บริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) ประกาศผลอันดับเครดิตองค์กรของบริษัทเงินทุน ทิสโก้ จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ "A-" ซึ่งสะท้อนถึงความสามารถของทีมบริหาร สถานะทางการตลาดในธุรกิจเช่าซื้อ และความแข็งแกร่งของฐานเงินกองทุนของบริษัทหลังจากได้รับการเพิ่มทุนจากกระทรวงการคลังและผู้ร่วมทุนสมทบ อย่างไรก็ตาม จุดแข็งดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากความไม่แน่นอนของภาคธุรกิจเงินทุน และการแข่งขันที่รุนแรงในภาคธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ โดยเฉพาะธุรกิจเช่าซื้อและธุรกิจหลักทรัพย์ ทั้งนี้ อันดับเครดิตดังกล่าวยังสะท้อนถึงภาพรวมของสถานะทางการเงินของบริษัทที่ดีขึ้นอีกด้วย
ทริสรายงานว่า ในปี 2542 บง. ทิสโก้ได้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกระทรวงการคลัง ตามโครงการ 14 สิงหาคม 2541 ในการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ภายหลังจากที่บริษัทได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นครบ 100% เพื่อเพิ่มฐานเงินกองทุนสำหรับรองรับปัญหาสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ และมีเงินกองทุนที่เพียงพอสำหรับการขยายธุรกิจในอนาคต ในเดือนมิถุนายน 2542 บริษัทได้ออกหุ้นบุริมสิทธิมูลค่า 6,000 ล้านบาทให้แก่กระทรวงการคลังและผู้ร่วมทุนสมทบ และยังได้ออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิมูลค่า 331 ล้านบาทให้แก่กระทรวงการคลังภายใต้โครงการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 การเพิ่มฐานเงินกองทุนในครั้งนี้ทำให้บริษัทสามารถตัดหนี้เสียจำนวนมากให้เป็นหนี้สูญได้ และยังช่วยให้อัตราส่วนการดำรงเงินกองทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 8.1% ในปี 2541 เป็น 16.5% ในเดือนมิถุนายน 2544
ในส่วนของคุณภาพสินทรัพย์ของบริษัทนั้นปรับตัวดีขึ้นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ลดลงค่อนข้างมากจาก 14,144 ล้านบาท หรือ 44.1% ของสินเชื่อรวมในปี 2541 เป็น 2,572 ล้านบาท หรือ 9.4% ของสินเชื่อรวมในเดือนมิถุนายน 2544 โดยต่ำกว่าตัวเลขสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้โดยเฉลี่ยของสถาบันการเงินและบริษัทเงินทุนซึ่งเท่ากับ 13.1% และ 15.9% ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่บริษัทสามารถตัดหนี้เสียจำนวนมากให้เป็นหนี้สูญในปี 2542 และประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การตัดหนี้สูญและการได้รับชำระหนี้คืนช่วยให้ผลการดำเนินงานของบริษัทในปี 2543 ค่อนข้างดี อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์รวมเฉลี่ยและอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเฉลี่ยของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก -9.69% และ -10.46% ในปี 2542 เป็น 2.51% และ 2.09% ในปี 2543 โดยที่อัตราส่วนผู้ถือหุ้นต่อสินทรัพย์รวมสูงขึ้นจาก 6.73% ในปี 2541 เป็น 12.53% ในปี 2543
ทริสกล่าวว่าการแก้ปัญหาสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ยังคงเป็นประเด็นสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน ภาครัฐได้จัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บบส.) เพื่อช่วยลดภาระสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้และช่วยให้สถาบันการเงินสามารถดำเนินธุรกิจหลักต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของ บบส. ยังไม่ปรากฏ ในขณะที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ยังแสดงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลง ประกอบกับการที่สถาบันการเงินยังคงมีสภาพคล่องเหลืออยู่ จึงส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง นอกจากนี้ การเข้ามาของสถาบันการเงินต่างประเทศยังมีส่วนทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ส่วนแนวโน้มในระยะใกล้ของธุรกิจหลักทรัพย์ยังคงน่าเป็นห่วงจากผลของการแข่งขันตัดราคานับตั้งแต่มีการเปิดเสรีการคิดค่านายหน้าในการซื้อขายหลักทรัพย์ ดังนั้น จากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางและการแข่งขันที่สูงขึ้นในระบบสถาบันการเงินจึงยังคงมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ทริสรายงานว่าประสบการณ์กว่า 30 ปีช่วยให้บริษัทมีทีมบริหารที่ชำนาญและมีระบบที่สามารถรองรับการแข่งขันที่สูงในธุรกิจนี้ โดยเฉพาะระบบบริหารความเสี่ยงที่ดีซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของบริษัทในอนาคตได้ สัดส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนขยายธุรกิจโดยเน้นธุรกิจที่คาดว่าจะมีการเติบโต อาทิ การให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค การเก็บค่าธรรมเนียม และบริการจัดการกองทุน -- จบ
