แท็ก
เครดิต
ปีที่ 3 ฉบับที่ 46 26 พฤศจิกายน 2544
การกระจายของคุณภาพเครดิตของผู้ประกอบการในประเทศไทย
อันดับเครดิตของผู้ประกอบการในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาซึ่งสะท้อนถึงภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่กระทบต่อความแข็งแกร่งทางการเงิน และโอกาสทางธุรกิจ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตตลอดจนความแตกต่างของอันดับเครดิตของแต่ละอุตสาหกรรม จะช่วยให้สามารถเข้าใจปัจจัยที่กำหนดความเสี่ยงของผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น
อันดับเครดิตที่ให้โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตต่างๆ รวมทั้งบริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) แสดงถึงความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยภายนอกจากภาวะเศรษฐกิจ ทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการเกี่ยวข้อง สภาพการแข่งขันในตลาด รวมทั้งปัจจัยภายในจากความสามารถในการบริหารและผลประกอบการของกิจการ อย่างไรก็ดี จากการพิจารณาอันดับเครดิตที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาต่างๆ ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าปัจจัยภายนอกมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่ออันดับเครดิตของผู้ประกอบการ นอกจากนั้นยังพบว่านโยบายของรัฐบาลมีอิทธิพลกับอันดับเครดิตของบางธุรกิจอย่างมากเช่นกันซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของประเทศกำลังพัฒนาที่รัฐบาลจะมีบทบาทในด้านการกำกับราคาและการแข่งขัน
การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตที่ทริสให้แก่ลูกค้าทั้งที่ประกาศผลต่อสาธารณะและที่ไม่ประกาศในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาเห็นได้จาก
ตารางที่ 1 ซึ่งแสดงสัดส่วนลูกค้าที่ได้อันดับเครดิตในระดับลงทุนได้ (BBB- ถึง AAA) ที่ลดลงอย่างรวดเร็วจาก 91% ในปี 2539 เหลือ 78% ในปี 2541 และกลับเพิ่มขึ้นมาเป็น 86% ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2544 การลดลงของลูกค้าระดับลงทุนได้เป็นผลเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 และการเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งการมีคำสั่งให้สถาบันการเงินบางแห่งระงับดำเนินกิจการซึ่งนอกจากจะกระทบต่อการดำเนินการของสถาบันการเงินนั้นๆ ในทันทีที่ถูกสั่งให้หยุดดำเนินกิจการแล้ว ยังกระทบต่อบริษัทที่เป็นลูกหนี้ที่พึ่งพาสภาพคล่องจากสถาบันการเงินนั้นๆ ด้วย สัดส่วนลูกค้าที่มีอันดับเครดิตระดับเก็งกำไร (C ถึง BB+) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 9% ในปี 2539 เป็น 22% ในปี 2541 ในขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของอันดับเครดิตในระดับลงทุนได้มาอยู่ที่ 86% ในเดือนตุลาคม 2544 ก็สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2541
ตารางที่ 1
2539 2541 ตุลาคม 2544
ระดับลงทุนได้ 91% 78% 86%
ระดับเก็งกำไร 9% 22% 14%
ที่มา: ทริส
นอกจากปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาลที่กระทบต่อคุณภาพเครดิตแล้ว ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่กระทบต่อคุณภาพเครดิตของผู้ประกอบการเช่นกัน เห็นได้จากการกระจายของอันดับเครดิตของบริษัทที่จัดอันดับเครดิตกับทริส ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2544 ในตารางที่ 2 พบว่าบริษัทที่ได้รับอันดับเครดิตระดับลงทุนได้ส่วนมากจะเป็นสถาบันการเงิน (19.44%) รองลงมา ได้แก่ บริษัทในอุตสาหกรรมสื่อสาร (16.67%) และพลังงาน (16.67%) ในขณะที่บริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และขนส่ง มีบริษัทที่มีอันดับเครดิตระดับลงทุนได้และเก็งกำไรในสัดส่วนที่เท่ากัน อย่างไรก็ดี ลูกค้าในกลุ่มสถาบันการเงินนั้นมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบจากเดิมก่อนปี 