเศษด้วย น้ำตาลทรายที่บริษัทผลิตได้ในปีการผลิต 2546/2547 มีประมาณ 830,000 ตัน โดยประสิทธิภาพของโรงงานของบริษัทอยู่ในระดับดีกว่าอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย บริษัทสามารถขยายระยะเวลาการผลิตน้ำตาลออกไปเป็นประมาณ 11 เดือนโดยนำน้ำตาลทรายดิบที่เก็บไว้มาผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาวในช่วงหมดฤดูการหีบอ้อยที่มีปีละเพียง 4-5 เดือน ซึ่งทำให้บริษัทสามารถกระจายต้นทุนคงที่และทำให้ต้นทุนในการผลิตน้ำตาลลดลง
แม้ว่าราคาน้ำตาลทรายในประเทศค่อนข้างมีเสถียรภาพ แต่บริษัทก็ยังคงประสบกับภาวะราคาผันผวนในตลาดส่งออก ดังนั้น บริษัทจึงมีนโยบายกำหนดราคาขายน้ำตาลส่งออกบางส่วนให้สอดคล้องกับราคาอ้างอิงของอุตสาหกรรมที่กำหนดโดย บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลก็มีส่วนช่วยให้อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ นอกจากนี้ การที่บริษัทเน้นลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมก็ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าพื้นฐาน อัตราการก่อหนี้ที่สูงของบริษัทส่วนหนึ่งมาจากการลดค่าเงินบาทในปี 2540 และการโอนย้ายสินทรัพย์ระหว่างบริษัทภายในกลุ่มมิตรผล มีผลทำให้อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทตามงบการเงินรวมอยู่ที่ 86.71% ในปี 2546 บริษัทมีนโยบายที่จะจัดหาเงินกู้ของแต่ละโครงการแยกจากกันและคงอัตราส่วนเงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของทุนที่ระดับไม่เกิน 2.5 เท่า อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายตามงบการเงินรวมของบริษัทที่ 4.29 เท่าในปี 2546 จัดว่าอยู่ในระดับที่ดี อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายของบริษัทอยู่ที่ 21.80% ในปี 2546 ในขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นคงตัวอยู่ในช่วง 20%-30% ซึ่งเป็นผลมาจากระบบแบ่งปันผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทรวมเกษตรกรอุตสาหกรรม บริหารโรงงานน้ำตาล 3 แห่งจากทั้งหมด 5 แห่งของกลุ่มมิตรผล โดยโรงงานตั้งอยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือซึ่งเป็นแหล่งปลูกอ้อยที่ใหญ่ที่สุด คือ จังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสินธุ์ ด้วยกำลังการหีบอ้อยรวม 67,000 ตันอ้อยต่อวัน และกำลังการผลิตน้ำตาลทรายขาวรวม 3,000 ตันน้ำตาลต่อวัน คิดเป็น 60% ของกำลังการผลิตทั้งหมดของกลุ่มมิตรผล ในปีการผลิต 2546/2547 กลุ่มมิตรผลมีปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายสูงที่สุดด้วยส่วนแบ่งทางการตลาด 18.5% ตามมาด้วยกลุ่มไทยรุ่งเรือง 15.4% กลุ่มไทยเอกลักษณ์ 12.2% และกลุ่มวังขนาย 10.4% ปัจจุบันผู้ถือหุ้นของบริษัทประกอบด้วย บริษัท น้ำตาลมิตรผล จำกัด (87.56%) ของตระกูลว่องกุศลกิจ และ บริษัท น้ำตาลตะวันออก จำกัด (8.97%) ของตระกูลวัธนเวคิน ผลิตภัณฑ์ที่สำคัญของบริษัทคือ น้ำตาลทรายดิบ น้ำตาลทรายดิบคุณภาพสูง น้ำตาลทรายขาว น้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์ และน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์พิเศษ บริษัทให้ความสำคัญกับผลิตภัณฑ์น้ำตาลทรายขาวและน้ำตาลทรายขาวบริสุทธิ์มากที่สุด ซึ่งมีปริมาณขายรวมมากกว่า 70% เพราะมีมูลค่าที่สูงกว่าและมีความผันผวนของราคาที่ต่ำกว่าน้ำตาลทรายดิบ
