บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ประกาศคงอันดับเครดิตองค์กรของ บริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ระดับ “BBB-” ด้วยแนวโน้ม “Stable” หรือ “คงที่” โดยอันดับเครดิตสะท้อนถึงการเป็นหนึ่งในผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ทั้ง 3 รายของประเทศ การเป็นผู้รับเหมาที่มีความชำนาญในการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและโรงงานอุตสาหกรรมปิโตรเคมี และการมีผลงานที่เป็นที่ยอมรับทั้งในภาครัฐและเอกชนเป็นเวลายาวนาน อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งดังกล่าวถูกลดทอนบางส่วนจากความเสี่ยงของการมีต้นทุนค่าก่อสร้างที่สูงกว่าประมาณการ ตลอดจนความเสี่ยงของงานก่อสร้างซึ่งมีลักษณะสัญญาแบบราคาต่อหน่วย แรงกดดันต่อเนื่องที่มีต่ออัตรากำไรต่อหน่วยของงานก่อสร้าง และการแข่งขันที่รุนแรงซึ่งเป็นผลมาจากการชะลอตัวของอุปสงค์งานก่อสร้างทั้งจากภาครัฐและเอกชน
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable“ หรือ “คงที่“ สะท้อนถึงความคาดหวังว่าผลประกอบการของบริษัทจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 และบริษัทจะสามารถรักษาสถานะของงบดุลที่มีการใช้หนี้สินต่อทุนในระดับต่ำ ทั้งนี้ อันดับเครดิตอาจปรับลดลงหากอุตสาหกรรมก่อสร้างชะลอตัวนานกว่าที่คาดไว้และบริษัทไม่สามารถชนะการประมูลงานใหม่ๆ ที่มีอัตรากำไรที่ดีขึ้น
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็น 1 ใน 3 ของผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ที่สุดของประเทศซึ่งมีสถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งในโครงการก่อสร้างภาครัฐ โดยบริษัทจัดอยู่ในประเภทผู้รับเหมาชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจเกือบทุกแห่ง นอกเหนือจากงานก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐแล้ว บริษัทยังมีความชำนาญและได้รับการยอมรับในงานโยธาสำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและโรงงานปิโตรเคมีด้วย โดยตั้งแต่ปี 2547 บริษัทได้ลงนามในสัญญาก่อสร้างโรงไฟฟ้าทั้งหมด 6 แห่ง คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 12,199 ล้านบาท สัดส่วนรายได้ของบริษัทจากการก่อสร้างในส่วนงานสาธารณูปโภค:อาคาร:พลังงาน เปลี่ยนไปจาก 40:39:14 ในปี 2548 มาอยู่ที่ 43:23:26 ในปี 2549 ทั้งนี้ ประมาณ 66% ของรายได้ค่าก่อสร้างของบริษัทมาจากโครงการก่อสร้างภาครัฐ ณ เดือนกันยายน 2550 บริษัทมีงานในมือที่ยังไม่ส่งมอบคิดเป็นมูลค่า 16,651 ล้านบาท ลดลง 33% จาก 24,979 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า แม้ว่าธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะมีผู้ประกอบการจำนวนมาก แต่ก็มีผู้รับเหมารายใหญ่เพียงไม่กี่รายที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์เบื้องต้นก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประมูล โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐซึ่งถือได้ว่าเป็นอุปสรรคในระดับสูงที่จะเข้าสู่ธุรกิจ นโยบายของภาครัฐที่จะเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดูเหมือนว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับเหมารายใหญ่ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าจะยังไม่มีการอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ในช่วง 6 เดือนข้างหน้านี้ ทั้งนี้คาดว่ากำไรจากงานก่อสร้างจะยังคงอยู่ในระดับต่ำจากสภาพการแข่งขันที่รุนแรง บริษัทมีแนวโน้มจะมุ่งเน้นไปที่งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าและส่วนขยายของโรงงานปิโตรเคมีซึ่งคาดว่าจะมีการเปิดประมูลในเร็วๆ นี้ โดยงานก่อสร้างเหล่านี้จะมีอัตราส่วนกำไรมากกว่างานก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐ
โครงสร้างทางการเงินในอดีตของบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ดีกว่าอัตราเฉลี่ยเนื่องจากบริษัทมีภาระหนี้และอัตราส่วนกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทค่อยๆ ลดลงจากการมีผลการดำเนินงานที่อ่อนแอลงอันเนื่องมาจากอัตรากำไรที่ลดลงและขาดทุนในโครงการขนาดใหญ่บางโครงการ และเนื่องจากงานก่อสร้างส่วนใหญ่ของบริษัทเป็นสัญญาประเภทราคาต่อหน่วย ดังนั้น บริษัทจึงมีความเสี่ยงที่จะมีต้นทุนการก่อสร้างที่สูงกว่าประมาณการ โดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและมีระยะเวลาก่อสร้างนาน นอกจากนั้น นโยบายบัญชีที่รับรู้รายได้ตามงานที่สร้างเสร็จทำให้บริษัทต้องมีการประเมินต้นทุนโครงการอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ เมื่อบริษัทมีข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อได้ว่าต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้กำหนดไว้ บริษัทต้องปรับประมาณการต้นทุนใหม่ในงบกำไรขาดทุนในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งอาจส่งผลทำให้กำไรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้รายงานไว้ก่อนหน้านี้ ณ สิ้นปี 2549บริษัทรายงานผลขาดทุนทั้งสิ้น 1,780 ล้านบาท ส่งผลทำให้กำไรสะสมเปลี่ยนเป็นขาดทุนสะสมสูงถึง 1,279 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทมีการเพิ่มทุนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 โดยได้รับเงินจำนวน 1,885 ล้านบาท ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเล็กน้อยเพียง 4.98% จากสิ้นปี 2548 มาอยู่ที่ 3,796 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2549
ทริสเรทติ้งกล่าวว่าฐานะทางการเงินของบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ปรับตัวดีขึ้นจากการขาดทุนในปี 2549 อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจาก -8.81% ในปี 2549 มาอยู่ที่ 4.29% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 อย่างไรก็ตาม บริษัทรายงานผลขาดทุนจากการดำเนินงานก่อสร้างจำนวน 12 ล้านบาทสำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ผลขาดทุนเกิดขึ้นเนื่องจากหลายโครงการมีต้นทุนที่สูงกว่าประมาณการซึ่งเป็นผลมาจากราคาวัสดุก่อสร้างและพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น กระนั้นก็ตาม แม้บริษัทจะมีผลการดำเนินงานที่อ่อนแอลง แต่ก็ยังคงรักษาอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนเอาไว้ได้ในระดับต่ำ โดย ณ เดือนกันยายน 2550 บริษัทมีภาระหนี้อยู่ที่ 1,440 ล้านบาท ลดลงมา 439 ล้านบาทจาก 1,879 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2549 ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทใช้เครดิตที่ได้รับจากเจ้าหนี้ทางการค้าและเงินรับล่วงหน้าจากการก่อสร้างเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานบางส่วน