2539 ลูกค้าส่วนมากจะเป็นธนาคารและบริษัทเงินทุน แต่ในปัจจุบันลูกค้าในกลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นบริษัทลิสซิ่งโดยเฉพาะที่ให้บริการเช่าซื้อรถยนต์ นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของจำนวนบริษัทที่อยู่ในระดับลงทุนได้และเก็งกำไรระหว่างปี 2539 และ 2544 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่าง 2 ช่วงเวลาดังกล่าวโดยในกลุ่มสื่อสารและกลุ่มพลังงานมีสัดส่วนของบริษัทที่ได้อันดับเครดิตระดับลงทุนได้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในขณะที่กลุ่มธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มีสัดส่วนที่ลดลง อันเป็นผลจากการหยุดดำเนินกิจการของสถาบันการเงินที่มีปัญหาเป็นจำนวนมาก หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540
ตารางที่ 2
2539 ตุลาคม 2544
ระดับลงทุนได้ ระดับเก็งกำไร ระดับลงทุนได้ ระดับเก็งกำไร
ธนาคาร/บริษัทเงินทุน/หลักทรัพย์/ลิสซิ่ง 35.56% - 19.44% -
ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ 6.67% 6.67% 8.33% 8.33%
สื่อสาร 6.67% - 16.67% 2.78%
เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิกส์ 4.44% - 2.78% -
พลังงาน 8.89% - 16.67% -
บริษัทผู้ถือหุ้น 4.44% - 2.78% -
สิ่งพิมพ์ 4.44% - 2.78% -
ขนส่ง 6.67% - 2.78% 2.78%
อื่นๆ 13.33% 2.22% 13.89% -
รวม 91.11% 8.89% 86.11% 13.89%
ที่มา: ทริส
คุณภาพเครดิตของผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในระดับมหภาคและระดับอุตสาหกรรมอย่างมาก โดยเฉพาะในบางอุตสาหกรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่ง ที่เห็นชัดเจนได้แก่ในกลุ่มของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ อันดับเครดิตที่บริษัทในแต่ละอุตสาหกรรมได้รับยังสามารถสะท้อนถึงความเสี่ยงของอุตสาหกรรมนั้นโดยรวมได้อีกด้วย ดังเห็นได้จากอันดับเครดิตของบริษัทในกลุ่มสื่อสาร และพลังงานที่ได้รับอันดับเครดิตระดับลงทุนได้ในปัจจุบันซึ่งสะท้อนความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมนี้
-- สงวนลิขสิทธิ์ --
การกระจายของคุณภาพเครดิตของผู้ประกอบการในประเทศไทย
อันดับเครดิตของผู้ประกอบการในประเทศไทยมีการเปลี่ยนแปลงในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาซึ่งสะท้อนถึงภาวะแวดล้อมทางเศรษฐกิจที่กระทบต่อความแข็งแกร่งทางการเงิน และโอกาสทางธุรกิจ การศึกษาการเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตตลอดจนความแตกต่างของอันดับเครดิตของแต่ละอุตสาหกรรม จะช่วยให้สามารถเข้าใจปัจจัยที่กำหนดความเสี่ยงของผู้ประกอบการมากยิ่งขึ้น
อันดับเครดิตที่ให้โดยสถาบันจัดอันดับเครดิตต่างๆ รวมทั้งบริษัท ไทยเรทติ้งแอนด์อินฟอร์เมชั่นเซอร์วิส จำกัด (ทริส) แสดงถึงความเสี่ยงที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ ทั้งปัจจัยภายนอกจากภาวะเศรษฐกิจ ทิศทางการขยายตัวของอุตสาหกรรมที่ผู้ประกอบการเกี่ยวข้อง สภาพการแข่งขันในตลาด รวมทั้งปัจจัยภายในจากความสามารถในการบริหารและผลประกอบการของกิจการ อย่างไรก็ดี จากการพิจารณาอันดับเครดิตที่เปลี่ยนแปลงไปในช่วงเวลาต่างๆ ในช่วง 8 ปีที่ผ่านมา แสดงให้เห็นว่าปัจจัยภายนอกมีอิทธิพลค่อนข้างมากต่ออันดับเครดิตของผู้ประกอบการ นอกจากนั้นยังพบว่านโยบายของรัฐบาลมีอิทธิพลกับอันดับเครดิตของบางธุรกิจอย่างมากเช่นกันซึ่งเป็นลักษณะทั่วไปของประเทศกำลังพัฒนาที่รัฐบาลจะมีบทบาทในด้านการกำกับราคาและการแข่งขัน
การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตที่ทริสให้แก่ลูกค้าทั้งที่ประกาศผลต่อสาธารณะและที่ไม่ประกาศในช่วง 8 ปีที่ผ่านมาเห็นได้จาก
