แท็ก
ศาลอาญา
ทริสชนะคดีความกรณีละเมิดลิขสิทธิ์
--------------+
-------------------------------------------------------------------------
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2541 ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาว่าทริสและ ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ มิได้ละเมิดลิขสิทธิ์บทความของ ดร. ศิริวรรณ ชูติกมลธรรม อดีตรองกรรมการผู้จัดการทริส นับเป็นการปิดคดีสุดท้าย หลังจากที่ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีความไปแล้วก่อนหน้านี้จำนวน 3 คดี คือ คดีแรงงาน และคดีหมิ่นประมาทอีก 2 คดี
สืบเนื่องจากการที่ ดร. ศิริวรรณ ชูติกมลธรรม อดีตรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่น
เซอร์วิส จำกัด (ทริส) ได้เป็นโจทก์ฟ้องทริส เป็นจำเลยที่ 1 และ ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ ทริส เป็นจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์บทความเรื่อง The Development of the Domestic Bond Market in Thailand เมื่อเดือนมิถุนายน 2538 นั้น ในวันที่ 29 มกราคม 2541 ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยข้อวินิจฉัยมีสาระสำคัญโดยสรุปว่าหลักฐานที่โจทก์แจ้งว่าจดทะเบียนลิขลิทธิ์บทความดังกล่าวต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นเพียงข้อมูลสำหรับประชาชนตรวจค้นซึ่งไม่มีผลทางกฎหมายใดใด จึงไม่ถือว่า ดร. ศิริวรรณ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์บทความดังกล่าว
ในคำพิพากษากล่าวว่าทริสซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดบทความดังกล่าวขึ้น ส่วนโจทก์เป็นเพียงคณะทำงานในการจัดทำบทความนี้ร่วมกับที่ปรึกษาและพนักงานของทริสตามที่ทริสได้มอบหมาย ฉะนั้นการที่ทริสจัดพิมพ์บทความเรื่อง
Going Golden and Going Global, The Debt Market in Thailand แม้จะมีเนื้อหาเหมือนบทความเรื่อง The Development of the Domestic Bond Market in Thailand ก็ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง
สรุปผลคดีที่อดีตรองกรรมการผู้จัดการทริสได้เป็นโจทก์ฟ้องทริสทั้ง 4 คดี ได้แก่ คดีแรงงาน คดีหมิ่นประมาท 2 คดี และคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ปรากฎว่าศาลได้พิพากษายกฟ้องคดีความทั้ง 4 คดี ได้แก่
คดีที่ 1 ที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 (ทริส) ในข้อหาผิดกฎหมายแรงงาน ผิดสัญญาจ้าง และได้เรียกค่าชด เชยและค่าเสียหาย ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2540 ยกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่า การกระทำของโจทก์เป็นไปด้วยเจตนาที่เล็งเห็นผลเป็นการฝ่าฝืนต่อความมุ่งหมายของระเบียบของทริส โดยชัดแจ้ง จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนในข้อเดียวกัน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ และโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินต่างๆ ตามฟ้องจากจำเลยดังที่โจทก์อุทธรณ์ด้วยเหตุที่โจทก์ เป็นฝ่ายกระทำผิด ศาลฎีกาพิพากษาให้ทริสเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่ต้องชำระเงินให้โจทก์ตามที่เรียก ร้องตามฟ้อง
คดีที่ 2 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลย (ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์) ในข้อหาหมิ่นประมาท โดยการโฆษณาทาง หนังสือพิมพ์ ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 ให้ยกฟ้องโจทก์
คดีที่ 3 โจทก์ได้ยื่นฟ้องที่ปรึกษาทริส ในข้อหาหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1