ค่าใช้จ่ายที่ยังไม่เรียกชำระจากเจ้าหนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 188 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2548 มาอยู่ที่ 1,041 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2549 และที่ 2,137 ล้านบาท ณ เดือนกันยายน 2550 ในขณะที่เงินรับล่วงหน้าจากการก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจาก 2,918 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2548 มาอยู่ที่ 4,039 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2549 และลดลงเป็น 2,719 ล้านบาท ณ เดือนกันยายน 2550 ทั้งนี้ อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 26.05% ในเดือนกันยายน 2550 อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 อยู่ที่ 8.57 เท่า อย่างไรก็ตาม ด้วยภาระหนี้ที่คาดว่าจะสูงขึ้น รวมถึงต้นทุนทางการเงินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และแรงกดดันจากการการดำเนินงานที่มีอย่างต่อเนื่อง ทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วนกระแสเงินสดต่อภาระหนี้ของบริษัทจะอ่อนตัวลงจากระดับปัจจุบัน -- จบ
--------------------------------------------------------------------------------------------
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2550 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงมิได้รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้น ผลที่ได้รับ หรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว
แนวโน้มอันดับเครดิต “Stable“ หรือ “คงที่“ สะท้อนถึงความคาดหวังว่าผลประกอบการของบริษัทจะค่อยๆ ปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 2551 และบริษัทจะสามารถรักษาสถานะของงบดุลที่มีการใช้หนี้สินต่อทุนในระดับต่ำ ทั้งนี้ อันดับเครดิตอาจปรับลดลงหากอุตสาหกรรมก่อสร้างชะลอตัวนานกว่าที่คาดไว้และบริษัทไม่สามารถชนะการประมูลงานใหม่ๆ ที่มีอัตรากำไรที่ดีขึ้น
ทริสเรทติ้งรายงานว่า บริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น เป็น 1 ใน 3 ของผู้รับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ที่สุดของประเทศซึ่งมีสถานะทางการตลาดที่แข็งแกร่งในโครงการก่อสร้างภาครัฐ โดยบริษัทจัดอยู่ในประเภทผู้รับเหมาชั้นหนึ่งที่ได้รับใบอนุญาตจากหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจเกือบทุกแห่ง นอกเหนือจากงานก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐแล้ว บริษัทยังมีความชำนาญและได้รับการยอมรับในงานโยธาสำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าและโรงงานปิโตรเคมีด้วย โดยตั้งแต่ปี 2547 บริษัทได้ลงนามในสัญญาก่อสร้างโรงไฟฟ้าทั้งหมด 6 แห่ง คิดเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 12,199 ล้านบาท สัดส่วนรายได้ของบริษัทจากการก่อสร้างในส่วนงานสาธารณูปโภค:อาคาร:พลังงาน เปลี่ยนไปจาก 40:39:14 ในปี 2548 มาอยู่ที่ 43:23:26 ในปี 2549 ทั้งนี้ ประมาณ 66% ของรายได้ค่าก่อสร้างของบริษัทมาจากโครงการก่อสร้างภาครัฐ ณ เดือนกันยายน 2550 บริษัทมีงานในมือที่ยังไม่ส่งมอบคิดเป็นมูลค่า 16,651 ล้านบาท ลดลง 33% จาก 24,979 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2549
