บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ประกาศผลทบทวนอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน 400 ล้านบาท กำหนดไถ่ถอนปี 2546 ของบริษัท ภัทรลีสซิ่งจำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "BBB" คงเดิม พร้อมทั้งจัดอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันในวงเงินไม่เกิน 400 ล้านบาทในระดับ "BBB" เช่นกัน โดยอันดับเครดิตสะท้อนสถานะผู้นำในธุรกิจให้เช่าดำเนินงานรถยนต์ (Operating Lease) ของบริษัท และความสำเร็จในการขยายฐานธุรกิจออกไปนอกกลุ่มบริษัทในตระกูลล่ำซำ ในขณะที่จุดอ่อนของบริษัทประกอบด้วย ลักษณะของธุรกิจที่ทดแทนได้จากบริการเช่าซื้อรถยนต์ (Hire Purchase) หรือการซื้อรถยนต์เงินสด และความเสี่ยงที่มีอยู่ในโครงสร้างทางการเงินของบริษัท
ทริสรายงานว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้ภัทรลีสซิ่งสามารถผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มาได้คือการสนับสนุนทางธุรกิจและการเงินจากกลุ่มบริษัทในตระกูลล่ำซำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทอยู่ 16.45% ณ ไตรมาสแรกของปี 2544 บริษัทมีรายได้จากกลุ่มบริษัทในตระกูลล่ำซำประมาณ 41% และให้เช่าทรัพย์สินประมาณหนึ่งในสามแก่บริษัทในกลุ่มดังกล่าว สถาบันการเงินในกลุ่มล่ำซำเป็นผู้ให้สินเชื่อแก่บริษัทประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อทั้งหมด อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ทางด้านการตลาดที่กระจายไปสู่กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่มีเครดิตดีนอกกลุ่มบริษัทตระกูลล่ำซำ ทำให้บริษัทมีกระแสรายได้และคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อปรับปรุงระบบดูแลรักษารถยนต์ทำให้บริษัทสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและปรับปรุงคุณภาพบริการให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของศักยภาพการแข่งขันในตลาดเช่าดำเนินงานรถยนต์ อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของผู้ขายรถยนต์รายใหญ่และบริษัทให้เช่ารถยนต์ข้ามชาตินับว่าส่งผลกระทบต่อสถานะการแข่งขันของบริษัทในตลาดดังกล่าว
ทริสกล่าวว่าในปี 2543 ภัทรลีสซิ่งมีกำไร 63 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าในปี 2542 ที่มีเพียง 48 ล้านบาท ส่วนต่างของผลตอบแทนของสินทรัพย์กับต้นทุนทางการเงินในปี 2543 อยู่ที่ 14.74% ซึ่งดีกว่าในปี 2542 ที่อยู่ที่ 6.57% มาก ทั้งนี้ ผลกำไรของบริษัทมีความผันผวนต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย รายจ่ายดอกเบี้ยของบริษัทในปี 2543 คิดเป็น 12.4% ของต้นทุนทั้งหมด ซึ่งลดลงจากประมาณ 20% ในปี 2542 แต่ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัท การที่บริษัทใช้กลยุทธ์การบริหารต้นทุนทางการเงินที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ จะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่แน่นอนของต้นทุนทางการเงินจากตลาดเงินและเงินกู้ระยะสั้นลงได้ นอกจากนั้น การบริหารหนี้สินและสินทรัพย์ที่รอบคอบจะทำให้บริษัทมีผลกำไรที่มั่นคงมากขึ้น ในกรณีดังกล่าว โครงสร้างทางการเงินของบริษัทยังคงมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2544 การกู้ยืมระยะสั้นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคิดเป็น 67.47% ของหนี้สินรวม แผนการที่บริษัทจะออกหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 3 ปี ในวงเงินไม่เกิน 400 ล้านบาท เพื่อส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ชำระคืนหุ้นกู้จำนวน 350 ล้านบาทที่จะหมดอายุในเดือนธันวาคม 2544 จะทำให้อัตราส่วนการกู้ยืมระยะสั้นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวดังกล่าวลดลงเหลือเพียง 33%-37% อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ที่ 1.78 เท่า ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2544 ซึ่งยังคงต่ำกว่าคู่แข่งรายอื่น ไม่นานมานี้บริษัทยังได้วงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินบางแห่งนอกกลุ่มล่ำซำ ซึ่งทำให้บริษัทมีความคล่องตัวทางการเงินที่จะขยายธุรกิจในอนาคตโดยไม่ต้องเพิ่มทุน -- จบ
