บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ประกาศผลทบทวนอันดับเครดิตองค์กรของบริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (ปตท.สผ.) จากเดิมที่ระดับ "AA" เพิ่มขึ้นป็น "AA+" โดยสะท้อนฐานะการเงินที่แข็งแกร่งขึ้นมาก ความเข้มแข็งของสินทรัพย์ในรูปของปริมาณสำรองปิโตรเลียม ความเป็นผู้นำในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศไทย และโครงสร้างของสัญญาขายก๊าซธรรมชาติที่ช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบ โดยทริสเชื่อว่าบริษัทมีความเข้มแข็งเพียงพอที่จะต้านทานต่อภาวะอุตสาหกรรมในช่วงขาลง
ทริสรายงานว่า ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมระดับแนวหน้าของประเทศไทย และเป็นเจ้าของแหล่งสำรองปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคิดเป็น 25% ของปริมาณสำรองทั้งหมด โดยมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วสูงถึง 779 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ณ สิ้นปี 2543 นับว่ามีมากพอเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทระดับโลก และเมื่อพิจารณาจากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ระดับ 93,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ปริมาณสำรองดังกล่าวจะใช้ได้นานถึง 23 ปี ซึ่งนานกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 10-15 ปี
ทริสกล่าวว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเดิมคือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน ปตท.สผ. ในสัดส่วน 61% การแปรรูป ปตท. มีผลกระทบไม่มากนักต่อการดำเนินธุรกิจของ ปตท.สผ. เนื่องจากบริษัททั้งคู่ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้ พ.ร.บ. งบประมาณของไทย ในฐานะบริษัทลูกของ ปตท. และเป็นบริษัทไทยรายเดียวที่ทำธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ปตท.สผ. จึงมักได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมและรับสัมปทานภายใต้เงื่อนไขที่พิเศษกว่าปกติ และในบางครั้งได้รับสัมปทานโดยตรงจากรัฐบาล จากที่เคยร่วมทุนกับบริษัทน้ำมันต่างประเทศ ปัจจุบัน ปตท.สผ. เป็นผู้ประกอบการในแหล่งบงกชซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศตั้งแต่กลางปี 2541 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่น ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ปตท.สผ. จัดว่าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ต้นทุนเฉลี่ยในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในระยะ 3 ปีที่ผ่านมามีค่า 1.78 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกที่ 5.00 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ
เนื่องจากในช่วงดังกล่าวปริมาณสำรองปิโตรเลียมได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในขณะที่ต้นทุนการสำรวจลดต่ำลง นอกจากนี้ การได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าร่วมสัมปทานในฐานะกลไกของรัฐยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในด้านต้นทุนให้แก่บริษัทด้วย ส่วนต้นทุนในการผลิตปิโตรเลียมในปี 2543 มีค่า 2.61 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของโลกที่ระดับ 2.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในด้านฐานะการเงินของ ปตท.สผ. นั้น ทริสกล่าวว่ามีความเข้มแข็งมาก ระดับราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในปี 2543 ที่สูงสุดในรอบ 10 ปี ทำให้ผลการดำเนินงานของ ปตท.สผ. ประจำปี 2543 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2544 ดีขึ้นมาก โดยกำไรสุทธิของบริษัทในปี 2543 สูงถึง 5,433 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 148% จาก ปี 2542 แม้ระดับราคาน้ำมันดิบได้เริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 แต่ราคาก๊าซธรรมชาติยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นและคงตัวในระดับสูงต่อเนื่องมาจนถึงครึ่งแรกของปี 2544 ซึ่งทำให้ ปตท.สผ. มีกำไรสุทธิสูงถึง 8,680 ล้านบาทในงวด 9 เดือนแรกของปี 2544 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 ปตท.สผ. มีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นสูงถึง 21,841 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอสำหรับการลงทุนมูลค่า 225 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในช่วงสิ้นปีนี้ใน PT. Medco Energi Internasional Tbk. (Medco) ซึ่งดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศอินโดนีเซีย แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับความต้องการก๊าซธรรมชาติที่ต่ำกว่าที่คาดในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า อาจส่งผลกระทบต่อ ปตท.สผ. ไม่มากนัก เนื่องจากกว่า 2 ใน 3 ของปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติมีสัญญาซื้อขายระยะยาวที่มีเงื่อนไขแบบ Take-or-Pay กับ ปตท. แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในช่วงขาลง แต่โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติที่กำหนดไว้ในสัญญาช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบลงได้บางส่วน -- จบ
