เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2544 บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ได้ประกาศอันดับเครดิตองค์กรและหุ้นกู้ไม่มีประกัน 1,500 ล้านบาทของบริษัท เซ็นทรัลพัฒนา จำกัด (มหาชน) ในระดับ "BBB+" เท่ากัน โดยอันดับเครดิตสะท้อนสถานะผู้นำในธุรกิจพัฒนาศูนย์การค้า รวมถึงทีมบริหารที่มีประสบการณ์ ทำเลศูนย์การค้าที่หลากหลาย การกระจายประเภทของร้านค้าที่ดำเนินธุรกิจในศูนย์การค้า และคุณภาพบริการที่ดี อย่างไรก็ตาม อันดับเครดิตถูกจำกัดด้วยภาวะการแข่งขันที่สูงของอุตสาหกรรมพัฒนาพื้นที่ค้าปลีกนับตั้งแต่เกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และการเข้ามาของธุรกิจซุปเปอร์สโตร์ซึ่งมีชาวต่างชาติเป็นเจ้าของและบริหารงาน
จากรายงานของทริสระบุว่าบริษัทก่อตั้งในปี 2523 ในชื่อ บริษัท เซ็นทรัลพลาซา จำกัด เพื่อลงทุนในโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่แบบครบวงจรในกรุงเทพมหานคร โดยปัจจุบันมีตระกูลจิราธิวัฒน์จากกลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ผ่านบริษัท เซ็นทรัล โฮลดิ้ง จำกัด 29.25% และผ่านสมาชิกในตระกูล 41.48% บริษัทเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมพัฒนาศูนย์การค้าโดยมีพื้นที่ให้เช่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 259,530 ตารางเมตร บริษัทพัฒนาและบริหารศูนย์การค้า 6 แห่ง อาคารสำนักงาน 2 แห่ง อาคารที่พักอาศัยให้เช่า 1 แห่ง ศูนย์อาหาร 4 แห่ง และให้บริการด้านการจัดการแก่บริษัทในกลุ่ม ในปี 2543 บริษัทมีรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ 80.8% และจากธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 12.5% ทีมบริหารของบริษัทมีประสบการณ์ที่ยาวนานและมีชื่อเสียงซึ่งใช้กลยุทธ์การบริหารศูนย์การค้าด้วยการใช้สิ่งดึงดูดความสนใจผู้บริโภค เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่ง ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าที่มีตราสินค้าที่มีชื่อเสียง ลานอเนกประสงค์ที่กว้างขวาง การผสมผสานประเภทผู้เช่าในศูนย์การค้า และการแบ่งพื้นที่ตามประเภทสินค้า เช่น ร้านเสื้อผ้าและภัตตาคาร นอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลทางตลาดเพื่อปรับปรุงบริการให้บรรลุความต้องการของผู้เช่า รวมทั้งรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ใกล้ชิดกับร้านค้าโดยให้บริการด้วยคุณภาพที่ดีในการส่งเสริมการจำหน่ายและการจัดประชุมกับร้านค้า
ทริสกล่าวว่าวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 ได้ส่งผลให้ร้านค้าปลีกหลายรายต้องปิดตัวลง ในขณะที่ร้านค้าปลีกที่เหลืออยู่จำเป็นต้องปรับปรุงรูปแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ศูนย์การค้าที่สามารถดึงดูดลูกค้ามีอัตราการเช่าพื้นที่ที่ดีขึ้น ในขณะที่ศูนย์การค้าที่ไม่เป็นที่นิยมยังคงมีความลำบากในการรักษาผู้เช่า เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ผู้พัฒนาพื้นที่ค้าปลีกซึ่งรวมถึงบริษัทเองจำเป็นต้องเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีกว่าด้วยราคาที่ต่ำกว่า ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงและพัฒนาทั้งในด้านความคิดรวบยอด (Concept) การออกแบบ และการดำเนินงาน
ฐานะทางการเงินของบริษัทในช่วงปี 2541 - 2543 อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความสามารถในการทำกำไรที่สูงและมีระดับกระแสเงินสดต่อภาระหนี้ที่ค่อนข้างต่ำแม้จะเพิ่มขึ้นจากระดับที่เคยต่ำในปี 2541 บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้มากกว่า 50% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนต่อเงินทุนถาวรที่สูงขึ้นจาก 8.2% ในปี 2541 เป็น 11% ในปี 2543 ส่วนใหญ่เนื่องมาจากอัตราการเช่าพื้นที่ที่ปรับตัวดีขึ้นและการลดลงของส่วนลดค่าเช่าที่ให้แก่ร้านค้าในศูนย์การค้าบางแห่งหลังวิกฤติเศรษฐกิจ อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายได้ปรับตัวจาก 2.1 เท่าในปี 2541 เป็น 3.7 เท่าในปี 2542 และ 4.0 เท่าในปี 2543 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมเพิ่มจาก 18.1% ในปี 2541 เป็น 19.2% ในปี 2542 และ 19.3% ในปี 2543 บริษัทมีแผนการออกหุ้นกู้อายุ 5 ปี จำนวนไม่เกิน 1,500 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 เพื่อใช้จ่ายด้านเงินทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียนในโครงการที่ดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 31 มกราคม 2544 บริษัทมีภาระหนี้คงค้างในระดับที่รับได้ โดยมียอดเงินกู้ระยะยาวจำนวน 3,826 ล้านบาท และยอดเงินกู้ระยะสั้นจำนวน 314 ล้านบาท --จบ
