บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ประกาศผลอันดับเครดิตองค์กรของบริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) หรือเคจีไอ ในระดับ "BBB-" ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวทางเศรษฐกิจที่ต่อเนื่องยาวนานและมีแนวโน้มที่ยังไม่ดีขึ้น อันส่งผลในทางลบต่อธุรกิจหลักทรัพย์ทั่วไปรวมทั้งเคจีไอ อันดับเครดิตยังสะท้อนระยะเวลาการบริหารงานของทีมผู้บริหารที่เป็นตัวแทนจากกลุ่มผู้ถือหุ้นใหญ่คือกลุ่มคูส์ ที่ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไขและปรับองค์กรให้ดำเนินต่อไปได้ภายใต้ภาวะการซื้อขายที่ผันผวนในตลาดหลักทรัพย์ ในขณะที่ฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งจากกลุ่มคูส์ได้ช่วยประคองให้ผลการดำเนินงานของบริษัทผ่านพ้นช่วงวิกฤติทางการเงินมาได้
ทริสรายงานว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ถูกกระทบโดยเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นเวลานาน ปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมีความผันผวนสูงมากจาก 3,764 ล้านบาทในปี 2540 เป็น 3,505 ล้านบาท ในปี 2541 ในขณะที่ในปี 2542 มีปริมาณ 6,571 ล้านบาท ปี 2543 มีปริมาณ 3,740 ล้านบาท และช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 มีปริมาณ 6,619 ล้านบาท ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอรวมไปถึงผลจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา การซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันตั้งแต่กันยายนถึงกลางพฤศจิกายน 2544 อยู่ที่ประมาณ 3,700 ล้านบาทต่อวัน แนวโน้มของธุรกิจหลักทรัพย์ยังขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อมที่อ่อนแอของระบบเศรษฐกิจ การเปิดเสรีการคิดค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2543 ได้ส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงในหมู่ผู้ประกอบการ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายเฉลี่ยตกลงจากระดับ 0.4%-0.5% ของยอดการซื้อขายก่อนเปิดเสรีมาอยู่ที่ระดับประมาณ 0.15% ในปี 2544 โดยบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งยอมขาดทุนจากค่าธรรมเนียมเพื่อรักษาฐานลูกค้าของตนไว้
ทริสกล่าวว่ากลุ่มคูส์มีความตั้งใจเดิมที่จะให้เคจีไอเป็นแกนในการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ของกลุ่ม โดยได้จัดตั้งบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดโดยเคจีไอขึ้นในปี 2542 ที่ฮ่องกง คือ KGI Securities One Holding Ltd. (HOLDCO) เพื่อการลงทุนในต่างประเทศ แต่การควบคุมการโอนเงินบาทออกนอกประเทศในปี 2541 ของทางการไทยทำให้การลงทุนผ่าน HOLDCO ถูกจำกัด ในปลายปี 2543 กลุ่มคูส์จึงได้เปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่โดยโอนสถานภาพการเป็นบริษัทแม่ของเคจีไอไปอยู่ที่บริษัทโฮลดิ้งแห่งใหม่ คือ KGI International Holding Ltd. (KGII) ซึ่งจดทะเบียนที่เกาะเคย์แมน ซึ่งมีผลให้ในปลายปี 2543 HOLDCO