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ประเทศไทยมีโรงงานน้ำตาลทั้งหมด 46 โรง นโยบายควบคุมและจำกัดจำนวนโรงงานน้ำตาลของรัฐบาลทำให้การแข่งขันของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลมีไม่มากนัก แต่การจัดสรรปริมาณการจำหน่ายน้ำตาลทรายขาวในประเทศตามโควตา ก. ซึ่งกำหนดโดยปริมาณน้ำตาลทรายที่ผลิตจริงของแต่ละโรงงานทำให้การจัดหาอ้อยเข้าหีบเป็นปัจจัยสำคัญต่อรายได้ของแต่ละบริษัท บริษัทจึงจัดทำสัญญาซื้อขายอ้อยล่วงหน้ากับชาวไร่โดยกำหนดปริมาณอ้อยที่ชาวไร่ต้องส่งมอบเพื่อให้มีอ้อยเข้าหีบในปริมาณที่แน่นอน บริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีกับชาวไร่อ้อยโดยให้ความช่วยเหลือทั้งในด้านการเงินและการจัดการอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการสนับสนุนปุ๋ย การพัฒนาพันธุ์อ้อย และการปรับปรุงระบบชลประทาน กลุ่มมิตรผลยังมีบริษัทวิจัยและพัฒนาของตนเองเพื่อพัฒนาคุณภาพและผลผลิตอ้อยโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาพันธุ์อ้อยเป็นพิเศษด้วย น้ำตาลทรายที่บริษัทผลิตได้ในปีการผลิต 2546/2547 มีประมาณ 830,000 ตัน โดยประสิทธิภาพของโรงงานของบริษัทอยู่ในระดับดีกว่าอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย บริษัทสามารถขยายระยะเวลาการผลิตน้ำตาลออกไปเป็นประมาณ 11 เดือนโดยนำน้ำตาลทรายดิบที่เก็บไว้มาผลิตเป็นน้ำตาลทรายขาวในช่วงหมดฤดูการหีบอ้อยที่มีปีละเพียง 4-5 เดือน ซึ่งทำให้บริษัทสามารถกระจายต้นทุนคงที่และทำให้ต้นทุนในการผลิตน้ำตาลลดลง
แม้ว่าราคาน้ำตาลทรายในประเทศค่อนข้างมีเสถียรภาพ แต่บริษัทก็ยังคงประสบกับภาวะราคาผันผวนในตลาดส่งออก ดังนั้น บริษัทจึงมีนโยบายกำหนดราคาขายน้ำตาลส่งออกบางส่วนให้สอดคล้องกับราคาอ้างอิงของอุตสาหกรรมที่กำหนดโดย บริษัท อ้อยและน้ำตาลไทย จำกัด (อนท.) ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ 70:30 ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลก็มีส่วนช่วยให้อัตรากำไรขั้นต้นของบริษัทอยู่ในระดับค่อนข้างคงที่ นอกจากนี้ การที่บริษัทเน้นลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมก็ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาสินค้าพื้นฐาน อัตราการก่อหนี้ที่สูงของบริษัทส่วนหนึ่งมาจากการลดค่าเงินบาทในปี 2540 และการโอนย้ายสินทรัพย์ระหว่างบริษัทภายในกลุ่มมิตรผล มีผลทำให้อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทตามงบการเงินรวมอยู่ที่ 86.71% ในปี 2546 บริษัทมีนโยบายที่จะจัดหาเงินกู้ของแต่ละโครงการแยกจากกันและคงอัตราส่วนเงินกู้ระยะยาวต่อส่วนของทุนที่ระดับไม่เกิน 2.5 เท่า อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายตามงบการเงินรวมของบริษัทที่ 4.29 เท่าในปี 2546 จัดว่าอยู่ในระดับที่ดี อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจำหน่ายต่อรายได้จากการขายของบริษัทอยู่ที่ 21.80% ในปี 2546 ในขณะที่อัตรากำไรขั้นต้นคงตัวอยู่ในช่วง 20%-30% ซึ่งเป็นผลมาจากระบบแบ่งปันผลประโยชน์ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