บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ประกาศผลอันดับเครดิตหุ้นกู้มีค้ำประกันของบริษัท ไทยน๊อคซ์ สตีล จำกัด (ไทยน๊อคซ์) ในวงเงินไม่เกิน 3,600 ล้านบาทที่ระดับ "AA-" โดยหุ้นกู้ดังกล่าวค้ำประกันโดยบริษัทแม่ คือ USINOR ของฝรั่งเศส ซึ่งได้รับการจัดอันดับเครดิตจากมูดี้ส์และเอสแอนด์พีที่ระดับ "Baa2" และ "BBB" ตามลำดับ ทั้งนี้ อันดับเครดิตหุ้นกู้ของไทยน๊อคซ์สะท้อนการค้ำประกันของ USINOR ที่มีต่อผู้ถือหุ้นกู้อย่างไม่มีเงื่อนไขและยกเลิกไม่ได้ เงินจากการออกหุ้นกู้ในครั้งนี้จะนำไปชำระเงินที่ไทยน๊อคซ์กู้จาก USINOR ดังนั้นจึงไม่มีผลกระทบต่อภาระหนี้ของไทยน็อคซ์ อีกทั้งเงินจำนวน 3,600 ล้านบาทยังคิดเป็นสัดส่วนเพียง 2% ของมูลค่าผู้ถือหุ้นของ USINOR จึงไม่มีผลกระทบต่ออัตราส่วนหนี้สินระยะยาวต่อส่วนของผู้ถือหุ้นของ USINOR ในปัจจุบันที่ระดับ 0.47
ทริสรายงานว่าภายใต้สัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องรับประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนอย่างไม่มีเงื่อนไขและยกเลิกไม่ได้ ภาระการค้ำประกันจะมีผลเมื่อตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้ทำหนังสือแจ้งต่อผู้ค้ำประกันเมื่อมีการผิดสัญญาหุ้นกู้ เนื่องจากสัญญาค้ำประกันอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศฝรั่งเศส หากผู้ค้ำประกันไม่ปฏิบัติตามสัญญาหลังจากได้รับหนังสือแจ้งแล้ว ตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ณ ศาลแพ่งของประเทศฝรั่งเศส โดยผู้ถือหุ้นกู้ไม่จำเป็นต้องฟ้องร้องบังคับคดีต่อไทยน๊อคซ์ ทั้งนี้ ภาระหนี้จากหุ้นกู้ค้ำประกันนี้อยู่ในลำดับเดียวกับหนี้ที่ไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิของผู้ค้ำประกัน
ทริสกล่าวว่าอันดับเครดิตของ USINOR สะท้อนความเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในยุโรปและเป็นผู้ผลิตหนึ่งในสองอันดับแรกของโลกในด้านรายได้ นอกจากนั้น บริษัทยังเป็นผู้ผลิตเหล็กไร้สนิมรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีความได้เปรียบทางด้านโครงสร้างต้นทุนจากความพยายามที่จะลดต้นทุนมาโดยตลอด แต่จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนจากสภาวะผันผวนของอุตสาหกรรมเหล็ก บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส มียอดขาย 15,733 ล้านยูโรในปี 2543 ปัจจุบัน USINOR ถือหุ้น 93% ในไทยน๊อคซ์ โดยไทยน๊อคซ์เป็นฐานการผลิตเพียงแห่งเดียวของ USINOR ในเอเชีย
ณ เดือนมีนาคม 2544 USINOR ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกลุ่มบริษัท Arbed ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กครบวงจรรายใหญ่ในประเทศลักเซมเบอร์ก และกลุ่มบริษัท Aceralia ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่จากประเทศสเปน เพื่อรวมตัวกันจัดตั้งบริษัทใหม่โดยการแลกหุ้น ผลจากการควบกิจการจะทำให้กลุ่มบริษัททั้งสามมีกำลังการผลิตเหล็กสูงที่สุดในโลกขณะนี้การควบรวมกิจการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันการผูกขาดของประเทศกลุ่มตลาดร่วมยุโรป ในปี 2543 USINOR มีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อแหล่งเงินทุนระยะยาวที่ระดับ 39% และมีเงินสด 582 ล้านยูโร
ดังนั้นสัดส่วนของหนี้สินสุทธิต่อแหล่งเงินทุนระยะยาวจึงเท่ากับ 33% ในปี 2543 ในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2544 USINOR มียอดขาย 7.8 พันล้านยูโร และมีกำไรจากการดำเนินงานหลังหักค่าเสื่อมราคาเท่ากับ 198 ล้านยูโร โดยอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานลดลงจาก 8.9% เหลือ 2.5% ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน
ทริสกล่าวว่าแม้ว่าไทยน็อคซ์จะมียอดขายคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1% ของ USINOR และมีกำลังการผลิตเท่ากับ 1% ของกำลังการผลิตของกลุ่ม USINOR ทั่วโลก แต่ในฐานะที่เป็นฐานการผลิตเหล็กไร้สนิมเพียงแห่งเดียวในเอเชีย ไทยน๊อคซ์จึงมีความสำคัญต่อ USINOR ตามแผนในการเป็นบริษัทระดับโลก นอกจากนั้น การเพิ่มทุนในไทยน๊อคซ์เกือบถึง 218 ล้านดอลล่าร์สหรัฐนับจากปี 2536 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ทริสเชื่อมั่นว่าไทยน๊อคซ์จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากบริษัทแม่ -- จบ
ทริสรายงานว่าภายใต้สัญญาค้ำประกัน ผู้ค้ำประกันต้องรับประกันเงินต้นและดอกเบี้ยเต็มจำนวนอย่างไม่มีเงื่อนไขและยกเลิกไม่ได้ ภาระการค้ำประกันจะมีผลเมื่อตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้ทำหนังสือแจ้งต่อผู้ค้ำประกันเมื่อมีการผิดสัญญาหุ้นกู้ เนื่องจากสัญญาค้ำประกันอยู่ภายใต้กฎหมายของประเทศฝรั่งเศส หากผู้ค้ำประกันไม่ปฏิบัติตามสัญญาหลังจากได้รับหนังสือแจ้งแล้ว ตัวแทนผู้ถือหุ้นกู้สามารถฟ้องร้องบังคับคดีได้ ณ ศาลแพ่งของประเทศฝรั่งเศส โดยผู้ถือหุ้นกู้ไม่จำเป็นต้องฟ้องร้องบังคับคดีต่อไทยน๊อคซ์ ทั้งนี้ ภาระหนี้จากหุ้นกู้ค้ำประกันนี้อยู่ในลำดับเดียวกับหนี้ที่ไม่มีประกันและไม่ด้อยสิทธิของผู้ค้ำประกัน
ทริสกล่าวว่าอันดับเครดิตของ USINOR สะท้อนความเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในยุโรปและเป็นผู้ผลิตหนึ่งในสองอันดับแรกของโลกในด้านรายได้ นอกจากนั้น บริษัทยังเป็นผู้ผลิตเหล็กไร้สนิมรายใหญ่อันดับสองของโลก และมีความได้เปรียบทางด้านโครงสร้างต้นทุนจากความพยายามที่จะลดต้นทุนมาโดยตลอด แต่จุดเด่นดังกล่าวถูกลดทอนจากสภาวะผันผวนของอุตสาหกรรมเหล็ก บริษัทมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่กรุงปารีส มียอดขาย 15,733 ล้านยูโรในปี 2543 ปัจจุบัน USINOR ถือหุ้น 93% ในไทยน๊อคซ์ โดยไทยน๊อคซ์เป็นฐานการผลิตเพียงแห่งเดียวของ USINOR ในเอเชีย
ณ เดือนมีนาคม 2544 USINOR ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจกับกลุ่มบริษัท Arbed ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กครบวงจรรายใหญ่ในประเทศลักเซมเบอร์ก และกลุ่มบริษัท Aceralia ซึ่งเป็นผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่จากประเทศสเปน เพื่อรวมตัวกันจัดตั้งบริษัทใหม่โดยการแลกหุ้น ผลจากการควบกิจการจะทำให้กลุ่มบริษัททั้งสามมีกำลังการผลิตเหล็กสูงที่สุดในโลกขณะนี้การควบรวมกิจการอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะกรรมการป้องกันการผูกขาดของประเทศกลุ่มตลาดร่วมยุโรป ในปี 2543 USINOR มีอัตราส่วนหนี้สินรวมต่อแหล่งเงินทุนระยะยาวที่ระดับ 39% และมีเงินสด 582 ล้านยูโร
ดังนั้นสัดส่วนของหนี้สินสุทธิต่อแหล่งเงินทุนระยะยาวจึงเท่ากับ 33% ในปี 2543 ในรอบ 6 เดือนแรกของปี 2544 USINOR มียอดขาย 7.8 พันล้านยูโร และมีกำไรจากการดำเนินงานหลังหักค่าเสื่อมราคาเท่ากับ 198 ล้านยูโร โดยอัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานลดลงจาก 8.9% เหลือ 2.5% ในรอบระยะเวลาบัญชีเดียวกัน
ทริสกล่าวว่าแม้ว่าไทยน็อคซ์จะมียอดขายคิดเป็นสัดส่วนเพียง 1% ของ USINOR และมีกำลังการผลิตเท่ากับ 1% ของกำลังการผลิตของกลุ่ม USINOR ทั่วโลก แต่ในฐานะที่เป็นฐานการผลิตเหล็กไร้สนิมเพียงแห่งเดียวในเอเชีย ไทยน๊อคซ์จึงมีความสำคัญต่อ USINOR ตามแผนในการเป็นบริษัทระดับโลก นอกจากนั้น การเพิ่มทุนในไทยน๊อคซ์เกือบถึง 218 ล้านดอลล่าร์สหรัฐนับจากปี 2536 ตลอดมาจนถึงปัจจุบัน ทำให้ทริสเชื่อมั่นว่าไทยน๊อคซ์จะได้รับการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากบริษัทแม่ -- จบ