กรกฎาคม 2540 ให้ยกฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีที่ 4 คดีละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลอาญามีคำพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2541
*****************
--------------+
-------------------------------------------------------------------------
เมื่อวันที่ 29 มกราคม 2541 ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาว่าทริสและ ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ มิได้ละเมิดลิขสิทธิ์บทความของ ดร. ศิริวรรณ ชูติกมลธรรม อดีตรองกรรมการผู้จัดการทริส นับเป็นการปิดคดีสุดท้าย หลังจากที่ศาลได้มีคำพิพากษายกฟ้องคดีความไปแล้วก่อนหน้านี้จำนวน 3 คดี คือ คดีแรงงาน และคดีหมิ่นประมาทอีก 2 คดี
สืบเนื่องจากการที่ ดร. ศิริวรรณ ชูติกมลธรรม อดีตรองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่น
เซอร์วิส จำกัด (ทริส) ได้เป็นโจทก์ฟ้องทริส เป็นจำเลยที่ 1 และ ดร. วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์ กรรมการผู้จัดการ ทริส เป็นจำเลยที่ 2 ในคดีอาญาข้อหาละเมิดลิขสิทธิ์บทความเรื่อง The Development of the Domestic Bond Market in Thailand เมื่อเดือนมิถุนายน 2538 นั้น ในวันที่ 29 มกราคม 2541 ศาลอาญาได้มีคำพิพากษาให้ยกฟ้องโจทก์โดยข้อวินิจฉัยมีสาระสำคัญโดยสรุปว่าหลักฐานที่โจทก์แจ้งว่าจดทะเบียนลิขลิทธิ์บทความดังกล่าวต่อกรมทรัพย์สินทางปัญญานั้นเป็นเพียงข้อมูลสำหรับประชาชนตรวจค้นซึ่งไม่มีผลทางกฎหมายใดใด จึงไม่ถือว่า ดร. ศิริวรรณ เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์บทความดังกล่าว
ในคำพิพากษากล่าวว่าทริสซึ่งเป็นจำเลยที่ 1 เป็นผู้ก่อให้เกิดบทความดังกล่าวขึ้น ส่วนโจทก์เป็นเพียงคณะทำงานในการจัดทำบทความนี้ร่วมกับที่ปรึกษาและพนักงานของทริสตามที่ทริสได้มอบหมาย ฉะนั้นการที่ทริสจัดพิมพ์บทความเรื่อง
Going Golden and Going Global, The Debt Market in Thailand แม้จะมีเนื้อหาเหมือนบทความเรื่อง The Development of the Domestic Bond Market in Thailand ก็ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงไม่เป็นความผิดตามที่โจทก์ฟ้อง ศาลจึงพิพากษายกฟ้อง
สรุปผลคดีที่อดีตรองกรรมการผู้จัดการทริสได้เป็นโจทก์ฟ้องทริสทั้ง 4 คดี ได้แก่ คดีแรงงาน คดีหมิ่นประมาท 2 คดี และคดีละเมิดลิขสิทธิ์ ปรากฎว่าศาลได้พิพากษายกฟ้องคดีความทั้ง 4 คดี ได้แก่
คดีที่ 1 ที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 1 (ทริส) ในข้อหาผิดกฎหมายแรงงาน ผิดสัญญาจ้าง และได้เรียกค่าชด เชยและค่าเสียหาย ศาลฎีกามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2540 ยกฟ้องโจทก์ โดยวินิจฉัยว่า การกระทำของโจทก์เป็นไปด้วยเจตนาที่เล็งเห็นผลเป็นการฝ่าฝืนต่อความมุ่งหมายของระเบียบของทริส โดยชัดแจ้ง จึงเป็นการกระทำผิดซ้ำคำเตือนในข้อเดียวกัน จำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยชอบ และโจทก์ย่อมไม่มีสิทธิที่จะเรียกร้องเงินต่างๆ ตามฟ้องจากจำเลยดังที่โจทก์อุทธรณ์ด้วยเหตุที่โจทก์ เป็นฝ่ายกระทำผิด ศาลฎีกาพิพากษาให้ทริสเป็นฝ่ายชนะคดี จึงไม่ต้องชำระเงินให้โจทก์ตามที่เรียก ร้องตามฟ้อง
คดีที่ 2 โจทก์ได้ยื่นฟ้องจำเลย (ดร.วุฒิพงษ์ เพรียบจริยวัฒน์) ในข้อหาหมิ่นประมาท โดยการโฆษณาทาง หนังสือพิมพ์ ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2540 ให้ยกฟ้องโจทก์
คดีที่ 3 โจทก์ได้ยื่นฟ้องที่ปรึกษาทริส ในข้อหาหมิ่นประมาท โดยการโฆษณา ศาลอาญามีคำพิพากษาเมื่อวันที่ 1
กรกฎาคม 2540 ให้ยกฟ้องโจทก์ คดีถึงที่สุดแล้ว
คดีที่ 4 คดีละเมิดลิขสิทธิ์ ศาลอาญามีคำพิพากษายกฟ้องเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2541
*****************