ตารางที่ 1 ซึ่งแสดงสัดส่วนลูกค้าที่ได้อันดับเครดิตในระดับลงทุนได้ (BBB- ถึง AAA) ที่ลดลงอย่างรวดเร็วจาก 91% ในปี 2539 เหลือ 78% ในปี 2541 และกลับเพิ่มขึ้นมาเป็น 86% ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2544 การลดลงของลูกค้าระดับลงทุนได้เป็นผลเนื่องมาจากวิกฤติเศรษฐกิจในปี 2540 และการเปลี่ยนแปลงนโยบายอัตราแลกเปลี่ยน รวมทั้งการมีคำสั่งให้สถาบันการเงินบางแห่งระงับดำเนินกิจการซึ่งนอกจากจะกระทบต่อการดำเนินการของสถาบันการเงินนั้นๆ ในทันทีที่ถูกสั่งให้หยุดดำเนินกิจการแล้ว ยังกระทบต่อบริษัทที่เป็นลูกหนี้ที่พึ่งพาสภาพคล่องจากสถาบันการเงินนั้นๆ ด้วย สัดส่วนลูกค้าที่มีอันดับเครดิตระดับเก็งกำไร (C ถึง BB+) เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วจาก 9% ในปี 2539 เป็น 22% ในปี 2541 ในขณะเดียวกันการเพิ่มขึ้นของสัดส่วนของอันดับเครดิตในระดับลงทุนได้มาอยู่ที่ 86% ในเดือนตุลาคม 2544 ก็สะท้อนถึงการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโดยรวมในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบกับปี 2541
ตารางที่ 1
2539 2541 ตุลาคม 2544
ระดับลงทุนได้ 91% 78% 86%
ระดับเก็งกำไร 9% 22% 14%
ที่มา: ทริส
นอกจากปัจจัยด้านภาวะเศรษฐกิจและนโยบายของรัฐบาลที่กระทบต่อคุณภาพเครดิตแล้ว ความเสี่ยงของอุตสาหกรรมก็เป็นปัจจัยที่สำคัญที่กระทบต่อคุณภาพเครดิตของผู้ประกอบการเช่นกัน เห็นได้จากการกระจายของอันดับเครดิตของบริษัทที่จัดอันดับเครดิตกับทริส ณ สิ้นเดือนตุลาคม 2544 ในตารางที่ 2 พบว่าบริษัทที่ได้รับอันดับเครดิตระดับลงทุนได้ส่วนมากจะเป็นสถาบันการเงิน (19.44%) รองลงมา ได้แก่ บริษัทในอุตสาหกรรมสื่อสาร (16.67%) และพลังงาน (16.67%) ในขณะที่บริษัทที่อยู่ในกลุ่มอุตสาหกรรมก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ และขนส่ง มีบริษัทที่มีอันดับเครดิตระดับลงทุนได้และเก็งกำไรในสัดส่วนที่เท่ากัน อย่างไรก็ดี ลูกค้าในกลุ่มสถาบันการเงินนั้นมีการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบจากเดิมก่อนปี 2539 ลูกค้าส่วนมากจะเป็นธนาคารและบริษัทเงินทุน แต่ในปัจจุบันลูกค้าในกลุ่มนี้ส่วนมากจะเป็นบริษัทลิสซิ่งโดยเฉพาะที่ให้บริการเช่าซื้อรถยนต์ นอกจากนี้ เมื่อเปรียบเทียบสัดส่วนของจำนวนบริษัทที่อยู่ในระดับลงทุนได้และเก็งกำไรระหว่างปี 2539 และ 2544 พบว่ามีการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในระหว่าง 2 ช่วงเวลาดังกล่าวโดยในกลุ่มสื่อสารและกลุ่มพลังงานมีสัดส่วนของบริษัทที่ได้อันดับเครดิตระดับลงทุนได้ในสัดส่วนที่เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน ในขณะที่กลุ่มธนาคารและบริษัทเงินทุนหลักทรัพย์ มีสัดส่วนที่ลดลง อันเป็นผลจากการหยุดดำเนินกิจการของสถาบันการเงินที่มีปัญหาเป็นจำนวนมาก หลังวิกฤติเศรษฐกิจปี 2540
ตารางที่ 2
2539 ตุลาคม 2544
ระดับลงทุนได้ ระดับเก็งกำไร ระดับลงทุนได้ ระดับเก็งกำไร
ธนาคาร/บริษัทเงินทุน/หลักทรัพย์/ลิสซิ่ง 35.56% - 19.44% -
ก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ 6.67% 6.67% 8.33% 8.33%
สื่อสาร 6.67% - 16.67% 2.78%
เครื่องใช้ไฟฟ้า และอิเลคทรอนิกส์ 4.44% - 2.78% -
พลังงาน 8.89% - 16.67% -
บริษัทผู้ถือหุ้น 4.44% - 2.78% -
สิ่งพิมพ์ 4.44% - 2.78% -
ขนส่ง 6.67% - 2.78% 2.78%
อื่นๆ 13.33% 2.22% 13.89% -
รวม 91.11% 8.89% 86.11% 13.89%
ที่มา: ทริส
คุณภาพเครดิตของผู้ประกอบการจะได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อมในระดับมหภาคและระดับอุตสาหกรรมอย่างมาก โดยเฉพาะในบางอุตสาหกรรมซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของภาวะเศรษฐกิจของประเทศอย่างยิ่ง ที่เห็นชัดเจนได้แก่ในกลุ่มของสถาบันการเงิน นอกจากนี้ อันดับเครดิตที่บริษัทในแต่ละอุตสาหกรรมได้รับยังสามารถสะท้อนถึงความเสี่ยงของอุตสาหกรรมนั้นโดยรวมได้อีกด้วย ดังเห็นได้จากอันดับเครดิตของบริษัทในกลุ่มสื่อสาร และพลังงานที่ได้รับอันดับเครดิตระดับลงทุนได้ในปัจจุบันซึ่งสะท้อนความแข็งแกร่งของอุตสาหกรรมนี้
-- สงวนลิขสิทธิ์ --