บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด คงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน 2,500 ล้านบาท (PTEP183A) ของ บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) ที่ระดับ "AA+" โดยสะท้อนความเป็นผู้นำในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย ความเข้มแข็งของสินทรัพย์ในรูปของปริมาณสำรองปิโตรเลียม และการสนับสนุนจากรัฐบาลในฐานะตัวแทนของรัฐในการถือสัมปทานปิโตรเลียม อันดับเครดิตยังพิจารณาถึงฐานะทางการเงินและกระแสเงินสดจากการดำเนินงานที่แข็งแกร่งแม้บริษัทจะมีภาระการลงทุนตามแผนค่อนข้างสูงในระหว่างปี 2548-2550 ก็ตาม ในขณะที่แนวโน้มอันดับเครดิต "Positive" หรือ "บวก" สะท้อนถึงผลประกอบการของบริษัทที่ดีกว่าที่คาดการณ์ไว้เนื่องจากราคาปิโตรเลียมที่ทรงตัวในระดับสูงและปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการลงทุนเพิ่มในโครงการ S1 รวมทั้งยังสะท้อนถึงผลการดำเนินงานที่ดีและสถานะทางการเงินที่แข็งแกร่งของบริษัท
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ปตท.สผ. ก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์เพื่อถือสิทธิ์สัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยในฐานะตัวแทนของรัฐบาล โดยเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 65% ณ เดือนพฤศจิกายน 2547 โดยทั้ง ปตท. และ ปตท.สผ. มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณของไทย ซึ่งทำให้ ปตท.สผ. ได้รับประโยชน์ในการรับสัมปทานโครงการปิโตรเลียมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นแนวหน้าและเป็นเจ้าของแหล่งสำรองปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคิดเป็น 30% ของปริมาณสำรองทั้งหมด ณ เดือนมกราคม 2547 บริษัทมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วเพิ่มสูงขึ้นถึง 964 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ (จาก 882 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปลายปี 2546) เมื่อรวมปริมาณสำรองปิโตรเลียมทั้งหมดทั้งในและต่างประเทศแล้ว ปริมาณสำรองของ ปตท.สผ. ถือว่ามีมากพอเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการระดับโลก และเมื่อพิจารณาจากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ระดับ 130,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันแล้ว ปริมาณสำรองดังกล่าวสามารถนำมาผลิตใช้ได้นานถึง 20 ปี ซึ่งยาวนานกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของ ปตท.สผ. ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการเพิ่มการลงทุนในโครงการ S1 จากการถือหุ้นเพิ่มจาก 25% เป็น 100% โดยใช้เงินลงทุน185 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกระแสเงินสดภายในบริษัท ซึ่งทำให้ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของบริษัทเพิ่มขึ้น 9% และปริมาณการผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น 17%
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่น ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ปตท.สผ. จัดว่าแข่งขันได้ ต้นทุนเฉลี่ยในการสำรวจปิโตรเลียมและพัฒนาในระยะ 3 ปีที่ผ่านมามีค่า 2.03 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 4-5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ส่วนต้นทุนในการผลิตปิโตรเลียมของบริษัทลดลงจาก 2.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2545 เป็น 2.21 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2546 นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการผลิตยังปรับตัวดีขึ้นจาก 2.09 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2545 เหลือ 1.63 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2546 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 3-4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในขณะที่ฐานะทางการเงินของ ปตท.สผ. ยังคงแข็งแกร่ง โดยผลการดำเนินงานปี 2546-2547 ดีกว่าที่ทริสเรทติ้งคาดไว้ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มียอดขายเพิ่มขึ้น 33% เป็น 33,305 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7% เป็น 10,766 ล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อแหล่งเงินทุนลดลงจาก 33.3% ในปี 2545 เหลือ 26.5% ณ เดือนกันยายน 2547 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 อยู่ที่ระดับ 95.4% ในขณะที่บริษัทยังคงมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานในระดับสูงที่ 70%-75% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
แผนการลงทุนของบริษัทในช่วงปี 2548-2551 จะใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 76,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม โดยบริษัทจะนำเงินประมาณ 33,000 ล้านบาทไปใช้ในโครงการอาทิตย์ซึ่งคาดว่าจะเริ่มการผลิตในช่วงปลายปี 2549 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทประมาณ 13,000 ล้านบาทต่อปีแล้วคาดว่าจะเพียงพอสำหรับแผนการลงทุน โดยบริษัทยังมีสภาพคล่องที่สูงจากการมีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมทั้งสิ้นอีก 21,888 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับเงินปันผลจากการลงทุนใน PT. Medco Energi Internasional Tbk. (Medco) อีกจำนวน 5.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับปี 2546 บริษัทกำลังพิจารณาขายเงินลงทุนใน Medco เนื่องจาก Medco มีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ลดลงอย่างรวดเร็วและการสำรวจหาปิโตรเลียมใหม่ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดไว้ ถึงแม้ว่าปริมาณสำรองปิโตรเลียมของ Medco จะมีอายุค่อนข้างสั้นประมาณ 4-5 ปี แต่ก็คาดว่า ปตท.สผ. อาจมีกำไรจากการขายเงินลงทุนใน Medco เมื่อพิจารณาจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ
