บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ยืนยันอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน 5,000 ล้านบาท (SME087A) ของธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (ธพว.) ที่ระดับ "A+" โดยมีแนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" ซึ่งสะท้อนบทบาทของธนาคารในการรองรับนโยบายรัฐบาลด้วยการให้บริการทางการเงินแก่ธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมในประเทศ และการที่ธนาคารมีรัฐบาลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ในสัดส่วน 95% อันดับเครดิตดังกล่าวได้รับการส่งเสริมโดยอันดับเครดิตเฉพาะของธนาคารเนื่องจากธนาคารเป็นรัฐวิสาหกิจที่มีโอกาสสูงที่จะได้รับการสนับสนุนทางการเงินจากรัฐบาลในกรณีที่จำเป็น ทว่าสะท้อนภาพของธนาคารที่ยังต้องอาศัยเวลาอย่างมากในการเสริมสร้างศักยภาพและประสิทธิภาพในการดำเนินงาน โดยที่ปัจจุบันธนาคารอยู่ระหว่างกระบวนการปรับปรุงการบริหารจัดการองค์กรเพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นโดยการพัฒนาคุณภาพทรัพยากรบุคคล
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ก่อนจะมีสถานภาพเป็นธนาคาร ธพว. ได้รับการก่อตั้งภายใต้ พ.ร.บ. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534 ในชื่อบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) โดยมีกระทรวงการคลังลงทุนด้วยเงินทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาทในปี 2542 และอีก 1,500 ล้านบาทในปี 2544 ซึ่งมีผลให้ทุนจดทะเบียนของธนาคารเพิ่มจากเดิมที่ชำระแล้ว 300 ล้านบาท เป็น 2,800 ล้านบาท ต่อมาในเดือนธันวาคม 2545 รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขึ้นเพื่อโอนทรัพย์สินและการดำเนินงานทั้งหมดของ บอย. ไปที่ ธพว. แทน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายของภาครัฐที่จะพัฒนาระบบเศรษฐกิจรากหญ้าของประเทศ โดยธนาคารจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แม้ว่ารัฐบาลจะประกันภาระทางการเงินของธนาคารเพียงบางส่วน แต่โดยนัยแล้ว รัฐบาลให้การสนับสนุนธนาคารมาโดยตลอดเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่สนองนโยบายของรัฐบาล
ปัจจุบันธนาคารมีการจัดกลุ่มสินเชื่อใหม่ออกเป็น 7 กลุ่มธุรกิจ ตัวอย่างเช่น อาหาร ยานยนต์ และอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถให้บริการแก่กลุ่มธุรกิจที่รัฐบาลให้การสนับสนุนได้ดียิ่งขึ้น กระบวนการอนุมัติสินเชื่อได้รับการพัฒนาปรับปรุงทั้งในแง่ของการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการและระยะเวลาในการอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งน่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ในปี 2546 ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อจำนวน 27,273 ล้านบาท หรือ 91% ของวงเงินให้สินเชื่อจำนวน 30,000 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 ธนาคารมียอดสินเชื่อจำนวน 18,483 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 63% จากปี 2545 หรือ 86% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารจำนวน 21,498 ล้านบาท ส่วนธุรกิจซื้อสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้การค้าในราคาส่วนลด (Factoring) ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้น 189% ในปี 2546 คิดเป็น 42% ของการอนุมัติสินเชื่อใหม่ทั้งหมด ในอดีตธนาคารมีแหล่งที่มาของทุนเกือบทั้งหมดจากเงินกู้ยืมจากรัฐวิสาหกิจอื่นและจากทุนจดทะเบียนของกระทรวงการคลัง การออกหุ้นกู้ไม่มีประกันซึ่งไม่ได้ค้ำประกันจากรัฐบาลจำนวน 5,000 ล้านบาทในปี 2546 มีส่วนช่วยลดสัดส่วนการพึ่งพิงแหล่งเงินทุนของภาครัฐจากประมาณ 90% เป็น 70% อีกทั้งการออกหุ้นกู้ระยะยาวยังช่วยลดความไม่สอดคล้องของอายุไถ่ถอนระหว่างการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินด้วย
