เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2544 บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ได้ประกาศผลอันดับเครดิตหุ้นกู้ไม่มีประกันมูลค่า 7,000 ล้านบาท กำหนดไถ่ถอนปี 2549 ของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "A+" ซึ่งสะท้อนถึงสถานะผู้นำในธุรกิจเกษตรอุตสาหกรรม การกระจายความเสี่ยงสู่ธุรกิจที่หลากหลายไปตามภูมิภาคต่างๆ ตลอดจนการมีทีมบริหารที่มีความสามารถ ในขณะเดียวกัน อันดับเครดิตยังสะท้อนการแข่งขันที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นของอุตสาหกรรมเกษตรในตลาดโลก และความกังวลเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างของบริษัท
ทริสรายงานว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเป็นธุรกิจหลักด้านการเกษตรของเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งถือหุ้นโดยตรงในบริษัท 33% ปัจจุบันบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) ถือหุ้นเกือบ 100% โดยตระกูลเจียรวนนท์ สำหรับตลาดในประเทศ บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจอาหารกุ้งมากกว่า 60% และในธุรกิจอาหารสัตว์ประมาณ 35%-40% การทำธุรกิจไก่ครบวงจรช่วยทำให้สินค้าของบริษัทมีคุณภาพได้มาตรฐานสำหรับการส่งไปจำหน่ายในตลาดยุโรปและญี่ปุ่น ในส่วนของธุรกิจกุ้ง บริษัทเน้นสินค้าอาหารกุ้งและส่งออกกุ้งแปรรูป การกระจายตลาดไปยังภูมิภาคต่างๆ โดยการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกจาก 9% ในปี 2540 เป็น 17% ในปี 2542 ทำให้บริษัทลดการพึ่งพาตลาดในประเทศลง
ในช่วงตกต่ำของธุรกิจสัตว์บกในปี 2543 ทำให้ราคาสินค้าของธุรกิจดังกล่าวลดลงทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก อย่างไรก็ดี สถานการณ์สินค้าล้นตลาดคาดว่าจะดีขึ้นในปี 2544 เมื่อมีการระบายสินค้าในสต๊อคออกไป ส่วนธุรกิจสัตว์น้ำนั้นได้รับประโยชน์จากการขาดแคลนกุ้งในตลาดโลกซึ่งคาดว่าจะต่อเนื่องไปอีก 2 ปีก่อนที่ความต้องการและผลผลิตกุ้งจะคืนสู่สมดุล สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยในประเทศผู้ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น อาจส่งผลลบต่อความต้องการสินค้า ในขณะที่มาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมทำให้การส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลำบากมากขึ้น นอกจากนี้ การกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ จากประเทศผู้นำเข้ายังสร้างความกังวลต่อบรรยากาศการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
การปรับโครงสร้างองค์กรของเครือเจริญโภคภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมามีผลทำให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารในเครือมาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เกือบทั้งหมด ผลประกอบการที่สูงขึ้นมากของปี 2541 และ 2542 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการรวมธุรกิจสัตว์บกและธุรกิจเนื้อสัตว์แปรรูป ส่วนผลประกอบการปี 2543 ที่อ่อนแอลงนั้นส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการรวมบริษัทลูกแห่งใหม่คือ Charoen Pokphand (USA), Inc. อัตรากำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่ายของบริษัทลดลงเป็น 8.5% สำหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2543 จาก 13.8% ในปี 2542 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมลดเป็น 13.1% จากระดับสูงสุดที่ 38.5% ในปี 2542 อัตรากำไรก่อนภาษีและดอกเบี้ยจ่ายก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายยังคงอยู่ในระดับดีที่ 4.6 เท่า ในขณะที่อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อแหล่งเงินทุนที่ระดับ 46.7% ณ สิ้นงวด 9 เดือนแรกของปี 2543 อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทริสเห็นว่านโยบายของบริษัทที่เน้นการเติบโตในธุรกิจหลักเพื่อขยายสู่ระดับภูมิภาคหรือระดับโลกถือเป็นกลยุทธ์ที่รอบคอบ ความตั้งใจของผู้บริหารที่จะลดการลงทุนและขายธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักได้มีการชี้แจงอย่างชัดเจนและเห็นได้จากการขายการลงทุนใน "โลตัสซุปเปอร์เซ็นเตอร์" ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างของบริษัทที่จะรวมธุรกิจเกษตรและอาหารจากเครือเจริญโภคภัณฑ์เพิ่มเติมในอนาคตอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของบริษัท ปัจจัยทางด้านแหล่งเงินทุนที่ใช้ ราคาในการซื้อขาย และวิธีการในการรวมกิจการอาจทำให้งบดุลของบริษัทอ่อนแอลงหากมีการใช้เงินกู้จำนวนมากในการควบกิจการ -- จบ