ทริสรายงานว่า ปตท.สผ. เป็นบริษัทสำรวจและผลิตปิโตรเลียมระดับแนวหน้าของประเทศไทย และเป็นเจ้าของแหล่งสำรองปิโตรเลียมที่ใหญ่ที่สุดในประเทศคิดเป็น 25% ของปริมาณสำรองทั้งหมด โดยมีปริมาณสำรองปิโตรเลียมที่พิสูจน์แล้วสูงถึง 779 ล้านบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ณ สิ้นปี 2543 นับว่ามีมากพอเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทระดับโลก และเมื่อพิจารณาจากกำลังการผลิตในปัจจุบันที่ระดับ 93,000 บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบต่อวัน ปริมาณสำรองดังกล่าวจะใช้ได้นานถึง 23 ปี ซึ่งนานกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรมที่ 10-15 ปี
ทริสกล่าวว่า บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งเดิมคือการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (ปตท.) เป็นรัฐวิสาหกิจที่เป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ใน ปตท.สผ. ในสัดส่วน 61% การแปรรูป ปตท. มีผลกระทบไม่มากนักต่อการดำเนินธุรกิจของ ปตท.สผ. เนื่องจากบริษัททั้งคู่ยังมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจภายใต้ พ.ร.บ. งบประมาณของไทย ในฐานะบริษัทลูกของ ปตท. และเป็นบริษัทไทยรายเดียวที่ทำธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ปตท.สผ. จึงมักได้รับประโยชน์ในการเข้าร่วมและรับสัมปทานภายใต้เงื่อนไขที่พิเศษกว่าปกติ และในบางครั้งได้รับสัมปทานโดยตรงจากรัฐบาล จากที่เคยร่วมทุนกับบริษัทน้ำมันต่างประเทศ ปัจจุบัน ปตท.สผ. เป็นผู้ประกอบการในแหล่งบงกชซึ่งเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติที่ใหญ่ที่สุดในประเทศตั้งแต่กลางปี 2541 เมื่อเปรียบเทียบกับผู้ประกอบการรายอื่น ประสิทธิภาพในการดำเนินงานของ ปตท.สผ. จัดว่าอยู่ในระดับที่แข่งขันได้ ต้นทุนเฉลี่ยในการสำรวจและพัฒนาปิโตรเลียมในระยะ 3 ปีที่ผ่านมามีค่า 1.78 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งต่ำมากเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของโลกที่ 5.00 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ
เนื่องจากในช่วงดังกล่าวปริมาณสำรองปิโตรเลียมได้เพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากในขณะที่ต้นทุนการสำรวจลดต่ำลง นอกจากนี้ การได้รับสิทธิพิเศษในการเข้าร่วมสัมปทานในฐานะกลไกของรัฐยังช่วยเพิ่มความได้เปรียบในด้านต้นทุนให้แก่บริษัทด้วย ส่วนต้นทุนในการผลิตปิโตรเลียมในปี 2543 มีค่า 2.61 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ซึ่งใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของโลกที่ระดับ 2.53 ดอลล่าร์สหรัฐต่อบาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ ในด้านฐานะการเงินของ ปตท.สผ. นั้น ทริสกล่าวว่ามีความเข้มแข็งมาก ระดับราคาน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติในปี 2543 ที่สูงสุดในรอบ 10 ปี ทำให้ผลการดำเนินงานของ ปตท.สผ. ประจำปี 2543 และงวด 9 เดือนแรกของปี 2544 ดีขึ้นมาก โดยกำไรสุทธิของบริษัทในปี 2543 สูงถึง 5,433 ล้านบาท ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 148% จาก ปี 2542 แม้ระดับราคาน้ำมันดิบได้เริ่มปรับตัวลดลงตั้งแต่เดือนกันยายน 2543 แต่ราคาก๊าซธรรมชาติยังคงปรับตัวเพิ่มขึ้นและคงตัวในระดับสูงต่อเนื่องมาจนถึงครึ่งแรกของปี 2544 ซึ่งทำให้ ปตท.สผ. มีกำไรสุทธิสูงถึง 8,680 ล้านบาทในงวด 9 เดือนแรกของปี 2544 ณ สิ้นเดือนกันยายน 2544 ปตท.สผ. มีเงินสดและเงินลงทุนระยะสั้นสูงถึง 21,841 ล้านบาท ซึ่งเพียงพอสำหรับการลงทุนมูลค่า 225 ล้านดอลล่าร์สหรัฐในช่วงสิ้นปีนี้ใน PT. Medco Energi Internasional Tbk. (Medco) ซึ่งดำเนินธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในประเทศอินโดนีเซีย แนวโน้มการเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะลอตัว ประกอบกับความต้องการก๊าซธรรมชาติที่ต่ำกว่าที่คาดในอีก 2-3 ปี ข้างหน้า อาจส่งผลกระทบต่อ ปตท.สผ. ไม่มากนัก เนื่องจากกว่า 2 ใน 3 ของปริมาณการผลิตก๊าซธรรมชาติมีสัญญาซื้อขายระยะยาวที่มีเงื่อนไขแบบ Take-or-Pay กับ ปตท. แม้ว่าราคาน้ำมันดิบจะอยู่ในช่วงขาลง แต่โครงสร้างราคาก๊าซธรรมชาติที่กำหนดไว้ในสัญญาช่วยลดความเสี่ยงจากความผันผวนของราคาน้ำมันดิบลงได้บางส่วน -- จบ