ทริสรายงานว่า ในปี 2542 บง. ทิสโก้ได้ขอรับความช่วยเหลือทางการเงินจากกระทรวงการคลัง ตามโครงการ 14 สิงหาคม 2541 ในการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 1 ภายหลังจากที่บริษัทได้ตั้งสำรองค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญสำหรับสินทรัพย์จัดชั้นครบ 100% เพื่อเพิ่มฐานเงินกองทุนสำหรับรองรับปัญหาสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ และมีเงินกองทุนที่เพียงพอสำหรับการขยายธุรกิจในอนาคต ในเดือนมิถุนายน 2542 บริษัทได้ออกหุ้นบุริมสิทธิมูลค่า 6,000 ล้านบาทให้แก่กระทรวงการคลังและผู้ร่วมทุนสมทบ และยังได้ออกหุ้นกู้ด้อยสิทธิมูลค่า 331 ล้านบาทให้แก่กระทรวงการคลังภายใต้โครงการเพิ่มเงินกองทุนชั้นที่ 2 การเพิ่มฐานเงินกองทุนในครั้งนี้ทำให้บริษัทสามารถตัดหนี้เสียจำนวนมากให้เป็นหนี้สูญได้ และยังช่วยให้อัตราส่วนการดำรงเงินกองทุนของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก 8.1% ในปี 2541 เป็น 16.5% ในเดือนมิถุนายน 2544
ในส่วนของคุณภาพสินทรัพย์ของบริษัทนั้นปรับตัวดีขึ้นอย่างมากในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา สินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ลดลงค่อนข้างมากจาก 14,144 ล้านบาท หรือ 44.1% ของสินเชื่อรวมในปี 2541 เป็น 2,572 ล้านบาท หรือ 9.4% ของสินเชื่อรวมในเดือนมิถุนายน 2544 โดยต่ำกว่าตัวเลขสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้โดยเฉลี่ยของสถาบันการเงินและบริษัทเงินทุนซึ่งเท่ากับ 13.1% และ 15.9% ตามลำดับ ทั้งนี้เป็นผลมาจากการที่บริษัทสามารถตัดหนี้เสียจำนวนมากให้เป็นหนี้สูญในปี 2542 และประสบความสำเร็จในการปรับโครงสร้างหนี้ในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การตัดหนี้สูญและการได้รับชำระหนี้คืนช่วยให้ผลการดำเนินงานของบริษัทในปี 2543 ค่อนข้างดี อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานต่อสินทรัพย์รวมเฉลี่ยและอัตราส่วนผลตอบแทนต่อสินทรัพย์รวมเฉลี่ยของบริษัทเพิ่มขึ้นจาก -9.69% และ -10.46% ในปี 2542 เป็น 2.51% และ 2.09% ในปี 2543 โดยที่อัตราส่วนผู้ถือหุ้นต่อสินทรัพย์รวมสูงขึ้นจาก 6.73% ในปี 2541 เป็น 12.53% ในปี 2543
ทริสกล่าวว่าการแก้ปัญหาสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้ยังคงเป็นประเด็นสำคัญต่อเสถียรภาพของระบบการเงิน ภาครัฐได้จัดตั้งบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย (บบส.) เพื่อช่วยลดภาระสินเชื่อที่หยุดรับรู้รายได้และช่วยให้สถาบันการเงินสามารถดำเนินธุรกิจหลักต่อไปได้ อย่างไรก็ตาม ผลการดำเนินงานของ บบส. ยังไม่ปรากฏ ในขณะที่ตัวเลขทางเศรษฐกิจที่สำคัญในช่วงครึ่งแรกของปี 2544 ยังแสดงถึงการเติบโตของเศรษฐกิจที่ลดลง ประกอบกับการที่สถาบันการเงินยังคงมีสภาพคล่องเหลืออยู่ จึงส่งผลให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรง นอกจากนี้ การเข้ามาของสถาบันการเงินต่างประเทศยังมีส่วนทำให้เกิดการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น ส่วนแนวโน้มในระยะใกล้ของธุรกิจหลักทรัพย์ยังคงน่าเป็นห่วงจากผลของการแข่งขันตัดราคานับตั้งแต่มีการเปิดเสรีการคิดค่านายหน้าในการซื้อขายหลักทรัพย์ ดังนั้น จากการฟื้นตัวของภาวะเศรษฐกิจที่ยังเปราะบางและการแข่งขันที่สูงขึ้นในระบบสถาบันการเงินจึงยังคงมีผลกระทบต่อความสามารถในการทำกำไรของบริษัทในอนาคต
อย่างไรก็ตาม ทริสรายงานว่าประสบการณ์กว่า 30 ปีช่วยให้บริษัทมีทีมบริหารที่ชำนาญและมีระบบที่สามารถรองรับการแข่งขันที่สูงในธุรกิจนี้ โดยเฉพาะระบบบริหารความเสี่ยงที่ดีซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงของบริษัทในอนาคตได้ สัดส่วนของสินเชื่อเช่าซื้อของบริษัทได้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนขยายธุรกิจโดยเน้นธุรกิจที่คาดว่าจะมีการเติบโต อาทิ การให้สินเชื่อเพื่อการอุปโภคบริโภค การเก็บค่าธรรมเนียม และบริการจัดการกองทุน -- จบ