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า เป้าหมายในการดำเนินงานของธนาคารคือให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีฐานะด้านสินเชื่อที่ยังไม่แข็งแกร่งและพอเพียง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธนาคารมีฐานลูกค้าที่ด้อยคุณภาพกว่าของธนาคารพาณิชย์อื่น สัดส่วนสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ของธนาคารลดลงจากระดับ 26.0% ในปี 2545 มาอยู่ที่ 25.8% ในปี 2546 เทียบกับสัดส่วนดังกล่าวของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นในสัดส่วนโดยเฉลี่ยในปี 2546 ที่ระดับ 14.6% การมีสถานภาพเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาทำให้ธนาคารไม่ต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระนั้นธนาคารก็ยังใช้เกณฑ์ของ ธปท. เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้เทียบเคียงกับระบบธนาคารพาณิชย์ได้ การที่ธนาคารอยู่ในช่วงเริ่มสั่งสมประสบการณ์ในการบริหารสินเชื่อของลูกค้าจำนวนมากทำให้ธนาคารจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการบริหารสินเชื่อและการดำเนินงานมากกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ธนาคารยังต้องอาศัยเวลาในการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและประสิทธิภาพในการบริหารฐานสินเชื่อที่มีขนาดใหญ่ แต่กระนั้น ด้วยความพยายามของคณะผู้บริหาร จึงทำให้ธนาคารมีกำไรสุทธิอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 84 ล้านบาทในปี 2545 เป็น 188 ล้านบาทในปี 2546 โดยรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อ ในขณะที่อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 53.4% ในปี 2545 เป็น 49.4% ในปี 2546 ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวมของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ 41.0% ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ก่อนจะมีสถานภาพเป็นธนาคาร ธพว. ได้รับการก่อตั้งภายใต้ พ.ร.บ. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม พ.ศ. 2534 ในชื่อบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อม (บอย.) โดยมีกระทรวงการคลังลงทุนด้วยเงินทุนจดทะเบียน 1,000 ล้านบาทในปี 2542 และอีก 1,500 ล้านบาทในปี 2544 ซึ่งมีผลให้ทุนจดทะเบียนของธนาคารเพิ่มจากเดิมที่ชำระแล้ว 300 ล้านบาท เป็น 2,800 ล้านบาท ต่อมาในเดือนธันวาคม 2545 รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมขึ้นเพื่อโอนทรัพย์สินและการดำเนินงานทั้งหมดของ บอย. ไปที่ ธพว. แทน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการดำเนินนโยบายของภาครัฐที่จะพัฒนาระบบเศรษฐกิจรากหญ้าของประเทศ โดยธนาคารจะทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการและให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม แม้ว่ารัฐบาลจะประกันภาระทางการเงินของธนาคารเพียงบางส่วน แต่โดยนัยแล้ว รัฐบาลให้การสนับสนุนธนาคารมาโดยตลอดเนื่องจากเป็นหน่วยงานที่สนองนโยบายของรัฐบาล