ทริสรายงานว่าสิ่งสำคัญที่ทำให้ภัทรลีสซิ่งสามารถผ่านพ้นวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 มาได้คือการสนับสนุนทางธุรกิจและการเงินจากกลุ่มบริษัทในตระกูลล่ำซำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งธนาคารกสิกรไทยซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นในบริษัทอยู่ 16.45% ณ ไตรมาสแรกของปี 2544 บริษัทมีรายได้จากกลุ่มบริษัทในตระกูลล่ำซำประมาณ 41% และให้เช่าทรัพย์สินประมาณหนึ่งในสามแก่บริษัทในกลุ่มดังกล่าว สถาบันการเงินในกลุ่มล่ำซำเป็นผู้ให้สินเชื่อแก่บริษัทประมาณครึ่งหนึ่งของสินเชื่อทั้งหมด อย่างไรก็ตาม กลยุทธ์ทางด้านการตลาดที่กระจายไปสู่กลุ่มลูกค้ารายใหญ่ที่มีเครดิตดีนอกกลุ่มบริษัทตระกูลล่ำซำ ทำให้บริษัทมีกระแสรายได้และคุณภาพสินทรัพย์ที่ดีขึ้น การใช้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยเพื่อปรับปรุงระบบดูแลรักษารถยนต์ทำให้บริษัทสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิภาพและปรับปรุงคุณภาพบริการให้ดีขึ้น ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของศักยภาพการแข่งขันในตลาดเช่าดำเนินงานรถยนต์ อย่างไรก็ตาม การเข้ามาของผู้ขายรถยนต์รายใหญ่และบริษัทให้เช่ารถยนต์ข้ามชาตินับว่าส่งผลกระทบต่อสถานะการแข่งขันของบริษัทในตลาดดังกล่าว
ทริสกล่าวว่าในปี 2543 ภัทรลีสซิ่งมีกำไร 63 ล้านบาท ซึ่งมากกว่าในปี 2542 ที่มีเพียง 48 ล้านบาท ส่วนต่างของผลตอบแทนของสินทรัพย์กับต้นทุนทางการเงินในปี 2543 อยู่ที่ 14.74% ซึ่งดีกว่าในปี 2542 ที่อยู่ที่ 6.57% มาก ทั้งนี้ ผลกำไรของบริษัทมีความผันผวนต่อการเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย รายจ่ายดอกเบี้ยของบริษัทในปี 2543 คิดเป็น 12.4% ของต้นทุนทั้งหมด ซึ่งลดลงจากประมาณ 20% ในปี 2542 แต่ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่กระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัท การที่บริษัทใช้กลยุทธ์การบริหารต้นทุนทางการเงินที่เป็นอัตราดอกเบี้ยคงที่ จะช่วยลดความเสี่ยงที่เกิดจากความไม่แน่นอนของต้นทุนทางการเงินจากตลาดเงินและเงินกู้ระยะสั้นลงได้ นอกจากนั้น การบริหารหนี้สินและสินทรัพย์ที่รอบคอบจะทำให้บริษัทมีผลกำไรที่มั่นคงมากขึ้น ในกรณีดังกล่าว โครงสร้างทางการเงินของบริษัทยังคงมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยอยู่ โดย ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2544 การกู้ยืมระยะสั้นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวคิดเป็น 67.47% ของหนี้สินรวม แผนการที่บริษัทจะออกหุ้นกู้อัตราดอกเบี้ยคงที่อายุ 3 ปี ในวงเงินไม่เกิน 400 ล้านบาท เพื่อส่วนหนึ่งจะนำไปใช้ชำระคืนหุ้นกู้จำนวน 350 ล้านบาทที่จะหมดอายุในเดือนธันวาคม 2544 จะทำให้อัตราส่วนการกู้ยืมระยะสั้นอัตราดอกเบี้ยลอยตัวดังกล่าวลดลงเหลือเพียง 33%-37% อัตราส่วนหนี้สินต่อทุนของบริษัทอยู่ที่ 1.78 เท่า ณ สิ้นไตรมาสแรกของปี 2544 ซึ่งยังคงต่ำกว่าคู่แข่งรายอื่น ไม่นานมานี้บริษัทยังได้วงเงินกู้ยืมจากสถาบันการเงินบางแห่งนอกกลุ่มล่ำซำ ซึ่งทำให้บริษัทมีความคล่องตัวทางการเงินที่จะขยายธุรกิจในอนาคตโดยไม่ต้องเพิ่มทุน -- จบ