บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด คงอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้มีประกัน (UFIC06NA, UFIC07NA, UFIC08NA, UFIC09OA) ของ บริษัท รวมเกษตรกรอุตสาหกรรม จำกัด ที่ระดับ "BBB+" ด้วยแนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงสถานภาพของบริษัทในฐานะผู้ผลิตน้ำตาลในกลุ่มน้ำตาลมิตรผลซึ่งเป็นผู้นำตลาดในอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย รวมทั้งตราสัญลักษณ์ที่ได้รับการยอมรับโดยทั่วไป ประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลที่ดีกว่าอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ย ตลอดจนการขยายกิจการไปสู่ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจน้ำตาล แม้ว่ากว่า 55% ของรายได้จากการขายน้ำตาลจะมาจากการส่งออก แต่ระบบแบ่งปันผลประโยชน์ในสัดส่วน 70:30 ของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทยช่วยลดความเสี่ยงของบริษัทจากความผันผวนของราคาน้ำตาลได้บ้าง อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งดังกล่าวถูกลดทอนลงบางส่วนจากโครงสร้างเงินทุนของบริษัทและของกลุ่มที่มีอัตราการก่อหนี้อยู่ในระดับสูง และจากผลกระทบของภาวะภัยแล้งที่มีต่อปริมาณผลผลิตอ้อย
แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่ากลุ่มน้ำตาลมิตรผลจะยังคงดำรงความเป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายรายใหญ่ที่สุดของไทย และบริษัทจะยังคงสถานะการเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายสำคัญของกลุ่มเอาไว้ได้ ทั้งนี้คาดว่าความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจะอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพซึ่งเป็นผลมาจากระบบแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทรวมเกษตรกรอุตสาหกรรมเป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายในกลุ่มน้ำตาลมิตรผลซึ่งเป็นผู้นำในตลาดอ้อยและน้ำตาลทรายไทย โดยบริษัทบริหารโรงงานน้ำตาลซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสินธุ์รวม 3 แห่งจากทั้งหมด 5 แห่งของกลุ่มมิตรผล ในปีการผลิต 2547/2548 กลุ่มมิตรผลยังคงมีปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายสูงที่สุดคิดเป็น 18.5% ของผลผลิตรวมทั้งประเทศ ตามมาด้วยกลุ่มไทยรุ่งเรือง 14.5% กลุ่มไทยเอกลักษณ์ 13.2% กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น 8.4% และกลุ่มวังขนาย 8.3%
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ภาวะภัยแล้งที่ยาวนานและต่อเนื่องส่งผลให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งประเทศลดลง 26% จาก 64.5 ล้านตันในปีการผลิต 2546/2547 สู่ระดับ 47.8 ล้านตันในปีการผลิต 2547/2548 ในขณะที่ปริมาณน้ำตาลทรายที่บริษัทผลิตได้ในปีการผลิต 2547/2548 มีจำนวน 642,400 ตัน ซึ่งลดลง 23% จากปีที่ผ่านมา โดยประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลของโรงงานของบริษัทที่ระดับ 116.57 กิโลกรัม (กก.) ต่อตันอ้อยนั้นถือว่าดีกว่าระดับอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ยที่ 108.49 กก. นอกจากนี้ บริษัทยังได้ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจน้ำตาล ได้แก่ ธุรกิจผลิตแผ่นไม้อัด (Particle Board) ธุรกิจโรงไฟฟ้า และธุรกิจผลิตเอทานอล โดยคาดว่าโรงงานผลิตเอทานอลจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงต้นปี 2550
ทริสเรทติ้งกล่าวว่าปริมาณผลผลิตอ้อยของไทยในปีการผลิต 2548/2549 คาดว่าจะอยู่ในระดับประมาณ 40 ล้านตัน ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะแห้งแล้งและพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่ลดลง ปริมาณอ้อยที่ลดลงส่งผลให้การจัดหาอ้อยกระทำได้ยากขึ้นและมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวโน้มการขาดแคลนอ้อยจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับผู้ผลิตน้ำตาลทรายในปีต่อๆ ไป