ทริสเรทติ้งกล่าวว่า แม้ว่าธุรกิจรับเหมาก่อสร้างจะมีผู้ประกอบการจำนวนมาก แต่ก็มีผู้รับเหมารายใหญ่เพียงไม่กี่รายที่มีคุณสมบัติผ่านเกณฑ์เบื้องต้นก่อนเข้าสู่ขั้นตอนการประมูล โดยเฉพาะโครงการขนาดใหญ่ของภาครัฐซึ่งถือได้ว่าเป็นอุปสรรคในระดับสูงที่จะเข้าสู่ธุรกิจ นโยบายของภาครัฐที่จะเพิ่มการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจดูเหมือนว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้รับเหมารายใหญ่ที่มีผลงานเป็นที่ยอมรับและได้รับการสนับสนุนจากสถาบันการเงินเท่านั้น อย่างไรก็ตาม มีแนวโน้มว่าจะยังไม่มีการอนุมัติโครงการขนาดใหญ่ในช่วง 6 เดือนข้างหน้านี้ ทั้งนี้คาดว่ากำไรจากงานก่อสร้างจะยังคงอยู่ในระดับต่ำจากสภาพการแข่งขันที่รุนแรง บริษัทมีแนวโน้มจะมุ่งเน้นไปที่งานก่อสร้างโรงไฟฟ้าและส่วนขยายของโรงงานปิโตรเคมีซึ่งคาดว่าจะมีการเปิดประมูลในเร็วๆ นี้ โดยงานก่อสร้างเหล่านี้จะมีอัตราส่วนกำไรมากกว่างานก่อสร้างสาธารณูปโภคของภาครัฐ
โครงสร้างทางการเงินในอดีตของบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ดีกว่าอัตราเฉลี่ยเนื่องจากบริษัทมีภาระหนี้และอัตราส่วนกำไรสูงกว่าค่าเฉลี่ยของอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตาม ความแข็งแกร่งทางการเงินของบริษัทค่อยๆ ลดลงจากการมีผลการดำเนินงานที่อ่อนแอลงอันเนื่องมาจากอัตรากำไรที่ลดลงและขาดทุนในโครงการขนาดใหญ่บางโครงการ และเนื่องจากงานก่อสร้างส่วนใหญ่ของบริษัทเป็นสัญญาประเภทราคาต่อหน่วย ดังนั้น บริษัทจึงมีความเสี่ยงที่จะมีต้นทุนการก่อสร้างที่สูงกว่าประมาณการ โดยเฉพาะในโครงการขนาดใหญ่ที่มีความซับซ้อนและมีระยะเวลาก่อสร้างนาน นอกจากนั้น นโยบายบัญชีที่รับรู้รายได้ตามงานที่สร้างเสร็จทำให้บริษัทต้องมีการประเมินต้นทุนโครงการอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ เมื่อบริษัทมีข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อได้ว่าต้นทุนมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้กำหนดไว้ บริษัทต้องปรับประมาณการต้นทุนใหม่ในงบกำไรขาดทุนในช่วงเวลานั้นๆ ซึ่งอาจส่งผลทำให้กำไรมีการเปลี่ยนแปลงไปจากที่ได้รายงานไว้ก่อนหน้านี้ ณ สิ้นปี 2549บริษัทรายงานผลขาดทุนทั้งสิ้น 1,780 ล้านบาท ส่งผลทำให้กำไรสะสมเปลี่ยนเป็นขาดทุนสะสมสูงถึง 1,279 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การที่บริษัทมีการเพิ่มทุนในช่วงไตรมาสแรกของปี 2549 โดยได้รับเงินจำนวน 1,885 ล้านบาท ทำให้ส่วนของผู้ถือหุ้นลดลงเล็กน้อยเพียง 4.98% จากสิ้นปี 2548 มาอยู่ที่ 3,796 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2549
ทริสเรทติ้งกล่าวว่าฐานะทางการเงินของบริษัทซิโน-ไทย เอ็นจีเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 ปรับตัวดีขึ้นจากการขาดทุนในปี 2549 อัตราส่วนกำไรจากการดำเนินงานเพิ่มขึ้นจาก -8.81% ในปี 2549 มาอยู่ที่ 4.29% ในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 อย่างไรก็ตาม บริษัทรายงานผลขาดทุนจากการดำเนินงานก่อสร้างจำนวน 12 ล้านบาทสำหรับไตรมาสที่ 3 ของปี 2550 ผลขาดทุนเกิดขึ้นเนื่องจากหลายโครงการมีต้นทุนที่สูงกว่าประมาณการซึ่งเป็นผลมาจากราคาวัสดุก่อสร้างและพลังงานที่ปรับตัวสูงขึ้น กระนั้นก็ตาม แม้บริษัทจะมีผลการดำเนินงานที่อ่อนแอลง แต่ก็ยังคงรักษาอัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนเอาไว้ได้ในระดับต่ำ โดย ณ เดือนกันยายน 2550 บริษัทมีภาระหนี้อยู่ที่ 1,440 ล้านบาท ลดลงมา 