มีหุ้นเพียง 0.45% ใน KGII และในปี 2544 เคจีไอได้เปลี่ยนเงินลงทุนในต่างประเทศมูลค่า 2,720 ล้านบาท หรือ 36% ของสินทรัพย์ทั้งหมดในปี 2543 ที่ผ่าน HOLDCO มาเป็นการลงทุนในหุ้นกู้และหุ้นกู้แปลงสภาพมูลค่ารวม 70 ล้านดอลล่าร์สหรัฐที่ออกโดย KGII แทน โดยคาดหมายว่าการลงทุนดังกล่าวจะเป็นแหล่งรายได้จากดอกเบี้ยที่มีความสม่ำเสมอกว่าการมีส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนผ่านบริษัทย่อยของ HOLDCO ในต่างประเทศ นอกจากนี้เคจีไอยังมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด (OAM) ที่คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ที่สม่ำเสมออีกทางหนึ่ง โดยเคจีไอได้รับเงินปันผลเฉลี่ยประมาณ 22 ล้านบาทต่อปีจาก OAM มาตั้งแต่ปี 2542 เคจีไอมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับคู่แข่ง สัดส่วนสินทรัพย์ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ระดับ 141.14% และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 14,930 ล้านบาท ณ ครึ่งแรกของปี 2544 ซึ่งสืบเนื่องมาจากการเพิ่มทุน 7,000 ล้านบาทในปี 2541 และ 5,000 ล้านบาทในไตรมาสที่ 3 ของปี 2542 นอกจากการช่วยเพิ่มทุนใหม่ให้แก่เคจีไอแล้ว กลุ่มคูส์ยังได้ส่งผ่านลูกค้าใหม่ที่มาจากฐานลูกค้าในต่างประเทศของกลุ่มให้มาทำธุรกรรมผ่านเคจีไอด้วย
เคจีไอสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญ ได้แก่ การลาออกของทีมผู้บริหารเดิม และการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการใช้สิทธิในใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ (Warrant) ให้สอดคล้องกับสภาพตลาด ทีมผู้บริหารใหม่ของเคจีไอภายใต้การนำของกลุ่มคูส์เพิ่งเริ่มบริหารงานอย่างเต็มที่ในปี 2544 ผู้บริหารดังกล่าวมีประสบการณ์ทางธุรกิจหลักทรัพย์ในไต้หวันและฮ่องกงมาก่อน ซึ่งน่าจะช่วยสร้างพัฒนาการใหม่ๆ ให้แก่เคจีไอ อย่างไรก็ตาม ยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการพิสูจน์ความสำเร็จในการดำเนินนโยบายการบริหารในประเทศไทย นอกจากนี้ผู้บริหารของเคจีไอมีแผนการที่จะกลับเข้าสู่ธุรกิจวาณิชธนกิจอีกครั้งและคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ที่น่าพอใจในอนาคต ทริสกล่าว -- จบ
ทริสรายงานว่าการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ถูกกระทบโดยเศรษฐกิจที่ชะลอตัวเป็นเวลานาน ปริมาณซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมีความผันผวนสูงมากจาก 3,764 ล้านบาทในปี 2540 เป็น 3,505 ล้านบาท ในปี 2541 ในขณะที่ในปี 2542 มีปริมาณ 6,571 ล้านบาท ปี 2543 มีปริมาณ 3,740 ล้านบาท และช่วง 9 เดือนแรกของปี 2544 มีปริมาณ 6,619 ล้านบาท ท่ามกลางสภาพเศรษฐกิจที่อ่อนแอรวมไปถึงผลจากการก่อวินาศกรรมในสหรัฐอเมริกา การซื้อขายหลักทรัพย์เฉลี่ยต่อวันตั้งแต่กันยายนถึงกลางพฤศจิกายน 2544 อยู่ที่ประมาณ 3,700 ล้านบาทต่อวัน แนวโน้มของธุรกิจหลักทรัพย์ยังขึ้นอยู่กับภาวะแวดล้อมที่อ่อนแอของระบบเศรษฐกิจ การเปิดเสรีการคิดค่าธรรมเนียมซื้อขายหลักทรัพย์ตั้งแต่ไตรมาสที่ 4 ของปี 2543 ได้ส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงในหมู่ผู้ประกอบการ ค่าธรรมเนียมการซื้อขายเฉลี่ยตกลงจากระดับ 0.4%-0.5% ของยอดการซื้อขายก่อนเปิดเสรีมาอยู่ที่ระดับประมาณ 0.15% ในปี 2544 โดยบริษัทหลักทรัพย์หลายแห่งยอมขาดทุนจากค่าธรรมเนียมเพื่อรักษาฐานลูกค้าของตนไว้