ทริสเรทติ้งรายงานว่า ปตท.สผ. ก่อตั้งด้วยวัตถุประสงค์เพื่อถือสิทธิ์สัมปทานปิโตรเลียมในประเทศไทยในฐานะตัวแทนของรัฐบาล โดยเป็นบริษัทย่อยที่ประกอบธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมของบริษัทน้ำมันแห่งชาติ คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) (ปตท.) ด้วยสัดส่วนการถือหุ้น 65% ณ เดือนพฤศจิกายน 2547 โดยทั้ง ปตท. และ ปตท.สผ. มีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้พระราชบัญญัติงบประมาณของไทย ซึ่งทำให้ ปตท.สผ. ได้รับประโยชน์ในการรับสัมปทานโครงการปิโตรเลียมทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมชั้นแนวหน้าและเป็นเจ้าของแหล่งสำรองปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคิดเป็น 30% ของปริมาณสำรองทั้งหมด ณ เดือนมกราคม 2547 บริษัทมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วเพิ่มสูงขึ้นถึง 964 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ (จาก 882 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปลายปี 2546) เมื่อรวมปริมาณสำรองปิโตรเลียมทั้งหมดทั้งในและต่างประเทศแล้ว ปริมาณสำรองของ ปตท.สผ. ถือว่ามีมากพอเมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการระดับโลก และเมื่อพิจารณาจากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ระดับ 130,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวันแล้ว ปริมาณสำรองดังกล่าวสามารถนำมาผลิตใช้ได้นานถึง 20 ปี ซึ่งยาวนานกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่มีอายุระหว่าง 10-15 ปี ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของ ปตท.สผ. ที่เพิ่มขึ้นเกิดจากการเพิ่มการลงทุนในโครงการ S1 จากการถือหุ้นเพิ่มจาก 25% เป็น 100% โดยใช้เงินลงทุน185 ล้านดอลลาร์สหรัฐจากกระแสเงินสดภายในบริษัท ซึ่งทำให้ปริมาณสำรองปิโตรเลียมของบริษัทเพิ่มขึ้น 9% และปริมาณการผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้น 17%
เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่น ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ปตท.สผ. จัดว่าแข่งขันได้ ต้นทุนเฉลี่ยในการสำรวจปิโตรเลียมและพัฒนาในระยะ 3 ปีที่ผ่านมามีค่า 2.03 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 4-5 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ส่วนต้นทุนในการผลิตปิโตรเลียมของบริษัทลดลงจาก 2.55 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2545 เป็น 2.21 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2546 นอกจากนี้ ค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องโดยตรงในการผลิตยังปรับตัวดีขึ้นจาก 2.09 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2545 เหลือ 1.63 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบในปี 2546 ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของโลกที่ 3-4 ดอลลาร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในขณะที่ฐานะทางการเงินของ ปตท.สผ. ยังคงแข็งแกร่ง โดยผลการดำเนินงานปี 2546-2547 ดีกว่าที่ทริสเรทติ้งคาดไว้ โดยในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 มียอดขายเพิ่มขึ้น 33% เป็น 33,305 ล้านบาทและมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 7% เป็น 10,766 ล้านบาทจากช่วงเดียวกันของปีก่อน อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อแหล่งเงินทุนลดลงจาก 33.3% ในปี 2545 เหลือ 26.5% ณ เดือนกันยายน 2547 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2547 อยู่ที่ระดับ 95.4% ในขณะที่บริษัทยังคงมีอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานในระดับสูงที่ 70%-75% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา
แผนการลงทุนของบริษัทในช่วงปี 2548-2551 จะใช้เงินลงทุนทั้งหมดประมาณ 76,000 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม โดยบริษัทจะนำเงินประมาณ 33,000 ล้านบาทไปใช้ในโครงการอาทิตย์ซึ่งคาดว่าจะเริ่มการผลิตในช่วงปลายปี 2549 อย่างไรก็ตาม เมื่อพิจารณาจากกระแสเงินสดจากการดำเนินงานของบริษัทประมาณ 13,000 ล้านบาทต่อปีแล้วคาดว่าจะเพียงพอสำหรับแผนการลงทุน โดยบริษัทยังมีสภาพคล่องที่สูงจากการมีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นรวมทั้งสิ้นอีก 21,888 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนกันยายน 2547 นอกจากนี้ บริษัทยังได้รับเงินปันผลจากการลงทุนใน PT. Medco Energi Internasional Tbk. (Medco) อีกจำนวน 5.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐสำหรับปี 2546 บริษัทกำลังพิจารณาขายเงินลงทุนใน Medco เนื่องจาก Medco มีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่ลดลงอย่างรวดเร็วและการสำรวจหาปิโตรเลียมใหม่ยังไม่ประสบความสำเร็จตามที่คาดไว้ ถึงแม้ว่าปริมาณสำรองปิโตรเลียมของ Medco จะมีอายุค่อนข้างสั้นประมาณ 4-5 ปี แต่ก็คาดว่า ปตท.สผ. อาจมีกำไรจากการขายเงินลงทุนใน Medco เมื่อพิจารณาจากราคาน้ำมันที่ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง ทริสเรทติ้งกล่าว -- จบ