จากรายงานของทริสระบุว่าบริษัทก่อตั้งในปี 2523 ในชื่อ บริษัท เซ็นทรัลพลาซา จำกัด เพื่อลงทุนในโครงการศูนย์การค้าขนาดใหญ่แบบครบวงจรในกรุงเทพมหานคร โดยปัจจุบันมีตระกูลจิราธิวัฒน์จากกลุ่มเซ็นทรัลเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ผ่านบริษัท เซ็นทรัล โฮลดิ้ง จำกัด 29.25% และผ่านสมาชิกในตระกูล 41.48% บริษัทเป็นผู้นำในอุตสาหกรรมพัฒนาศูนย์การค้าโดยมีพื้นที่ให้เช่ารวมทั้งสิ้นประมาณ 259,530 ตารางเมตร บริษัทพัฒนาและบริหารศูนย์การค้า 6 แห่ง อาคารสำนักงาน 2 แห่ง อาคารที่พักอาศัยให้เช่า 1 แห่ง ศูนย์อาหาร 4 แห่ง และให้บริการด้านการจัดการแก่บริษัทในกลุ่ม ในปี 2543 บริษัทมีรายได้จากค่าเช่าและค่าบริการ 80.8% และจากธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 12.5% ทีมบริหารของบริษัทมีประสบการณ์ที่ยาวนานและมีชื่อเสียงซึ่งใช้กลยุทธ์การบริหารศูนย์การค้าด้วยการใช้สิ่งดึงดูดความสนใจผู้บริโภค เช่น ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล โรงภาพยนตร์ โบว์ลิ่ง ซุปเปอร์มาร์เก็ต ร้านค้าที่มีตราสินค้าที่มีชื่อเสียง ลานอเนกประสงค์ที่กว้างขวาง การผสมผสานประเภทผู้เช่าในศูนย์การค้า และการแบ่งพื้นที่ตามประเภทสินค้า เช่น ร้านเสื้อผ้าและภัตตาคาร นอกจากนี้ยังได้รวบรวมข้อมูลทางตลาดเพื่อปรับปรุงบริการให้บรรลุความต้องการของผู้เช่า รวมทั้งรักษาความสัมพันธ์ทางธุรกิจที่ใกล้ชิดกับร้านค้าโดยให้บริการด้วยคุณภาพที่ดีในการส่งเสริมการจำหน่ายและการจัดประชุมกับร้านค้า
ทริสกล่าวว่าวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในปี 2540 ได้ส่งผลให้ร้านค้าปลีกหลายรายต้องปิดตัวลง ในขณะที่ร้านค้าปลีกที่เหลืออยู่จำเป็นต้องปรับปรุงรูปแบบให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค ศูนย์การค้าที่สามารถดึงดูดลูกค้ามีอัตราการเช่าพื้นที่ที่ดีขึ้น ในขณะที่ศูนย์การค้าที่ไม่เป็นที่นิยมยังคงมีความลำบากในการรักษาผู้เช่า เพื่อรักษาความสามารถในการแข่งขัน ผู้พัฒนาพื้นที่ค้าปลีกซึ่งรวมถึงบริษัทเองจำเป็นต้องเน้นคุณภาพของผลิตภัณฑ์และบริการที่ดีกว่าด้วยราคาที่ต่ำกว่า ในขณะเดียวกันก็ต้องปรับปรุงและพัฒนาทั้งในด้านความคิดรวบยอด (Concept) การออกแบบ และการดำเนินงาน
ฐานะทางการเงินของบริษัทในช่วงปี 2541 - 2543 อยู่ในระดับปานกลาง โดยมีความสามารถในการทำกำไรที่สูงและมีระดับกระแสเงินสดต่อภาระหนี้ที่ค่อนข้างต่ำแม้จะเพิ่มขึ้นจากระดับที่เคยต่ำในปี 2541 บริษัทมีกำไรจากการดำเนินงานต่อรายได้มากกว่า 50% ในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา ผลตอบแทนต่อเงินทุนถาวรที่สูงขึ้นจาก 8.2% ในปี 2541 เป็น 11% ในปี 2543 ส่วนใหญ่เนื่องมาจากอัตราการเช่าพื้นที่ที่ปรับตัวดีขึ้นและการลดลงของส่วนลดค่าเช่าที่ให้แก่ร้านค้าในศูนย์การค้าบางแห่งหลังวิกฤติเศรษฐกิจ อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายได้ปรับตัวจาก 2.1 เท่าในปี 2541 เป็น 3.7 เท่าในปี 2542 และ 4.0 เท่าในปี 2543 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมเพิ่มจาก 18.1% ในปี 2541 เป็น 19.2% ในปี 2542 และ 19.3% ในปี 2543 บริษัทมีแผนการออกหุ้นกู้อายุ 5 ปี จำนวนไม่เกิน 1,500 ล้านบาท ในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 เพื่อใช้จ่ายด้านเงินทุนและเป็นเงินทุนหมุนเวียนในโครงการที่ดำเนินการอยู่ ณ วันที่ 31 มกราคม 2544 บริษัทมีภาระหนี้คงค้างในระดับที่รับได้ โดยมียอดเงินกู้ระยะยาวจำนวน 3,826 ล้านบาท และยอดเงินกู้ระยะสั้นจำนวน 314 ล้านบาท --จบ