ทริสกล่าวว่ากลุ่มคูส์มีความตั้งใจเดิมที่จะให้เคจีไอเป็นแกนในการดำเนินธุรกิจหลักทรัพย์ของกลุ่ม โดยได้จัดตั้งบริษัทย่อยที่ถือหุ้นทั้งหมดโดยเคจีไอขึ้นในปี 2542 ที่ฮ่องกง คือ KGI Securities One Holding Ltd. (HOLDCO) เพื่อการลงทุนในต่างประเทศ แต่การควบคุมการโอนเงินบาทออกนอกประเทศในปี 2541 ของทางการไทยทำให้การลงทุนผ่าน HOLDCO ถูกจำกัด ในปลายปี 2543 กลุ่มคูส์จึงได้เปลี่ยนกลยุทธ์ใหม่โดยโอนสถานภาพการเป็นบริษัทแม่ของเคจีไอไปอยู่ที่บริษัทโฮลดิ้งแห่งใหม่ คือ KGI International Holding Ltd. (KGII) ซึ่งจดทะเบียนที่เกาะเคย์แมน ซึ่งมีผลให้ในปลายปี 2543 HOLDCO มีหุ้นเพียง 0.45% ใน KGII และในปี 2544 เคจีไอได้เปลี่ยนเงินลงทุนในต่างประเทศมูลค่า 2,720 ล้านบาท หรือ 36% ของสินทรัพย์ทั้งหมดในปี 2543 ที่ผ่าน HOLDCO มาเป็นการลงทุนในหุ้นกู้และหุ้นกู้แปลงสภาพมูลค่ารวม 70 ล้านดอลล่าร์สหรัฐที่ออกโดย KGII แทน โดยคาดหมายว่าการลงทุนดังกล่าวจะเป็นแหล่งรายได้จากดอกเบี้ยที่มีความสม่ำเสมอกว่าการมีส่วนแบ่งกำไรจากการลงทุนผ่านบริษัทย่อยของ HOLDCO ในต่างประเทศ นอกจากนี้เคจีไอยังมีสัดส่วนการถือหุ้นในบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม วรรณ จำกัด (OAM) ที่คาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ที่สม่ำเสมออีกทางหนึ่ง โดยเคจีไอได้รับเงินปันผลเฉลี่ยประมาณ 22 ล้านบาทต่อปีจาก OAM มาตั้งแต่ปี 2542 เคจีไอมีฐานเงินทุนที่แข็งแกร่งเมื่อเทียบกับคู่แข่ง สัดส่วนสินทรัพย์ต่อส่วนของผู้ถือหุ้นอยู่ที่ระดับ 141.14% และมีทุนจดทะเบียนชำระแล้ว 14,930 ล้านบาท ณ ครึ่งแรกของปี 2544 ซึ่งสืบเนื่องมาจากการเพิ่มทุน 7,000 ล้านบาทในปี 2541 และ 5,000 ล้านบาทในไตรมาสที่ 3 ของปี 2542 นอกจากการช่วยเพิ่มทุนใหม่ให้แก่เคจีไอแล้ว กลุ่มคูส์ยังได้ส่งผ่านลูกค้าใหม่ที่มาจากฐานลูกค้าในต่างประเทศของกลุ่มให้มาทำธุรกรรมผ่านเคจีไอด้วย
เคจีไอสามารถแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่สำคัญ ได้แก่ การลาออกของทีมผู้บริหารเดิม และการเปลี่ยนแปลงเงื่อนไขการใช้สิทธิในใบสำคัญแสดงสิทธิในการซื้อหลักทรัพย์ (Warrant) ให้สอดคล้องกับสภาพตลาด ทีมผู้บริหารใหม่ของเคจีไอภายใต้การนำของกลุ่มคูส์เพิ่งเริ่มบริหารงานอย่างเต็มที่ในปี 2544 ผู้บริหารดังกล่าวมีประสบการณ์ทางธุรกิจหลักทรัพย์ในไต้หวันและฮ่องกงมาก่อน ซึ่งน่าจะช่วยสร้างพัฒนาการใหม่ๆ ให้แก่เคจีไอ อย่างไรก็ตาม ยังต้องใช้เวลาอีกสักระยะในการพิสูจน์ความสำเร็จในการดำเนินนโยบายการบริหารในประเทศไทย นอกจากนี้ผู้บริหารของเคจีไอมีแผนการที่จะกลับเข้าสู่ธุรกิจวาณิชธนกิจอีกครั้งและคาดว่าจะสามารถสร้างรายได้ที่น่าพอใจในอนาคต ทริสกล่าว -- จบ