แม้ว่าอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทรวมเกษตรกรอุตสาหกรรมได้ปรับลดลงจาก 86.71% ณ สิ้นปี 2546 เป็น 72.28% ณ สิ้นปี 2547 แต่ทริสเรทติ้งเห็นว่าเงินกู้รวมของบริษัทยังคงอยู่ในระดับสูง โดยบริษัทมีเงินกู้รวมเพิ่มขึ้นจาก 8,558 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 11,614 ล้านบาท ณ เดือนมีนาคม 2548 ซึ่งเป็นผลจากความต้องการใช้เงินกู้ระยะสั้นที่เพิ่มมากขึ้นจากการมีต้นทุนค่าอ้อยเพิ่มขึ้น และจากเงินกู้ระยะยาวที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ลงทุนในธุรกิจผลิตแผ่นไม้อัด -- จบ
แนวโน้มอันดับเครดิต "Stable" หรือ "คงที่" สะท้อนถึงการคาดการณ์ของทริสเรทติ้งว่ากลุ่มน้ำตาลมิตรผลจะยังคงดำรงความเป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายรายใหญ่ที่สุดของไทย และบริษัทจะยังคงสถานะการเป็นผู้ผลิตน้ำตาลรายสำคัญของกลุ่มเอาไว้ได้ ทั้งนี้คาดว่าความสามารถในการทำกำไรของบริษัทจะอยู่ในระดับที่มีเสถียรภาพซึ่งเป็นผลมาจากระบบแบ่งปันผลประโยชน์ระหว่างชาวไร่อ้อยและโรงงานน้ำตาลของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายไทย
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทรวมเกษตรกรอุตสาหกรรมเป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายในกลุ่มน้ำตาลมิตรผลซึ่งเป็นผู้นำในตลาดอ้อยและน้ำตาลทรายไทย โดยบริษัทบริหารโรงงานน้ำตาลซึ่งตั้งอยู่ในจังหวัดชัยภูมิ ขอนแก่น และกาฬสินธุ์รวม 3 แห่งจากทั้งหมด 5 แห่งของกลุ่มมิตรผล ในปีการผลิต 2547/2548 กลุ่มมิตรผลยังคงมีปริมาณการผลิตน้ำตาลทรายสูงที่สุดคิดเป็น 18.5% ของผลผลิตรวมทั้งประเทศ ตามมาด้วยกลุ่มไทยรุ่งเรือง 14.5% กลุ่มไทยเอกลักษณ์ 13.2% กลุ่มน้ำตาลขอนแก่น 8.4% และกลุ่มวังขนาย 8.3%
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า ภาวะภัยแล้งที่ยาวนานและต่อเนื่องส่งผลให้ปริมาณอ้อยเข้าหีบทั้งประเทศลดลง 26% จาก 64.5 ล้านตันในปีการผลิต 2546/2547 สู่ระดับ 47.8 ล้านตันในปีการผลิต 2547/2548 ในขณะที่ปริมาณน้ำตาลทรายที่บริษัทผลิตได้ในปีการผลิต 2547/2548 มีจำนวน 642,400 ตัน ซึ่งลดลง 23% จากปีที่ผ่านมา โดยประสิทธิภาพในการผลิตน้ำตาลของโรงงานของบริษัทที่ระดับ 116.57 กิโลกรัม (กก.) ต่อตันอ้อยนั้นถือว่าดีกว่าระดับอุตสาหกรรมโดยเฉลี่ยที่ 108.49 กก. นอกจากนี้ บริษัทยังได้ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจน้ำตาล ได้แก่ ธุรกิจผลิตแผ่นไม้อัด (Particle Board) ธุรกิจโรงไฟฟ้า และธุรกิจผลิตเอทานอล โดยคาดว่าโรงงานผลิตเอทานอลจะเริ่มดำเนินการได้ในช่วงต้นปี 2550
ทริสเรทติ้งกล่าวว่าปริมาณผลผลิตอ้อยของไทยในปีการผลิต 2548/2549 คาดว่าจะอยู่ในระดับประมาณ 40 ล้านตัน ซึ่งเป็นผลมาจากภาวะแห้งแล้งและพื้นที่เพาะปลูกอ้อยที่ลดลง ปริมาณอ้อยที่ลดลงส่งผลให้การจัดหาอ้อยกระทำได้ยากขึ้นและมีต้นทุนเพิ่มขึ้น ดังนั้น แนวโน้มการขาดแคลนอ้อยจะเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับผู้ผลิตน้ำตาลทรายในปีต่อๆ ไป
แม้ว่าอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทรวมเกษตรกรอุตสาหกรรมได้ปรับลดลงจาก 86.71% ณ สิ้นปี 2546 เป็น 72.28% ณ สิ้นปี 2547 แต่ทริสเรทติ้งเห็นว่าเงินกู้รวมของบริษัทยังคงอยู่ในระดับสูง โดยบริษัทมีเงินกู้รวมเพิ่มขึ้นจาก 8,558 ล้านบาทในปี 2546 เป็น 11,614 ล้านบาท ณ เดือนมีนาคม 2548 ซึ่งเป็นผลจากความต้องการใช้เงินกู้ระยะสั้นที่เพิ่มมากขึ้นจากการมีต้นทุนค่าอ้อยเพิ่มขึ้น และจากเงินกู้ระยะยาวที่เพิ่มขึ้นเพื่อใช้ลงทุนในธุรกิจผลิตแผ่นไม้อัด -- จบ