ปัจจุบันธนาคารมีการจัดกลุ่มสินเชื่อใหม่ออกเป็น 7 กลุ่มธุรกิจ ตัวอย่างเช่น อาหาร ยานยนต์ และอุตสาหกรรม เป็นต้น ทั้งนี้ เพื่อให้สามารถให้บริการแก่กลุ่มธุรกิจที่รัฐบาลให้การสนับสนุนได้ดียิ่งขึ้น กระบวนการอนุมัติสินเชื่อได้รับการพัฒนาปรับปรุงทั้งในแง่ของการวิเคราะห์ความเป็นไปได้ของโครงการและระยะเวลาในการอนุมัติสินเชื่อ ซึ่งน่าจะช่วยให้ธนาคารสามารถขยายธุรกิจและเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ในปี 2546 ธนาคารได้อนุมัติสินเชื่อจำนวน 27,273 ล้านบาท หรือ 91% ของวงเงินให้สินเชื่อจำนวน 30,000 ล้านบาท โดย ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2546 ธนาคารมียอดสินเชื่อจำนวน 18,483 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้น 63% จากปี 2545 หรือ 86% ของสินทรัพย์ทั้งหมดของธนาคารจำนวน 21,498 ล้านบาท ส่วนธุรกิจซื้อสิทธิเรียกร้องของลูกหนี้การค้าในราคาส่วนลด (Factoring) ก็ขยายตัวเพิ่มขึ้น 189% ในปี 2546 คิดเป็น 42% ของการอนุมัติสินเชื่อใหม่ทั้งหมด ในอดีตธนาคารมีแหล่งที่มาของทุนเกือบทั้งหมดจากเงินกู้ยืมจากรัฐวิสาหกิจอื่นและจากทุนจดทะเบียนของกระทรวงการคลัง การออกหุ้นกู้ไม่มีประกันซึ่งไม่ได้ค้ำประกันจากรัฐบาลจำนวน 5,000 ล้านบาทในปี 2546 มีส่วนช่วยลดสัดส่วนการพึ่งพิงแหล่งเงินทุนของภาครัฐจากประมาณ 90% เป็น 70% อีกทั้งการออกหุ้นกู้ระยะยาวยังช่วยลดความไม่สอดคล้องของอายุไถ่ถอนระหว่างการบริหารสินทรัพย์และหนี้สินด้วย
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า เป้าหมายในการดำเนินงานของธนาคารคือให้บริการสินเชื่อแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อมซึ่งมีฐานะด้านสินเชื่อที่ยังไม่แข็งแกร่งและพอเพียง ด้วยเหตุนี้จึงทำให้ธนาคารมีฐานลูกค้าที่ด้อยคุณภาพกว่าของธนาคารพาณิชย์อื่น สัดส่วนสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ของธนาคารลดลงจากระดับ 26.0% ในปี 2545 มาอยู่ที่ 25.8% ในปี 2546 เทียบกับสัดส่วนดังกล่าวของระบบธนาคารพาณิชย์ไทยที่มีแนวโน้มดีขึ้นในสัดส่วนโดยเฉลี่ยในปี 2546 ที่ระดับ 14.6% การมีสถานภาพเป็นสถาบันการเงินเพื่อการพัฒนาทำให้ธนาคารไม่ต้องดำเนินการตามกฎเกณฑ์ของธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กระนั้นธนาคารก็ยังใช้เกณฑ์ของ ธปท. เป็นแนวทางในการดำเนินงานเพื่อให้เทียบเคียงกับระบบธนาคารพาณิชย์ได้ การที่ธนาคารอยู่ในช่วงเริ่มสั่งสมประสบการณ์ในการบริหารสินเชื่อของลูกค้าจำนวนมากทำให้ธนาคารจะต้องเผชิญกับความเสี่ยงจากการบริหารสินเชื่อและการดำเนินงานมากกว่าธนาคารพาณิชย์ทั่วไป ธนาคารยังต้องอาศัยเวลาในการเสริมสร้างศักยภาพในการแข่งขันและประสิทธิภาพในการบริหารฐานสินเชื่อที่มีขนาดใหญ่ แต่กระนั้น ด้วยความพยายามของคณะผู้บริหาร จึงทำให้ธนาคารมีกำไรสุทธิอยู่ในระดับที่น่าพอใจ ซึ่งเพิ่มขึ้นจาก 84 ล้านบาทในปี 2545 เป็น 188 ล้านบาทในปี 2546 โดยรายได้ดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นจากการขยายตัวของสินเชื่อ ในขณะที่อัตราค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวมลดลงอย่างมีนัยสำคัญจาก 53.4% ในปี 2545 เป็น 49.4% ในปี 2546 ซึ่งใกล้เคียงกับอัตราเฉลี่ยของค่าใช้จ่ายดำเนินงานต่อรายได้รวมของธนาคารพาณิชย์ไทยที่ 41.0% ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