439 ล้านบาทจาก 1,879 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2549 ทั้งนี้ เนื่องจากบริษัทใช้เครดิตที่ได้รับจากเจ้าหนี้ทางการค้าและเงินรับล่วงหน้าจากการก่อสร้างเป็นเงินทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานบางส่วน ค่าใช้จ่ายที่ยังไม่เรียกชำระจากเจ้าหนี้ปรับตัวเพิ่มขึ้นอย่างมากจาก 188 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2548 มาอยู่ที่ 1,041 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2549 และที่ 2,137 ล้านบาท ณ เดือนกันยายน 2550 ในขณะที่เงินรับล่วงหน้าจากการก่อสร้างปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมากจาก 2,918 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2548 มาอยู่ที่ 4,039 ล้านบาท ณ เดือนธันวาคม 2549 และลดลงเป็น 2,719 ล้านบาท ณ เดือนกันยายน 2550 ทั้งนี้ อัตราส่วนเงินกู้รวมต่อโครงสร้างเงินทุนของบริษัทอยู่ในระดับแข็งแกร่งที่ 26.05% ในเดือนกันยายน 2550 อัตราส่วนกำไรก่อนดอกเบี้ยจ่าย ภาษี ค่าเสื่อมราคา และค่าตัดจำหน่ายต่อดอกเบี้ยจ่ายในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2550 อยู่ที่ 8.57 เท่า อย่างไรก็ตาม ด้วยภาระหนี้ที่คาดว่าจะสูงขึ้น รวมถึงต้นทุนทางการเงินที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น และแรงกดดันจากการการดำเนินงานที่มีอย่างต่อเนื่อง ทริสเรทติ้งคาดว่าอัตราส่วนกระแสเงินสดต่อภาระหนี้ของบริษัทจะอ่อนตัวลงจากระดับปัจจุบัน -- จบ
--------------------------------------------------------------------------------------------
บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด สงวนลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2550 ห้ามมิให้บุคคลใดใช้ เปิดเผย ทำสำเนาเผยแพร่ แจกจ่าย หรือเก็บไว้เพื่อใช้ในภายหลังเพื่อประโยชน์ใดๆ ซึ่งรายงานหรือข้อมูลการจัดอันดับเครดิต ไม่ว่าทั้งหมดหรือแต่เพียงบางส่วน และไม่ว่าในรูปแบบ หรือลักษณะใดๆ หรือด้วยวิธีการใดๆ โดยมิได้รับอนุญาต การจัดอันดับเครดิตนี้มิใช่คำแถลงข้อเท็จจริง หรือคำเสนอแนะให้ซื้อ ขาย หรือถือตราสารหนี้ใดๆ แต่เป็นเพียงความเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงหรือความน่าเชื่อถือของตราสารหนี้นั้นๆ หรือของบริษัทนั้นๆ โดยเฉพาะ ความเห็นที่ระบุในการจัดอันดับเครดิตนี้มิได้เป็นคำแนะนำเกี่ยวกับการลงทุน หรือคำแนะนำในลักษณะอื่นใด การจัดอันดับและข้อมูลที่ปรากฏในรายงานใดๆ ที่จัดทำ หรือพิมพ์เผยแพร่โดย บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้จัดทำขึ้นโดยมิได้คำนึงถึงความต้องการด้านการเงิน พฤติการณ์ ความรู้ และวัตถุประสงค์ของผู้รับข้อมูลรายใดรายหนึ่ง ดังนั้น ผู้รับข้อมูลควรประเมินความเหมาะสมของข้อมูลดังกล่าวก่อนตัดสินใจลงทุน บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด ได้รับข้อมูลที่ใช้สำหรับการจัดอันดับเครดิตนี้จากบริษัทและแหล่งข้อมูลอื่นๆ ที่เชื่อว่าเชื่อถือได้ ดังนั้น บริษัท ทริสเรทติ้ง จำกัด จึงมิได้รับประกันความถูกต้อง ความเพียงพอ หรือความครบถ้วนสมบูรณ์ของข้อมูลใดๆ ดังกล่าว และจะไม่รับผิดชอบต่อความสูญเสีย หรือความเสียหายใดๆ อันเกิดจากความไม่ถูกต้อง ความไม่เพียงพอ หรือความไม่ครบถ้วนสมบูรณ์นั้น และจะไม่รับผิดชอบต่อข้อผิดพลาด หรือการละเว้น ผลที่ได้รับ หรือการกระทำใดๆ โดยอาศัยข้อมูลดังกล่าว