ทริสรายงานว่า บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เป็นผู้ประกอบการธุรกิจการเกษตรรายใหญ่ที่สุดในประเทศไทยและเป็นธุรกิจหลักด้านการเกษตรของเครือเจริญโภคภัณฑ์ซึ่งถือหุ้นโดยตรงในบริษัท 33% ปัจจุบันบริษัท เครือเจริญโภคภัณฑ์ จำกัด (ซีพี) ถือหุ้นเกือบ 100% โดยตระกูลเจียรวนนท์ สำหรับตลาดในประเทศ บริษัทมีส่วนแบ่งตลาดในธุรกิจอาหารกุ้งมากกว่า 60% และในธุรกิจอาหารสัตว์ประมาณ 35%-40% การทำธุรกิจไก่ครบวงจรช่วยทำให้สินค้าของบริษัทมีคุณภาพได้มาตรฐานสำหรับการส่งไปจำหน่ายในตลาดยุโรปและญี่ปุ่น ในส่วนของธุรกิจกุ้ง บริษัทเน้นสินค้าอาหารกุ้งและส่งออกกุ้งแปรรูป การกระจายตลาดไปยังภูมิภาคต่างๆ โดยการเพิ่มสัดส่วนรายได้จากการส่งออกจาก 9% ในปี 2540 เป็น 17% ในปี 2542 ทำให้บริษัทลดการพึ่งพาตลาดในประเทศลง
ในช่วงตกต่ำของธุรกิจสัตว์บกในปี 2543 ทำให้ราคาสินค้าของธุรกิจดังกล่าวลดลงทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก อย่างไรก็ดี สถานการณ์สินค้าล้นตลาดคาดว่าจะดีขึ้นในปี 2544 เมื่อมีการระบายสินค้าในสต๊อคออกไป ส่วนธุรกิจสัตว์น้ำนั้นได้รับประโยชน์จากการขาดแคลนกุ้งในตลาดโลกซึ่งคาดว่าจะต่อเนื่องไปอีก 2 ปีก่อนที่ความต้องการและผลผลิตกุ้งจะคืนสู่สมดุล สภาพเศรษฐกิจที่ถดถอยในประเทศผู้ค้าหลัก เช่น สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น อาจส่งผลลบต่อความต้องการสินค้า ในขณะที่มาตรการต่างๆ ที่เข้มงวดในด้านสุขภาพและสิ่งแวดล้อมทำให้การส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศลำบากมากขึ้น นอกจากนี้ การกีดกันทางการค้าในรูปแบบต่างๆ จากประเทศผู้นำเข้ายังสร้างความกังวลต่อบรรยากาศการแข่งขันในตลาดต่างประเทศ
การปรับโครงสร้างองค์กรของเครือเจริญโภคภัณฑ์ตั้งแต่ปี 2541 เป็นต้นมามีผลทำให้ธุรกิจการเกษตรและอาหารในเครือมาอยู่ภายใต้การดำเนินงานของบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) เกือบทั้งหมด ผลประกอบการที่สูงขึ้นมากของปี 2541 และ 2542 ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการรวมธุรกิจสัตว์บกและธุรกิจเนื้อสัตว์แปรรูป ส่วนผลประกอบการปี 2543 ที่อ่อนแอลงนั้นส่วนหนึ่งเนื่องมาจากการรวมบริษัทลูกแห่งใหม่คือ Charoen Pokphand (USA), Inc. อัตรากำไรจากการดำเนินงานก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่ายของบริษัทลดลงเป็น 8.5% สำหรับงวด 9 เดือนแรกของปี 2543 จาก 13.8% ในปี 2542 อัตราส่วนเงินทุนจากการดำเนินงานต่อเงินกู้รวมลดเป็น 13.1% จากระดับสูงสุดที่ 38.5% ในปี 2542 อัตรากำไรก่อนภาษีและดอกเบี้ยจ่ายก่อนค่าเสื่อมราคาและค่าตัดจ่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายยังคงอยู่ในระดับดีที่ 4.6 เท่า ในขณะที่อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อแหล่งเงินทุนที่ระดับ 46.7% ณ สิ้นงวด 9 เดือนแรกของปี 2543 อยู่ในระดับที่น่าพอใจ ทริสเห็นว่านโยบายของบริษัทที่เน้นการเติบโตในธุรกิจหลักเพื่อขยายสู่ระดับภูมิภาคหรือระดับโลกถือเป็นกลยุทธ์ที่รอบคอบ ความตั้งใจของผู้บริหารที่จะลดการลงทุนและขายธุรกิจอื่นที่ไม่ใช่ธุรกิจหลักได้มีการชี้แจงอย่างชัดเจนและเห็นได้จากการขายการลงทุนใน "โลตัสซุปเปอร์เซ็นเตอร์" ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม การปรับโครงสร้างของบริษัทที่จะรวมธุรกิจเกษตรและอาหารจากเครือเจริญโภคภัณฑ์เพิ่มเติมในอนาคตอาจกระทบต่อผลการดำเนินงานโดยรวมของบริษัท ปัจจัยทางด้านแหล่งเงินทุนที่ใช้ ราคาในการซื้อขาย และวิธีการในการรวมกิจการอาจทำให้งบดุลของบริษัทอ่อนแอลงหากมีการใช้เงินกู้จำนวนมากในการควบกิจการ -- จบ